ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงที่เกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยา
บทความนี้จะพิจารณาถึงการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) และตัวเลือกในการจัดการการรักษาเมื่อพบว่าสุนัขมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง
หมายเลขหัวข้อ 33.3 Other Scientific
เผยแพร่แล้ว 15/12/2023
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español , English และ Українська
การสูญเสียกล้ามเนื้อ (muscle loss) หรือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ในสุนัขอายุมากนั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการทำงาน บทความนี้ได้สรุปวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาปัญหานี้ได้ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยคือภาวะที่มีการลดลงของมวลกล้ามเนื้อลาย (reduction in skeletal muscle mass) ซึ่งสัมพันธ์กับอายุโดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย (multifactorial) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคพื้นเดิม (underlying disease) ต่างกับภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia)
เมื่อทำการประเมินสภาพกล้ามเนื้อ (muscle condition) และคัดกรองภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ควรคำนึงถึงคะแนนสภาพร่างกาย (body condition score) ร่วมด้วย เนื่องจากจะส่งผลต่อภาพรวมของการประเมิน
การรักษาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยต้องอาศัยการออกกำลังกายและการวางแผนโภชนาการ (nutritional interventions) โดยวิธีแรกเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผลมากที่สุด แต่ทั้งนี้เภสัชบำบัดก็เป็นอีกทางเลือกที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
กลยุทธ์ทางโภชนาการ (nutritional strategies) สำหรับการรักษาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมักประกอบไปด้วยการผสมผสานระหว่างการเพิ่มการบริโภคโปรตีน (increased protein intake) การเสริมลิวซีน (leucine) กรดไขมันโอเมก้า 3 (omega-3 fatty acid) วิตามิน D และโพรไบโอติกส์ (probiotics)
อายุคาดเฉลี่ย (expected lifespan) นั้นมีความแตกต่างกันไปในสุนัขแต่ละสายพันธุ์ อีกทั้งยังมีความแตกต่างกันในสุนัขสายพันธุ์ขนาดเล็กและใหญ่อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่มีค่ากำหนด “อายุมาก” ที่ชัดเจนและการแยกแยะระหว่างอายุในช่วงต่างๆ (age categories) หรือช่วงเวลาของชีวิต (life stages) จะแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละตัว 1 โดยเมื่ออ้างอิงจาก ปีค.ศ. 2019 ที่ AAHA Canine Life Stage Guidelines ได้ระบุว่าสุนัขจะถูกแบ่งประเภทเป็นสัตว์สูงวัย (senior) (รูปภาพที่ 1) หลังจากเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิตที่เหลือเพียงร้อยละ 25 ของอายุคาดเฉลี่ยจนกระทั่งเสียชีวิต 2 ทั้งนี้คำว่า geriatric หรือ ผู้ชรา ยังมักใช้เพื่อกล่าวถึงสัตว์สูงอายุในทางสัตวแพทย์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้สลับกับคำว่า senior ที่หมายถึงผู้สูงวัยเช่นกัน แต่จริงๆแล้วคำจำกัดความของสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มสัตว์ชรา (geriatric subcategory) ยังจำเป็นต้องได้รับคำนิยามที่แน่ชัดมากขึ้นกว่านี้ก่อน ในทางการแพทย์ของมนุษย์ (human medicine) คำนี้แสดงถึงกลุ่มประชากรย่อยในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงอายุมากของชีวิต (senior life stage category) ซึ่งบ่อยครั้งมักมีโรคประจำตัวหลายอย่าง (multiple medical conditions) โดยมักจะรวมถึงภาวะชราภาพ (senility) หรือภาวะสมองเสื่อม (dementia) 3 แม้ว่าความแตกต่างของคำดังกล่าวยังคงต้องมีการปรับแต่งเล็กน้อยเกี่ยวกับคำจำกัดความแต่ก็ดูเหมือนว่าจะมีเหตุผลที่เราจะแยกแยะหรือยอมรับว่าสัตว์ชรา (geriatric animals) นั้นสามารถแยกออกจากหัวข้อกว้างๆของสัตว์สูงอายุ (senior animals) ได้ ซึ่งทั้งนี้ก็เป็นเพราะความต้องการ (ตั้งแต่โภชนาการถึงการออกกำลังกาย) และการจัดการทั่วไปที่แตกต่างกัน 1
