ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงที่เกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยา
บทความนี้จะพิจารณาถึงการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) และตัวเลือกในการจัดการการรักษาเมื่อพบว่าสุนัขมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง
เผยแพร่แล้ว 26/01/2024
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español , English และ Українська
“โรคสมองเสื่อม” ในสุนัข (canine dementia) กำลังกลายเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้เมื่อประชากรสัตว์เลี้ยงของเรามีอายุมากขึ้น บทความนี้จะช่วยทบทวนอาการแสดง การวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) และการรักษาในกรณีดังกล่าว (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)
ภาวะความผิดปกติของการรับรู้และความคิดในสุนัขเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสุนัขสูงอายุ แต่ก็สามารถจัดการเพื่อปรับปรุงสวัสดิภาพของทั้งสัตว์ป่วยและเจ้าของได้
การตรวจพบและรักษาภาวะนี้ตั้งแต่แรกเริ่มถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้การพยากรณ์โรคของภาวะความผิดปกติของการรับรู้และความคิดในสุนัขนั้นดีขึ้น
มีภาวะความผิดปกติหลายอย่างที่สามารถเลียนแบบอาการของภาวะ CCD ได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาความแตกต่างทางการแพทย์และโรคที่เกิดขึ้นร่วมกันเมื่อจัดการกับกรณีที่เป็นไปได้
การผสมผสานทางเลือกในการจัดการหลายๆอย่าง เช่นการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมหรืออาหารและโภชนเภสัชนั้นพบว่าเป็นการรักษาภาวะ CCD ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
CXD เป็นภาวะที่เกิดเมื่อมีอายุมากขึ้นเพราะฉะนั้นจึงพบได้ในสัตว์ป่วยสูงอายุ โดยมีรายงานว่าสามารถพบได้ตั้งแต่อายุ 11 ปีขึ้นไปถึงแม้ว่าอาจจะแตกต่างกันไปตามขนาดของสุนัขและอายุขัยโดยทั่วไปของสายพันธุ์ ในบางการศึกษาพบว่าเพศเมียมีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น CCD มากกว่า 1 อย่างไรก็ตามมีความเชื่อกันว่าสุนัขเพศผู้ที่ทำหมันแล้วและสุนัขพันธุ์เล็กมีแนวโน้มที่จะแสดงสัญญาณของ CCD มากกว่า รวมถึงสุนัขเพศผู้ที่ทำหมันแล้วอาจจะแสดงความเสื่อมได้เร็วกว่า 6
สัญญาณทางพฤติกรรม (behavioral signs) ของ CCD นั้นมักถูกอธิบายโดยใช้ตัวย่อ DISHA 7 แต่ก็อาจใช้ตัวย่อ DISHAA และ DISHAAL ก็ได้ โดย A ที่เพิ่มมานั้นมาจากคำว่าความวิตกกังวล (anxiety) หรือภาวะไร้อารมณ์ (apathy) และ L ที่มาจากคำว่าการเรียนรู้ (learning) 7,8 สิ่งสำคัญนอกจากเรื่องตัวย่อก็คือความเข้าใจว่าสัตว์อาจมีปัญหาทางอารมณ์ในวงกว้าง (wider emotional issues) ที่เกี่ยวข้องกับพื้นอารมณ์ (temperament) อารมณ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (mood) และการตอบสนองทางอารมณ์ทันที (immediate emotional responses) เช่น ภาวะซึมเศร้า (depressive states) ความสามารถที่จะอดทนกับความคับข้องใจต่ำ (poor frustration tolerance) หรือการเรียกร้องความสนใจเพิ่มมากขึ้น (increased attention seeking) นอกเหนือจากการตอบสนองการหลีกเลี่ยง (avoidance responses) ที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลแบบเดิม ตารางที่ 1 ได้อธิบายถึงสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ DISHA แบบดั้งเดิม (classic signs) และการวินิจฉัยแยกโรคสำคัญต่างๆที่ต้องพิจารณา ในระยะแรกเริ่มพบว่ามีรายงานระบุว่าสุนัขจะมีสัญญาณที่มีความแตกต่างกันอย่างมากและไม่มีรูปแบบที่สม่ำเสมอ 9 เพราะฉะนั้นการตรวจพบภาวะนี้ตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างไรก็ตาม CCD นั้นเป็นโรคที่มีความเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ (progressive disease) ดังนั้นจึงมีรายงานอาการแสดงทางคลินิกอื่นๆเพิ่มเติมเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งนั่นหมายความว่าสัตวแพทย์ไม่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามกรณีเหล่านี้ตั้งแต่ครั้งแรกที่สังเกตเห็นอาการแม้ว่าจะไม่ได้มีการวินิจฉัย ณ เวลานั้นก็ตาม ในความเป็นจริงเจ้าของสัตว์อาจขอความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์เฉพาะในกรณีที่สัญญาณหรืออาการแสดงทางคลินิกบางอย่างก่อให้เกิดปัญหากับสุนัขหรือตัวเจ้าของเองเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การสูญเสียพฤติกรรมที่เคยทำได้มาก่อนอย่างกะทันหัน (เช่น การเรียกแล้วหันเวลาวิ่งเล่นอิสระ (recall when off lead)) ขับถ่ายไม่เป็นที่ (house soiling) (รูปภาพที่ 2) มีการทำกิจกรรม/ปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หรือตื่นในเวลากลางคืน (night-time waking) ในกรณีเหล่านี้เจ้าของจะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาพฤติกรรม แต่จำเป็นต้องตระหนักว่าปัญหาเหล่านี้อาจซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative changes) ที่เกี่ยวข้องกับ CCD ทั้งนี้ความสำคัญของการซักประวัติอย่างละเอียดในระหว่างการตรวจรักษานั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่พูดเกินจริง เนื่องจากเจ้าของสัตว์จำนวนมากอาจไม่ได้ตระหนักถึงสัญญาณสำคัญของภาวะดังกล่าวหรือเชื่อว่าอาการต่างๆที่เห็นเป็นเรื่องปกติที่พบได้โดยเจ้าของสัตว์มักคิดว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เห็นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชราที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล้วการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่มีอายุมากและการตรวจรักษาตามนัดหมายปกติ (เช่น การฉีดวัคซีน) จะช่วยเปิดโอกาสให้เจ้าของได้สอบถามเกี่ยวกับสัญญาณของ CCD กับสัตวแพทย์ได้
Table 1. Cardinal signs of CCD with examples and common differentials to consider.