ดังนั้นแล้วหากการจำแนกประเภทดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมาก สัตวแพทย์จะใช้วิธีการใดเพื่อระบุถึงกลุ่มประชากรย่อยได้ดียิ่งขึ้น ในพฤฒาวิทยาของมนุษย์ (human gerontology) มีการเสนอว่าผู้ป่วยจะต้องแสดงลักษณะอย่างน้อย 3 ข้อจากเกณฑ์ต่อไปนี้จึงจะถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มผู้ชรา (geriatric) 3:
ในขณะที่เกณฑ์ที่ถูกกล่าวถึงในข้างต้นจะช่วยแยกผู้ป่วยชรา(geriatric)ออกจากผู้สูงวัย(senior) ก็ยังมีคำศัพท์อื่นๆที่มักใช้เพื่ออธิบายกลุ่มประชากรย่อยนี้เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเฝ้าติดตาม (monitoring) และการวางแผนการรักษา หรืออาจใช้เมื่อพูดถึงการพยากรณ์โรค (prognosis) ได้แก่ ความเปราะบาง (frailty) ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) และภาวะเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ (anorexia of aging) ฯลฯ
ประการแรก ความเปราะบางคืออะไร? (frailty) คำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางคือการลดลงของปริมาณสำรองทางสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต (organism’s physiological reserves) ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่มั่นคงต่อความเครียดที่เพิ่มขึ้น 4,5 เมื่อพูดถึงการประเมินความเปราะบางในผู้สูงอายุเราจะพบว่ามีการใช้หรือการเสนอวิธีการประเมินมากกว่า 20 วิธี ทั้งวิธีเชิงปริมาณ (quantitative) และวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative) ดัชนีชี้วัดความเปราะบาง (index of frailty) จะเป็นตัวอย่างของวิธีการประเมินเชิงปริมาณ ในขณะที่การใช้ลักษณะปรากฎของความเปราะบาง (phenotype of frailty) จะเป็นวิธีการประเมินเชิงคุณภาพ โดยเมื่อพิจารณาจากวิธีการที่แตกต่างกัน วิธีการทั้ง 2 วิธีนี้จะช่วยเติม เต็มซึ่งกันและกันมากกว่าวิธีการประเมินอื่นๆ
ในมนุษย์ เมื่อใช้ลักษณะปรากฏของความเปราะบาง จะใช้องค์ประกอบทั้งหมด 5 อย่างเพื่อประเมินความเปราะบาง 4ได้แก่ :
การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ได้ประเมินคำจำกัดความทางคลินิก (โดยใช้ 5 องค์ประกอบที่กล่าวถึงในข้างต้น) ของลักษณะปรากฏของความเปราะบางในสุนัขนำทางที่มีอายุมาก 5 การศึกษาฉบับนั้นพบว่าสุนัขอายุมากที่มีองค์ประกอบ 2 ข้อหรือมากกว่ามักจะเสียชีวิตในระหว่างเฝ้าติดตามผล (follow-up period) มากกว่าสุนัขที่มีองค์ประกอบเดียวหรือไม่มีเลย และด้วยเหตุนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าสัญญาณของความเปราะบางดูเหมือนจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต (risk factor of death)