อาการแสดงสำคัญ (DISHA) | ตัวอย่าง | การวินิจฉัยแยกโรคที่เป็นไปได้ |
---|---|---|
Disorientation ความงุนงงสับสน |
|
|
|
|
|
Interactions altered in relation to social stimuli ปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งเร้าทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป |
|
|
|
||
|
||
Sleep/wake changes การนอนหลับ/ตื่นนอนเปลี่ยนไป |
|
|
|
||
House soiling ขับถ่ายไม่เป็นที่ |
|
|
Activity levels alterations ระดับการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป |
|
|
ภาวะ CCD ถูกใช้เป็นแบบอย่างของโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ในคน จึงไม่น่าแปลกใจที่มีการศึกษาทางพยาธิวิทยา (pathology) อย่างกว้างขวาง 10 โดยการเปลี่ยนแปลงที่พบในสมองของสุนัขที่ได้รับผลกระทบจาก CCD ได้แก่ มวลสมอง (brain mass) ที่ลดลง ปริมาตรของกลีบสมองส่วนหน้า (frontal lobe volume) ลดลง เยื่อหุ้มสมองฝ่อ (cortical atrophy) ความหนาแน่นของเส้นประสาทลดลง (reduced neuronal density) ขนาดของโพรงสมองมากขึ้น (increased ventricular size) และมีการสะสมของโปรตีนเบต้าอะมัยลอยด์ (beta-amyloid plaques) มากขึ้น 7 มนุษย์ที่เป็นโรคความจำเสื่อมยังสามารถพบเส้นใยฝอยของเทาว์โปรตีน (tau protein fibrils) ได้ด้วยซึ่งพยาธิสภาพนี้มักพบในแมว (ซึ่งโดยบังเอิญแมวมักจะไม่พบการสะสมของโปรตีนอะมัยลอยด์แบบที่พบในมนุษย์และสุนัข) เนื่องจากรอยโรคทั้งหมดที่กล่าวถึงเป็นรอยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้และยังไม่พบสาเหตุของการเกิดอย่างมีนัยสำคัญเพราะฉะนั้นพยาธิวิทยาจะไม่ถูกกล่าวถึงเพิ่มเติมในบทความนี้
CCD นั้นใช้วิธีการวินิจฉัยโดยคัดออก (diagnosis of exclusion) และยังไม่มีการทดสอบวินิจฉัยขั้นสุดท้ายก่อนเสียชีวิต (definitive antemortem diagnostic tests) ที่สามารถช่วยวินิจฉัยภาวะ CCD ได้ การวินิจฉัยเบื้องต้น (presumptive diagnosis) นั้นทำได้ผ่านข้อมูลที่ทราบจากเจ้าของและจากการพิจารณาตัดภาวะอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุของอาการแสดงทางคลินิกออก 4 อาการแสดงทางคลินิกต่างๆที่ปรากฎนั้นทำให้สัตวแพทย์มีคำวินิจฉัยแยกโรคที่เป็นไปได้อยู่หลายอย่างที่จำเป็นต้องตัดออก (ตารางที่ 1) อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าของก็ถือเป็นส่วนสำคัญของการวินิจฉัยเบื้องต้นทางคลินิกของภาวะ CCD ซึ่งช่วยให้กระบวนการวินิจฉัยนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องและครบถ้วน ดังนั้นจึงมีแบบสอบถามสำหรับการคัดกรองภาวะนี้ขึ้นมาหลายรูปแบบ 11 แบบสอบถามบางอย่างนั้นเจ้าของสัตว์สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง เช่น canine cognitive dysfunction rating scale (CCDR) 12, ซึ่งสามารถให้เจ้าของกรอกแบบสอบถามให้เสร็จสิ้นก่อนการนัดหมาย จากนั้นจึงค่อยเข้ามาปรึกษากับสัตวแพทย์ (ดูกล่องข้อความที่ 1) ส่วนแบบสอบถามบางอย่างนั้นอาจต้องกรอกในระหว่างที่เข้ารับการปรึกษากับสัตวแพทย์ เช่น age-related cognitive และ affective disorders score (ARCAD) 13
กล่องข้อความที่ 1 Canine Cognitive Dysfunction Rating Scale (CCDR) (ประยุกต์จาก 12).
• อะไรคือภาวะความผิดปกติของการรับรู้และความคิดในสุนัข?
ภาวะความผิดปกติของการรับรู้และความคิดในสุนัข (Canine cognitive dysfunction (CCD)) หรือโรคสมองเสื่อมในสุนัขนั้นเป็นกลุ่มอาการของโรคตามอายุ (age-related syndrome) ที่จะแสดงการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม โดยมักจะส่งผลกระทบต่อสุนัขที่มีอายุมากกว่า 8 ปีขึ้นไป และจะพบบ่อยมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่ามากกว่าร้อยละ 30 ของสุนัขที่มีอายุมากกว่า 14 ปีจะมีภาวะนี้ ทั้งนี้พฤติกรรมที่อาจได้รับผลกระทบนั้นได้แก่:
• สัตวแพทย์จะแจ้งเจ้าของอย่างไร
CCDR เป็นเครื่องมือประเมินที่ถูกออกแบบมาเพื่อระบุอาการทั้งหมดที่เป็นไปได้ของภาวะความผิดปกติของการรับรู้และความคิดในสุนัข การมีอาการแสดงทางคลินิกที่มีความรุนแรงระดับหนึ่งอย่างมากพออาจบ่งชี้ได้ว่าสุนัขของคุณกำลังมีภาวะ CCD อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าโรคทางระบบร่างกายอื่นๆนั้นก็อาจทำให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกที่คล้ายคลึงกันได้ อีกทั้งสุนัขควรได้รับการตรวจอย่างละเอียดโดยสัตวแพทย์ก่อนที่จะทำการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย (final diagnosis)
• THE CCDR
การกรอก CCDR ให้ครบถ้วนนั้นให้เจ้าของเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคำถามแต่ละข้อโดยทำเครื่องหมายในช่องที่เตรียมไว้ให้ ทั้งนี้ให้ทำเครื่องหมายเพียงอันเดียวต่อหนึ่งคำถาม/บรรทัดเท่านั้น และพยายามตอบคำถามแต่ละข้อให้ดีที่สุดตามความรู้ของคุณโดยพิจารณาจากพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ข้อสำคัญ: หากสุนัขของคุณไม่เคยแสดงพฤติกรรมนี้ ณ ปัจจุบันและไม่เคยแสดงพฤติกรรมนี้เลยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ให้เลือกตัวเลือกเหมือนกันในคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสม
ในการพิจารณาคะแนน CCDR ของสุนัขของคุณนั้นให้ใส่ตัวเลขที่ระบุในช่องสดมภ์ของคำตอบของคุณตรงช่องคะแนนทางด้านขวาของแต่ละคำถาม ตัวอย่างเช่น: หากสุนัขของคุณจ้องผนังหรือพื้นอย่างว่างเปล่า “สัปดาห์ละครั้ง” คำถามนี้จะมีคะแนนเป็น 3 และหากมี x2 หรือ x3 ถัดจากคะแนนนั้นคุณก็จะต้องคูณตัวเลขคะแนนในช่องสดมภ์นั้นด้วยสองหรือสามเพื่อให้ได้คะแนนสุดท้าย ตัวอย่างเช่น: หากสุนัขของคุณจำคนหรือสัตว์เลี้ยงที่คุ้นเคยไม่ได้ “มากขึ้นเล็กน้อย (Slightly more)” ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สุนัขก็จะได้คะแนน 4 ตามช่องสดมภ์ จากนั้นให้คูณด้วย 3 เพื่อให้คะแนนสุดท้ายเป็น 12 สำหรับคำถามนั้น
• ผลลัพธ์
สุดท้ายให้บวกคะแนนทั้งหมดเพื่อให้ได้ผลรวม โดยหากสุนัขของคุณมีคะแนน 50 คะแนนขึ้นไปจะถือว่ามีความเสี่ยงที่อาจมีภาวะความผิดปกติของการรับรู้และความคิดในสุนัข (CCD) และเจ้าของควรติดตามผลนี้ร่วมกับสัตวแพทย์ หากสุนัขมีคะแนนระหว่าง 40-50 คะแนน เจ้าของสัตว์ควรประเมินสุนัขของตนเองอีกครั้งภายใน 6 เดือนเพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดใดหรือไม่
คะแนนช่องสดมภ์ (COLUMN SCORE) | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ผลรวม | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ไม่เคย | เดือนละครั้ง | สัปดาห์ละครั้ง | วันละครั้ง | มากกว่าวันละครั้ง | |||
สุนัขของคุณเดินขึ้นลง เดินเป็นวงกลม และ/หรือเดินไปเรื่อยๆโดยไม่มีทิศทางหรือจุดประสงค์บ่อยแค่ไหน? | |||||||
สุนัขของคุณจ้องผนังหรือพื้นอย่างว่างเปล่าบ่อยแค่ไหน? | |||||||
สุนัขของคุณติดอยู่หลังสิ่งของและไม่สามารถไปไหนมาไหนได้บ่อยแค่ไหน? | |||||||
สุนัขของคุณจำคนหรือสัตว์เลี้ยงที่คุ้นเคยไม่ได้บ่อยแค่ไหน? | |||||||
สุนัขของคุณเดินชนกำแพงหรือประตูบ่อยแค่ไหน? | |||||||
สุนัขของคุณเดินหนีในขณะที่คุณลูบหัวหรือเดินหนีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลูบหัวบ่อยแค่ไหน? | |||||||
ไม่เคย | ร้อยละ 1-30 ของเวลา | ร้อยละ 31-60 ของเวลา | ร้อยละ 61-99 ของเวลา | ตลอดเวลา | |||
สุนัขของคุณมีปัญหาในการหาอาหารที่ตกลงบนพื้นบ่อยแค่ไหน? | |||||||
น้อยกว่ามาก | น้อยลงเล็กน้อย | เหมือนเดิม | มากขึ้นเล็กน้อย | มากกว่ามาก | |||
เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนี้สุนัขของคุณเดินขึ้นลง เดินเป็นวงกลม และ/หรือเดินไปเรื่อยๆโดยไม่มีทิศทางหรือจุดประสงค์หรือไม่? | |||||||
เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนี้สุนัขของคุณจ้องผนังหรือพื้นอย่างว่างเปล่าหรือไม่? | |||||||
เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนี้สุนัขของคุณขับปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระในบริเวณที่เพิ่งทำความสะอาดไปก่อนหน้านี้หรือไม่ (หากสุนัขของคุณไม่เคยขับถ่ายไม่เป็นที่มาก่อน ให้ทำเครื่องหมายที่ช่อง “เหมือนเดิม”)? | |||||||
เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนี้สุนัขของคุณมีปัญหาในการหาอาหารที่ตกลงบนพื้นหรือไม่? | x2 | ||||||
เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนี้สุนัขของคุณจำคนหรือสัตว์เลี้ยงที่คุ้นเคยไม่ได้หรือไม่? | x3 | ||||||
มากกว่ามาก | มากขึ้นเล็กน้อย | เหมือนเดิม | น้อยลงเล็กน้อย | น้อยกว่ามาก | |||
เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว สุนัขของคุณใช้เวลาทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นเป็นระยะเวลาอย่างไร? | |||||||