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยคือภาวะที่มีการลดลงของมวลกล้ามเนื้อลาย (reduction in skeletal muscle mass) ที่มีความสัมพันธ์กับอายุ ถึงแม้ว่าในธรรมชาติจะมีกระบวนการเบื้องหลัง (underlying mechanisms) อยู่หลายปัจจัย (multifactorial) ก็ตาม 6,7 มีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องแยกภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (sarcopenia) ออกจากภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) โดยภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกนั้นจะรวมไปถึงการลดลงของมวลกล้ามเนื้อลายแต่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของโรค เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure; CHF) โรคไตวายเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD) มะเร็งหลายชนิด และโรคเรื้อรังอื่นๆ 7 มีการระบุปัจจัยสนับสนุนต่างๆในมนุษย์ที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยและเชื่อกันว่ากลไกดังกล่าวมีบทบาทคล้ายคลึงกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสุนัข ซึ่งได้แก่ การขาดกิจกรรมทางกาย (physical inactivity) การเพิ่มการสร้าง cytokine (increased cytokine production) การลดลงของระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน (growth hormone, testosterone, IGF-1) การเปลี่ยนแปลงของเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดที่ 2 (changes in type II muscle fibers) (การเปลี่ยนแปลงของหน่วยประสาทสั่งการหรือ motor-unit remodeling) ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) และการลดลงของการสังเคราะห์โปรตีน 7 การเพิ่มขึ้นของกลไกการกินตัวเองของเซลล์ (autophagy) ยังถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อการฝ่อของกล้ามเนื้อ (muscle atrophy) ซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นในสุนัข 8
ในมนุษย์ การสูญเสียมวลร่างกายที่ไม่มีไขมัน (lean body mass) ที่เกี่ยวข้องกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยนั้นแสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การตายที่เพิ่มสูงขึ้น (increased mortality) รวมทั้งมีผลเชิงลบ (negative impact) ต่อความแข็งแรง (strength) การทำงานของภูมิคุ้มกันและคุณภาพชีวิต สิ่งนี้ทำให้เกิดการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการระบุ การป้องกันและกลยุทธ์ในการรักษา 7 ในขณะที่ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยหมายถึงการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่ไม่มีไขมันซึ่งสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น (ในตอนที่ปราศจากโรค) การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อแบบนี้ในมนุษย์จะเกิดในช่วงต้นๆของชีวิต (early in life) คืออายุประมาณ 30 ปี ซึ่งก็คล้ายคลึงกับการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในช่วงแรกของชีวิตสุนัขเช่นกัน 7
Matthew A. Kopke
เนื่องจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป (gradual process) ภาวะนี้จะดำเนินไปโดยไม่มีใครสังเกตเห็นจนกระทั่งเริ่มแสดงอาการชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของไขมันในร่างกายพร้อมกันก็สามารถบดบังภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยที่เป็นอยู่และทำให้การประเมินในสุนัขเป็นไปได้ยากขึ้น 6 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการรักษาน้ำหนักตัว (maintenance of body weight) นั้นเป็นไปได้แม้ว่ามวลร่างกายที่ไม่มีไขมันจะสูญเสียไปมากก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายอย่างมากรวมถึงมีตัวแปรอื่นๆเข้ามาประกอบกันค่อนข้างเยอะ แต่การตรวจเจอภาวะนี้ตั้งแต่แรกเริ่มจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการชะลอการพัฒนาหรือการลุกลามต่อไปโดยการวางกลยุทธ์การรักษาที่เหมาะสม