ผลรวม |
จากประสบการณ์ของผู้เขียน CCDR นั้นใช้งานได้ค่อนข้างง่ายและสามารถมอบให้เจ้าของเพื่อกลับไปกรอกข้อมูลที่บ้านได้ในกรณีที่สัตวแพทย์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะ CCD จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับในระหว่างการเข้ารับการรักษา (ยกตัวอย่างเช่น จากการซักประวัติขณะที่พาเข้ามารับการกระตุ้นวัคซีนตามปกติ) แบบสอบถามนี้จะช่วยให้เจ้าของสัตว์ได้ไต่ตรองถึงความชราของสัตว์เลี้ยงและสร้างวิถีในการดูแลสัตว์ป่วยสูงอายุเชิงรุกร่วมกับสัตวแพทย์
ในปัจจุบันนั้นนั้นมีความกังวลเนื่องจากยังมีภาวะ CCD ที่ไม่ได้รับการรายงาน (under-reporting) และมีโอกาสที่จะมีอาการแสดงทางคลินิกที่ไม่ชัดเจนแต่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ดังนั้นจึงแนะนำให้เจ้าของสัตว์ทำแบบสอบถามที่เหมาะสมสำหรับสุนัขสูงอายุทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้สามารถตรวจพบภาวะ CCD ที่เป็นไปได้ตั้งแต่แรกเริ่มและเริ่มการรักษาเพื่อปรับปรุงผลของโรค 12 เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยแยกแยะระหว่างความเสื่อมถอยทางสติปัญญาตามปกติ (normal cognitive decline) ที่สัมพันธ์กับอายุกับความผิดปกติจริงๆ (dysfunction)
นอกเหนือจากประวัติที่เจ้าของสัตว์แจ้งและข้อมูลที่ได้รับการรายงานแล้ว (reported information) สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการตรวจสอบการวินิจฉัยแยกโรคที่เป็นไปได้ (possible differential diagnoses) การทดสอบวินิจฉัย (diagnostic tests) จะขึ้นอยู่กับอาการที่แสดง ณ ขณะนั้นในแต่ละกรณี โดยควรตระหนักไว้ว่าการเจ็บป่วยร่วม (co-morbidity) สามารถพบได้เป็นเรื่องปกติ หากตัดโรคหรือภาวะอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องออกได้ก็จะสามารถวินิจฉัยเบื้องต้นว่ามีภาวะ CCD ได้ แต่ในกรณีที่มีภาวะอื่นเกิดขึ้นร่วมกัน (co-occurring conditions) ซึ่งมีอาการแสดงคล้ายคลึงกันนั้นสัตวแพทย์จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณทางคลินิก (clinical judgement) ในการตัดสินใจและอธิบายความคลุมเครือให้กับเจ้าของสัตว์อย่างละเอียด อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนความเป็นไปได้ในการวินิจฉัยภาวะ CCD อยู่เสมอเมื่อใดก็ตามที่มีเคสที่มีอาการแสดงทางคลินิกที่เกี่ยวข้องแต่เมื่อรักษาแล้วอาการกลับไม่ดีขึ้นหรือไม่ได้คงที่ตามที่คาดไว้หรือหากมีอาการแย่ลงอย่างกระทันหันหรือดูลุกลามมากขึ้น ในทำนองเดียวกันนี้เองสัตวแพทย์ควรพิจารณาการมีส่วนร่วมของโรคหรือภาวะอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะ CCD ซึ่งอาจแสดงลักษณะอาการและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่คล้ายกัน เช่น หากสุนัขได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ CCD แต่อาการกลับไม่ดีขึ้นตามที่คาดไว้ กรณีนี้ควรแนะนำว่าอาจมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องและควรได้รับการประเมินปัญหาอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้ (underlying problems) ซ้ำ เช่น ความรู้สึกไม่สบายตัวเรื้อรัง (chronic discomfort) ซึ่งอาจมีลักษณะคล้ายหรือมีส่วนทำให้เกิดอาการของภาวะ CCD ได้
Beverley M. Wilson
ความรู้สึกไม่สบายตัวเรื้อรัง (Chronic discomfort) สามารถเลียนแบบอาการหลายอย่างของภาวะ CCD ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (social interactions) วงจรการนอนหลับ (sleep/ wake cycles) การขับถ่ายไม่เป็นที่ (house soiling) และระดับการเคลื่อนไหว (activity levels) ตัวอย่างเช่น สุนัขที่เริ่มปลีกตัวมากขึ้นและไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของหรือสัตว์ตัวอื่นน้อยลงอาจเป็นเพราะมีปัญหาปวดจากโรคข้อเสื่อมดังนั้นจึงมีความลังเลที่จะลุกหรือลุกขึ้นได้ช้า (รูปภาพที่ 3) นอกจากนี้อาจใช้เวลานอนมากขึ้นหรือไม่ค่อยอยากที่จะมีปฏิสัมพันธ์และเล่นกับสุนัขตัวอื่นในบ้านลดลงเนื่องจากอาจทำให้ความไม่สบายตัวรุนแรงมากขึ้นได้ ในบางกรณีพฤติกรรมก้าวร้าวระหว่างสุนัขอาจเกิดขึ้นอย่างกระทันหันเพราะสัตว์ที่มีความไม่สบายตัวจะอยากป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์ต่างๆดังกล่าว ความรู้สึกไม่สบายตัวเรื้อรังอาจสังเกตได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสุนัขยังสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามปกติบางอย่างได้อยู่ (เช่น การออกกำลังกายทุกวัน เพราะแรงจูงใจอย่างฉับพลันในการออกไปเดินเล่นทันทีจะเอาชนะความรู้สึกไม่สบายตัวใดใดที่เกิดขึ้นได้ อย่างน้อยก็ในระยะสั้น) และเนื่องจากบ่อยครั้งที่กรณีเหล่านี้อาจไม่แสดงสัญญาณที่ชัดเจนในระหว่างการตรวจทางคลินิกจึงทำให้เกิดความท้าทายในการวินิจฉัยอื่นๆเพิ่มเติม โดยทั่วไปแล้วหากสงสัยว่ามีความรู้สึกไม่สบายตัว ให้ทำการบรรเทาอาการปวดดูก่อนอย่างน้อยที่สุดประมาณ 4-6 สัปดาห์เพื่อช่วยประเมินบทบาทของความรู้สึกไม่สบายตัวเรื้อรัง สิ่งสำคัญคือต้องให้ความรู้กับเจ้าของว่าการตอบสนองต่อการบรรเทาอาการปวดอาจจะดีขึ้นอย่างช้าๆและค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นบันทึกพฤติกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้ หากพบว่ามีสัญญาณที่แย่ลงอย่างช้าๆภายหลังจากการหยุดการบรรเทาอาการปวดก็สามารถยืนยันข้อสงสัยว่ามีความรู้สึกไม่สบายตัวได้
การสูญเสียการได้ยิน การมองเห็นและการดมกลิ่นอาจมีลักษณะคล้ายกับสัญญาณ DISHA 14 ตัวอย่างเช่น สุนัขที่มีการมองเห็นบกพร่องอาจลังเลที่จะออกกำลังกายหรืออาจเลือกที่จะอยู่ใกล้กับเจ้าของขณะเดินหรือดูสับสน (รูปภาพที่ 4) การตรวจร่างกายอย่างละเอียดและการซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับอาการต่างๆเหล่านี้โดยเฉพาะจะเป็นประโยชน์ในการประเมินบทบาทของประสาทสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงไปได้
พยาธิวิทยา (pathologies) ที่ส่งผลต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่างนั้นสามารถนำไปสู่อาการที่คล้ายคลึงกับ CCD ได้ เช่น ระดับการเคลื่อนไหวลดลงอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ไตหรือระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งสัตวแพทย์จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังไม่จัดการกับสัตว์ป่วยโดยคิดถึงสาเหตุของการเกิดโรคไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว หากสุนัขอยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสมสัตวแพทย์ก็ต้องพิจารณาถึงบทบาทที่เป็นไปได้ของ CCD ร่วมกับเงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ และควรทำการทดสอบวินิจฉัยเพื่อแยกแยะปัจจัยทางการแพทย์ (medical factors) ที่อาจส่งผลต่ออาการที่สังเกตเห็นได้
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการชราตามปกติของสุนัข โดยสุนัขจะประสบกับความเสื่อมถอยทางสติปัญญาเช่นเดียวกับในมนุษย์ แบบสอบถามที่ได้อธิบายไว้ในข้างต้นจะช่วยแยกแยะระหว่างความเสื่อมถอยทางสติปัญญา (cognitive decline) กับความผิดปกติของการรับรู้และความคิด (cognitive dysfunction) 12 สุนัขบางตัวจะพบแค่ความเสื่อมถอยทางสติปัญญา ในขณะที่บางตัวนั้นจะอาการแสดงถึงความผิดปกติ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตอบแบบสอบถามทุก 6 เดือนหรือบ่อยกว่านั้นหากจำเป็นเพื่อช่วยระบุสัญญาณของความผิดปกติ
Daniel S. Mills
แม้ว่าภาวะ CCD จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม (early intervention) จะช่วยชะลอการลุกลามและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทั้งสุนัขและเจ้าของได้ 15,16 ทางเลือกในการจัดการได้แก่ การรักษาด้วยยา (medications) โภชนเภสัช (nutraceuticals) อาหาร (diet) การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและพฤติกรรม (environmental and behavioral modification) มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการผสมผสานระหว่างมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (environmental measures) ร่วมกับอาหาร/โภชนเภสัช 17 ตารางที่ 2 การรักษาทั่วไปสำหรับภาวะ CCD ที่มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ (commercially available)
นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาตามอาการ (symptomatic treatment) สำหรับอาการแสดงทางคลินิกเฉพาะ (specific clinical signs) ได้ตามต้องการ ยกตัวอย่าง เช่น หากสัตว์มีปัญหาตื่นในเวลากลางคืนหรือมีอาการอื่นๆที่ถูกรายงานไว้ทั้งหมดก็จะได้รับการจัดการอย่างดีด้วยการรักษาด้วยการแทรกแซงด้านอาหารและสิ่งแวดล้อม (และมีการตรวจสอบเพื่อตัดโรคที่เกิดขึ้นร่วมกัน (comorbidities) ต่างๆออกไป) จากนั้นสัตวแพทย์ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้:
ในกรณีดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่สัตวแพทย์จะต้องทำงานใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อหารือเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นข้อกังวล เช่นเดียวกับอาการเรื้อรัง (chronic condition) อื่นๆ เจ้าของสัตว์มักจะพบว่าการจัดการและการไม่มีวิธีแก้ไขอาการแสดงทางคลินิกนั้นเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดและน่าอารมณ์เสีย ดังนั้นการเข้าใจความรู้สึก (empathetic approach) ของเจ้าของสัตว์จะสามารถช่วยได้ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (effective communication) เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันเนื่องจากเจ้าของจำเป็นต้องทราบว่าอาการแสดงทางคลินิกไม่น่าจะหายขาดได้อย่างสมบูรณ์ (completely resolve) แต่มีเป้าหมายคือเพื่อลดความเร็วของการลุกลาม (speed of progression) และจัดการกับอาการเฉพาะเท่าที่จำเป็น อีกทั้งยังจำเป็นต้องหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากทางเลือกการรักษาในแต่ละวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆที่กำลังเป็นอยู่ (concurrent health issues) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในสัตว์ป่วยสูงอายุ
ตารางที่ 2 การรักษาทั่วไปสำหรับภาวะ CCD ที่มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ (commercially available)
หมวดการรักษา (Treatment category) | จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการรักษาและผลลัพธ์ที่คาดหวัง | |
---|---|---|
ยา (Medication) | Selegiline | แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงอาการแสดงทางคลินิกที่มีรายงานและมีการเรียนรู้และความจำที่ดีขึ้น 15,18 |