การแพทย์ในมนุษย์นั้นพบว่ามีหลายวิธีที่ใช้เพื่อคัดกรอง (screen) การสูญเสียมวลร่างกายที่ไม่มีไขมัน ได้แก่ regional computed tomography (CT), dual-energy x-ray absorptiometry (DEXA), การตรวจการขับ creatinine ออกทางปัสสาวะ (urinary creatinine excretion testing) รวมถึงการวัดระดับโพแทสเซียมในร่างกายและการวิเคราะห์หาปริมาณน้ำในร่างกาย (whole-body potassium and total body water determination) 6 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน CT ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการวัดพื้นที่หน้าตัด (cross-sectional area) ของกล้ามเนื้อต้นขา (thigh muscle) ในผู้สูงอายุเพื่อประเมินการสูญเสียกล้ามเนื้อ 9.ซึ่งวิธีนี้มีความเที่ยงตรงและความแม่นยำสูง (high precision and accuracy)
ส่วนการแพทย์ในสัตว์นั้นมีการใช้ DEXA เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) ที่เกี่ยวข้องกับการสูงวัยในสุนัข 10,11 โดยมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่เป็นไปได้ที่จะใช้วัดองค์ประกอบของร่างกาย แต่ทั้งนี้ก็ยังพบข้อจำกัดอยู่หลายประการในการวัดมวลร่างกายที่ไม่มีไขมัน 12 อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวางและโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังพบการใช้ได้ยากในทางคลินิก อย่างไรก็ตามมีการศึกษาล่าสุดที่ได้ประเมินวิธีต่างๆที่จะใช้ประเมินภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสุนัขสูงอายุ ผลการศึกษาพบว่าทั้งการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography) และ CT ล้วนแต่เป็นวิธีที่เป็นไปได้ในการวัดพื้นที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (epaxial muscle area) และวินิจฉัยพื้นที่กล้ามเนื้อที่ลดลงซึ่งสอดคล้องกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย 6
อัตราส่วน creatinine ต่อ urea nitrogen ในปัสสาวะหลังจากอดอาหาร (fasting urinary creatinine to urea nitrogen ratio) จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงกระบวนการสลายโปรตีนในสุนัขพันธุ์บีเกิ้ลที่มีสุขภาพดีและได้รับอาหารโปรตีนต่ำ (low-protein diets) วิธีนี้อาจนำไปใช้ในการตรวจหาการสลายโปรตีนในระยะเริ่มต้น (early detection of protein catabolism) ก่อนที่กล้ามเนื้อจะมีการสลาย (muscle breakdown) แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาการใช้ในสัตว์ป่วยหรือผู้ป่วยที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย 13
เนื่องจากกลไกพื้นฐาน (underlying mechanisms) ของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ดังนั้นจึงมีความสมเหตุสมผลที่จะถือว่าการรักษากลุ่มอาการ (syndrome) นั้นจะต้องใช้กลยุทธ์หลายอย่าง (multimodal strategy) การรักษาภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในอดีตนั้นจะใช้วิธี 2 เท่าหรือ two-fold approach ซึ่งก็คือการผสมผสานการวางแผนโภชนาการ (nutritional intervention) และการออกกำลังกายเข้าด้วยกัน โดยการออกกำลังกายจะมีประสิทธิภาพในการช่วยสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อ (muscle protein synthesis) มากกว่า อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ด้านโภชนาการจะเป็นทั้งตัวเสริมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ 14,15, นอกจากนี้เป้าหมายสำคัญที่ต้องตระหนักไว้ซึ่งอ้างอิงจากการค้นพบในสัตว์สปีชีส์อื่น (มนุษย์และสัตว์ฟันแทะ) ได้แก่ข้อมูลที่ระบุไว้ในกล่องข้อความที่ 1
กล่องข้อความที่ 1 เป้าหมายทางโภชนาการสำหรับสัตว์ป่วยที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย 7,16,17,18,19,20.