Propentofylline | ปรับปรุงอาการปัญญาทึบ (mental dullness) ความเซื่องซึม (lethargy) และความประพฤติ (demeanor) ให้ดีขึ้น; ปรับปรุงอาการของภาวะ CCD บางอย่างแต่การศึกษาบางฉบับลงความเห็นว่าไม่เห็นผล 19 | |
อาหาร (สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants), mitochondrial enzymatic cofactors) | ลดความเสื่อมถอยทางสติปัญญา ลดความเร็วของความเสื่อมในการเรียนรู้งาน และช่วยปรับปรุงให้อาการแสดงทางคลินิกของภาวะ CCD ดีขึ้น 2,20 | |
โภชนเภสัช (Nutraceuticals) | SAMe | ปรับปรุงอาการของภาวะ CCD; ปรับปรุงอาการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและความตระหนักรู้ที่ถูกรายงานไว้ 21 |
สารเสริมต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant supplements) | ปรับปรุงอาการของภาวะ CCD; ปรับปรุงอาการแสดงทางคลินิกที่ถูกรายงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการงุนงงสับสน (disorientation) ปฏิสัมพันธ์ (interactions) และการขับถ่ายไม่เป็นที่ (house soiling) 9,22 | |
การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม (ของเล่นใหม่, ออกกำลังกาย) | แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมถอยทางสติปัญญาที่ลดลงและลดความเร็วของการลุกลามของอาการแสดงทางคลินิก 2,23 | |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (เกมส์, การฝึก, ออกกำลังกาย) | แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมถอยทางสติปัญญาที่ช้าลงและลดความเร็วของการลุกลามของอาการแสดงทางคลินิก 2 | |
ฟีโรโมน (Pheromones) | ลดอาการวิตกกังวล (anxiety) ที่สังเกตเห็นได้ 8 |
เมื่อพิจารณาจากรายงานความชุกของภาวะ CCD สัตวแพทย์ที่ให้ความเห็นแรก (first-opinion veterinarians) มักจะเป็นผู้ที่พบสัตว์ป่วยอยู่บ่อยครั้งและตัวเลือกการรักษาที่หลากหลายในช่วงแรกอาจดูมากจนล้นหลาม อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าจำเป็นต้องมีการรักษาร่วมกันหลายๆวิธีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สัตว์ป่วยแต่ละราย โดยแนะนำให้ใช้แนวทางการรักษาแบบรายบุคคล (individualistic approach) และปรับการรักษาตามปัญหาของสุนัขที่เจ้าของรายงานมา เช่นเดียวกับปัจจัยของสัตว์ป่วย (เช่น มีโรคที่เกิดร่วมกัน (concurrent conditions)) และปัจจัยของเจ้าของ (เช่น รูปแบบการใช้ชีวิต เวลา และความสามารถในการฝึก) ที่มีอยู่หลากหลายซึ่งต่างมีจุดมุ่งหมายหลักคือเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสัตว์ป่วยและเจ้าของโดยการทำให้อาการคงที่ (stabilizing) หรือจัดการกับอาการต่างๆที่มีการรายงาน (reported signs)
ความอยากเป็นอิสระ (autonomy) และความปรารถนาของเจ้าของเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการประเมินและการรักษาจะต้องได้รับการเคารพ และพูดคุยเพื่อให้บรรลุข้อตกลงเสมอ แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของได้ (owner-related behavior change) แนวทางเชิงปฏิบัติมักเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเนื่องจากอาจไม่เหมาะสมที่จะทำการตรวจวินิจฉัยทั้งหมดตามที่สัตวแพทย์ต้องการ ทั้งนี้อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เจ้าของรายงานให้สัตวแพทย์ทราบแต่เจ้าของรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขเนื่องจากไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาหรือเจ้าของสามารถยอมรับได้หากสุนัขของตนยังมีคุณภาพชีวิตที่สมเหตุสมผลอยู่ กรณีศึกษาในกล่องข้อความที่ 2 และ 3 ได้แสดงให้เห็นถึงความท้าทายบางประการที่อาจเกี่ยวข้องและแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสม อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของทักษะทางคลินิก การสื่อสารและดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ (professional judgement) เพื่อสร้างแผนตามความต้องการของเจ้าของสัตว์ ซึ่งสามารถให้ผลคุ้มค่าสำหรับสัตวแพทย์เช่นเดียวกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทั้งสุนัขและเจ้าของได้อย่างมีนัยสำคัญ
กล่องข้อความที่ 2. ตัวอย่างกรณีศึกษา 1
สุนัขที่เคยเดินออกกำลังกายอย่างปกติ เริ่มมีพฤติกรรมดึงสายจูงและไม่เดินด้วยสายจูงที่หย่อนอีกต่อไป เนื่องจากการเรียนรู้และการรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปจาก CCD สุนัขเริ่มได้รับการปรับอาหารและปรับสิ่งแวดล้อม แต่เจ้าของปฏิเสธที่จะให้การฝึกสุนัขเดินด้วยสายจูงหย่อน เนื่องจากโรคข้ออักเสบที่เกิดขึ้นพร้อมกันทำให้ไม่สามารถเดินหรือออกกำลังกายได้เป็นเวลานาน เจ้าของยอมรับว่าสุนัขจะดึงสายจูงเพื่อเดินเล่นรอบหมู่บ้านเป็นเวลา 10 นาทีหรือสุนัขจะเดิมดมกลิ่นในสวนเพื่อการสำรวจ
บทบาทของสัตวแพทย์ในที่นี้คือ:
• ประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรมที่มีปัญหา: อาจต้องใช้วิธีการอื่นหากสุนัขเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเจ้าของที่เป็นผู้สูงอายุจากการดึงสายจูง
• ประเมินสุขภาพของผู้ป่วย: การสุนัขดึงสายจูงมีแนวโน้มที่จะทำให้สัญญาณของอาการต่างๆ เช่น โรคข้อเสื่อม (เช่นในกรณีนี้) ในสุนัขพันธุ์กลางถึงใหญ่ที่มีอายุมากกว่า อาจต้องพิจารณาถึงภาวะต่างๆ เช่น อัมพาตกล่องเสียง (laryngeal paralysis) ข้อเข่าเสื่อมที่คอและขาหน้า หรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม
• ช่วยให้เจ้าของสุนัขเข้าใจถึงทางเลือกในการจัดการที่มีอยู่ อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ (เช่น เปลี่ยนจากปลอกคอเป็น สายรัดอก) หรือทางเลือกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ซับซ้อนกว่า (เช่น เดินเล่น/ฝึกสุนัขในสวนด้วยสายจูงหลวมๆ แทนการเล่นดมกลิ่นในสวน)
• ให้คำแนะนำผู้ป่วย เช่น เจ้าของสุนัขอาจสังเกตขณะที่สุนัขมีพฤติกรรมสายจูง แต่สัตวแพทย์อาจสังเกตเห็นสัญญาณของสุนัขที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจร่างกาย เช่น สุนัขกังวลที่ให้คุณหมอตรวจประเมินการเคลื่อนไหวของคอ บางพฤติกรรมพบได้จากพฤติกรรมของสุนัขในห้องตรวจที่เจ้าของสุนัขอาจไม่ได้สังเกต เช่น สุนัขลังเลที่จะหยิบขนมจากพื้นเมื่อเทียบกับขนมที่สัตวแพทย์ให้กับมือ สัตวแพทย์ควรการเน้นย้ำให้เจ้าของทราบว่าการที่สุนัขดึงสายจูงอาจจะบ่งบอกว่าสุนัขมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้จึงเป็นประโยชน์ แผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมที่สุดสามารถออกแบบร่วมกันโดยลูกค้าและสัตวแพทย์ได้
• จดบันทึกอาการป่วยร่วมหลายๆ อย่างและการรักษาพร้อมกัน เช่นการใช้ยา อาหารเสริม และอาหารหลายชนิดพร้อมกันเมื่อมีอาการป่วยร่วม ดังนั้นสัตวแพทย์จะต้องตระหนักถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งของที่เจ้าของอาจให้เพื่อรักษาอาการต่างๆ เช่น โรคข้อเสื่อม และเนื่องจากอาหารเสริมหลายชนิดหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จึงจำเป็นต้องสอบถามเจ้าของเกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ ควรระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ และอาหารที่มีส่วนผสมที่ออกฤทธิ์เหมือนกันหรือคล้ายกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะ "ได้รับอาหารเสริมมากเกินไป" หรืออาจได้รับเกินขนาดได้
• ให้คำแนะนำด้านโภชนาการ แนะนำให้เจ้าของทราบว่าอาหารที่แนะนำอาจมีประโยชน์เมื่อให้อาหารเฉพาะเท่านั้น แทนที่จะผสมกับอาหารอื่นๆ หากสุนัขเบื่ออาหารเดิมๆควรให้คำแนะนำด้านอาหารเพิ่มเติม
กล่องข้อความที่ 3. ตัวอย่างกรณีศึกษา 2
สุนัขได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ CCD และเป็นโรคข้อเสื่อม โดยมีแพลนการจัดการสำหรับทั้ง 2 ภาวะ แต่เจ้าของสัตว์รายงานมาใหม่ว่าอยู่ดีๆเริ่มขับถ่ายไม่เป็นที่อย่างกระทันหัน แนวทางดังต่อไปนี้จะมีความเหมาะสม:
สุนัขสูงวัยควรได้รับการประเมินสัญญาณของภาวะ CCD เป็นประจำ 12 และการทำบันทึกคะแนนจากแบบสอบถามควรเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกทางคลินิกตามปกติด้วย (รูปภาพที่ 5) สำหรับสุนัขที่แสดงสัญญาณของภาวะ CCD ซึ่งได้รับการจัดการเป็นอย่างดีก็อาจจำเป็นต้องตรวจสุขภาพทุก 3 ถึง 6 เดือน แต่หากอาการต่างๆดูลุกลามรุนแรงมากกว่าเดิมหรือยังไม่คงที่ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพบ่อยกว่านั้น สำหรับสุนัขที่แสดงอาการถาวรหรืออาการแย่ลงอย่างกะทันหัน สิ่งสำคัญคือต้องตรวจหาปัญหาสุขภาพอื่นที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันซึ่งอาจพัฒนาหรือลุกลามมากขึ้นนับตั้งแต่ตอนวินิจฉัยภาวะ CCD ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากสุนัขที่ก่อนหน้านี้เริ่มแสดงอาการงุนงงสับสนเล็กน้อยอยู่ดีๆเริ่มขับถ่ายไม่เป็นที่อย่างกะทันหัน สัตวแพทย์จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อหาภาวะต่างๆ เช่น โรคข้อเสื่อมที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการไปขับถ่ายนอกบ้าน (เช่น ขั้นบันไดก่อนออกนอกบ้าน ระยะทางจากที่พักผ่อนของสุนัขจนถึงสวนหรือพื้นที่ลื่น) โรคไต โรคตับ หรือโรคระบบต่อมไร้ท่ออื่นๆ (ซึ่งทำให้เกิดภาวะปัสสาวะมาก/ดื่มน้ำมาก (polyuria/polydipsia (PUPD)) ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection)
Azkona G, García-Belenguer S, Chacón G, et al. Prevalence and risk factors of behavioural changes associated with age-related cognitive impairment in geriatric dogs. J. Small Anim. Pract. 2009;50(2):87-91: DOI: 10.1111/j.1748-5827.2008.00718.x
Milgram NW, Zicker SC, Head E, et al. Dietary enrichment counteracts age-associated cognitive dysfunction in canines. Neurobiol. Aging 2002;23(5):737-745: DOI: 10.1016/S0197-4580(02)00020-9
Osella MC, Re G, Odore R, et al. Canine cognitive dysfunction syndrome: Prevalence, clinical signs and treatment with a neuroprotective nutraceutical. Appl. Anim. Behav. Sci. 2007;105(4);297-310: DOI: 10.1016/j.applanim.2006.11.007
Salvin HE, McGreevy PD, Sachdev PS, et al. Underdiagnosis of canine cognitive dysfunction: A cross-sectional survey of older companion dogs. Vet. J. 2010;184:277-281 DOI: 10.1016/j.tvjl.2009.11.007
Landsberg G, Araujo JA. Behavior problems in geriatric pets. Vet. Clin. North Am. Small Anim. Pract. 2005;35;675-698: DOI: 10.1016/j.cvsm.2004.12.008
Neilson JC, Hart BL, Cliff KD, et al. Prevalence of behavioral changes associated with age-related cognitive impairment in dogs. J. Am. Vet. Med. Assoc. 2001;218:1787-1791 DOI: 10.2460/javma.2001.218.1787
Landsberg GM, Hunthausen WL, Ackerman LJ. The effects of aging on behavior in senior pets In: Behavior Problems of the Dog and Cat. St Louis, MI; Elsevier; 2003;107-134
Landsberg GM, Denenberg S. Behaviour problems in the senior pet. In: BSAVA Manual of Canine and Feline Behavioural Medicine. Gloucester, BSAVA; 2018;127-135. DOI: 10.22233/9781905319879.12
Madari A, Farbakova J, Katina S, et al. Assessment of severity and progression of canine cognitive dysfunction syndrome using the CAnine DEmentia Scale (CADES). Appl. Anim. Behav. Sci. 2015;171;138-145. 171: DOI: 10.1016/j.applanim.2015.08.034
González-Martínez Á, Rosado B, Pesini P, et al. Plasma β-amyloid peptides in canine aging and cognitive dysfunction as a model of Alzheimer’s disease. Exp. Gerontol. 2011;46;590-596: DOI: 10.1016/j.exger.2011.02.013
Schütt T, Toft N, Berendt M. A comparison of 2 screening questionnaires for clinical assessment of canine cognitive dysfunction. J. Vet. Behav. 2015;10(6):452-458 DOI: 10.1016/j.jveb.2015.07.036
Salvin HE, McGreevy PD, Sachdev PS, et al. The canine cognitive dysfunction rating scale (CCDR): A data-driven and ecologically relevant assessment tool. Vet. J. 2011;188:331-336. DOI: 10.1016/j.tvjl.2010.05.014
Pageat P. Description, clinical and histological validation of the A.R.C.A.D. score (evaluation of age-related cognitive and affective disorders). Third International Congress on Behavioural Medicine Newsletter of the American Veterinary Society of Animal Behavior 2001.
Fefer G, Khan MZ, Panek WK, et al. Relationship between hearing, cognitive function, and quality of life in aging companion dogs. J. Vet. Intern. Med. 2022;36:1708-1718. DOI: 10.1111/jvim.16510
Landsberg G. Therapeutic agents for the treatment of cognitive dysfunction syndrome in senior dogs. Prog. Neuropsychopharmacol. Biol. Psychiatry. 2005;29:471-479. DOI: 10.1016/j.pnpbp.2004.12.012
Haug LI. Canine and feline cognitive dysfunction. Adv. Small Anim. Med. Surg. 2013;26: DOI: 10.1016/j.asams.2013.10.001
Milgram NW, Head E, Zicker SC, et al. Learning ability in aged beagle dogs is preserved by behavioral enrichment and dietary fortification: a two-year longitudinal study. Neurobiol. Aging. 2005;26(1):77-90. DOI: 10.1016/j.neurobiolaging.2004.02.014
Milgram NW, Ivy GO, Head E, et al. The effect of l-deprenyl on behavior, cognitive function, and biogenic amines in the dog. Neurochem. Res. 1993;18:1211-1219 DOI: 10.1007/BF00975038
Siwak CT, Gruet P, Woehrlé F, et al. Comparison of the effects of adrafinil, propentofylline, and nicergoline on behavior in aged dogs. Am. J. Vet. Res. 2000;61(11):1410-1414. DOI: 10.2460/ajvr.2000.61.1410
Pan Y, Landsberg G, Mougeot I, et al. Efficacy of a therapeutic diet on dogs with signs of cognitive dysfunction syndrome (CDS): a prospective double blinded placebo controlled clinical study. Front. Nutr. 2018;5:127. DOI: 10.3389/fnut.2018.00127
Rème CA, Dramard V, Kern L, et al. Effect of S-adenosylmethionine tablets on the reduction of age-related mental decline in dogs: a double-blinded, placebo-controlled trial. Vet. Therap. 2008;9:69-82.
Heath SE, Barabas S, Craze PG. Nutritional supplementation in cases of canine cognitive dysfunction - a clinical trial. Appl. Anim. Behav. Sci. 2007;105:284-296. DOI: 10.1016/j.applanim.2006.11.008
Bray EE, Raichlen DA, Forsyth KK, et al. Associations between physical activity and cognitive dysfunction in older companion dogs: results from the Dog Aging Project. Geroscience 2023;45:645-661. DOI: 10.1007/s11357-022-00655-8
Beverley M. Wilson
Dr. Wilson graduated from the University of Nottingham in 2012 อ่านเพิ่มเติม
Daniel S. Mills
Professor Mills graduated from the University of Bristol in 1990 อ่านเพิ่มเติม
บทความนี้จะพิจารณาถึงการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) และตัวเลือกในการจัดการการรักษาเมื่อพบว่าสุนัขมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง
แมวสูงอายุนั้นมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างจากแมวอายุน้อยกว่าอย่างไร บทความนี้จะช่วยบอกคุณถึงสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ทั้งหมด
เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ผิวหนังของพวกมันก็มีอายุมากขึ้นเช่นเดียวกัน บทความนี้จะนำเสนอภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้และภาวะทางผิวหนัง (dermatologic conditions) ที่พบได้บ่อยในสุนัขสูงวัย
การสูญเสียกล้ามเนื้อ (muscle loss) หรือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ในสุนัขอายุมากนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการทำงาน บทความนี้ได้สรุปวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาปัญหานี้ได้