|
ในมนุษย์ที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย จะแนะนำให้ได้รับโปรตีนคุณภาพสูง 25-30 กรัมต่อมื้ออาหารเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการด้านโภชนาการ มีการศึกษาในผู้หญิงและผู้ชายสูงอายุเป็นเวลา 3 ปี พบว่าการบริโภคโปรตีนปริมาณมากจะทำให้การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อลดลงถึงร้อยละ 40 16 ทั้งนี้ไม่เพียงแต่คุณภาพและปริมาณของโปรตีนเท่านั้นที่ถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่ยังรวมไปถึงการกระจายของการบริโภคในระหว่างวัน (distribution of the intake during the day) อีกด้วย มีงานวิจัยล่าสุดได้ระบุว่ายังมีประโยชน์อื่นๆที่สัมพันธ์กับการกระจายการบริโภคโปรตีนปริมาณเท่ากันตลอดทั้งวัน 17 ในสุนัขสูงอายุการได้รับโปรตีนขั้นต่ำตามที่ AAFCO ระบุไว้ (5.1 กรัม/100 กิโลแคลอรี่) สำหรับสัตว์โตเต็มวัยนั้นเป็นสิ่งที่แนะนำ แต่การได้รับโปรตีนในอาหารที่สูงขึ้นกว่านี้ก็อาจมีประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 7 ทั้งนี้เนื่องจากการหมุนเวียนของโปรตีน (protein turnover) ที่เพิ่มขึ้นและการสังเคราะห์โปรตีน (reduced protein synthesis) ที่ลดลง ความต้องการโปรตีน (protein requirements) จึงเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ และในสุนัขสูงอายุนั้นก็ดูเหมือนว่าจะต้องการโปรตีนในอาหารมากกว่าประมาณร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขในวัยหนุ่มสาว ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้โดยการให้อาหารสูตรสำหรับสัตว์สูงอายุที่มีวางขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดหรือทำอาหารให้สัตว์เลี้ยงสูงอายุเองโดยใช้สูตรที่คิดค้นจากสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโภชนาการที่มีใบรับรองว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ (board-certified veterinary nutritionist) (รูปภาพที่ 2)
ลิวซีน (leucine) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ที่กระตุ้นและเริ่มต้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ ทั้งนี้พบว่าการเสริมลิวซีนในสัตว์สปีชีส์อื่น (มนุษย์และสัตว์ฟันแทะ) จะช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมหรือทำให้การสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อเป็นไปได้อย่างปกติ) 18,19 นอกจากนี้ยังมีการเสนอว่าหนึ่งในสารที่ได้จากกระบวนการสร้างและสลายหรือที่เรียกกันว่าสารเมแทบอไลต์ของลิวซีนซึ่งก็คือ เบต้า ไฮดรอกซี เบต้า เมทิลบิวไทเรต (beta-hydroxy-beta-methylbutyrate) อาจมีประโยชน์ในการปกป้องหรือแม้แต่ช่วยในกระบวนการสร้างมวลกล้ามเนื้อใหม่ในผู้สูงอายุที่มีมวลร่างกายที่ไม่มีไขมันลดลง 20 แต่ทั้งนี้ยังต้องมีการชี้แจงเพิ่มเติมว่าการเสริมสารอาหารทั้ง 2 อย่างที่กล่าวในข้างต้นจะมีประสิทธิภาพดีในสุนัขที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยหรือไม่ต่อไป
อาหารที่มีการเสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 (omega-3 fatty acid) และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) อาจเป็นประโยชน์ในสัตว์หรือผู้ป่วยที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อโรคร่วม (comorbidities) เช่น ภาวะสมองเสื่อม (cognitive decline) และโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม (osteoarthritis) ในกลุ่มประชากรย่อยนี้ 17 กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังส่งผลให้เกิดสารสื่ออักเสบที่สำคัญ (less potent inflammatory mediators) (eicosanoids) ที่มีศักยภาพน้อยกว่ากรดไขมันโอเมก้า 6 นอกจากนี้ยังช่วยลดการสร้าง TNF และ IL-1 ถึงแม้ว่าขนาดยาที่เหมาะสมจะยังไม่ได้ถูกกำหนดไว้แต่ก็มีคำแนะนำว่าสัตว์ที่มีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม ควรจะได้รับ eicosapentaenoic acid 40 มก./กก./วัน และ docosahexaenoic acid 25 มก./กก./วัน 7 การเสริมน้ำมันปลา (fish oil) ด้วยผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ก็เป็นสิ่งที่แนะนำเช่นกัน โดยน้ำมันปลาควรมีการผสมวิตามิน E เข้าไปเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วยเสมอ แต่ไม่ควรใส่สารอาหารอื่นๆเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นพิษ (รูปภาพที่ 3)
กิจกรรมและการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับประโยชน์ต่างๆมากมายในผู้สูงอายุ และประโยชน์ดังกล่าวก็อาจเกิดขึ้นในสัตว์สูงอายุได้เช่นเดียวกัน 14 ประโยชน์สำคัญที่มีการรายงานไว้ ได้แก่:
การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (resistance training) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับปรุงภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย 14,15. โดยวิธีนี้ถือเป็นวิธีกระตุ้นที่ช่วยในการเสริมสร้างและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มการสังเคราะห์ไมโอฟิบริลลาร์โปรตีนในกล้ามเนื้อได้ (myofibrillar muscle protein synthesis) แม้ว่าการออกกำลังดังกล่าวจะมีประโยชน์สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญต่อสัตว์ป่วยหรือผู้ป่วยที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย แต่ผลเชิงบวกนี้ก็จะหายไปหากไม่มีสารอาหารสนับสนุน (supportive nutrition) ที่เหมาะสม การบริโภคโปรตีนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างโครงสร้าง (blocks) สำหรับการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดอะมิโนแบบโซ่กิ่ง (branched-chain amino acids) 15 ในมนุษย์นั้นมีงานวิจัยที่แนะนำว่าการเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายแบบแรงต้านตั้งแต่เนิ่นๆอาจให้ประสิทธิผลที่เหนือกว่าและดีกว่า 14, แต่อายุที่เหมาะสมจะเริ่มต้นการออกกำลังกายแบบนี้ในสัตว์ยังคงต้องมีการพิจารณากันต่อไป
สำหรับสุนัข การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงและควบคุมได้ในรูปแบบของการเดินโดยใช้สายจูงทุกวันและกิจกรรมเพื่อการบำบัดรักษาสำหรับความยืดหยุ่น (flexibility) และความแข็งแรง (strength) (เช่น การออกกำลังกายแบบแรงต้าน) นั้นได้รับการแนะนำทั้งสิ้น โดยอาจใช้อุปกรณ์ เช่น ลู่วิ่งใต้น้ำ (underwater treadmill) หรือการฝึกทางกายภาพ (physical training) ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ที่มีไว้ใช้เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (rehabilitation tools) (รูปภาพที่ 4)
นอกเหนือจากการออกกำลังกายและสารอาหารแล้ว เภสัชบำบัด (pharmacotherapy) ก็ถือเป็นการรักษาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัตว์สปีชีส์อื่นที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (ตารางที่ 1) โดยยาที่มีเป้าหมายที่ภาวะสมดุลของโปรตีน (proteostasis) และ mitochondrial signaling through myostatin (MSTN), renin- angiotensin-aldosterone system (RAAS) รวมถึง AMP-activated protein kinase (AMPK) pathways ก็ได้เข้าสู่ขั้นตอนต่างๆของการทดลองทางคลินิกในทางการแพทย์ของมนุษย์แล้ว 21 การนำยาฮอร์โมนเก่ามาใช้ใหม่ (repurposed hormonal drugs) นั้นได้กลายเป็นการรักษาที่ดูมีความหวังและมีแนวโน้มที่ดีต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ซึ่งรวมไปถึงผลส่งเสริมการเจริญเติบโต (growth-promoting) หรือผลต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) เช่น testosterone, insulin และ ghrelin 21 กลยุทธ์ในการรักษาโดยทั่วไปนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความต้องการพลังงาน (reduce energy requirements) เพิ่มการบริโภคพลังงาน (enhance energy intake) ปรับปรุงการดูดซึมสารอาหาร (improve nutrient absorption) และแก้ไขการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึม (modify metabolic alterations) เพื่อป้องกันและฟื้นฟูการสูญเสียกล้ามเนื้อ 7 ทั้งนี้เภสัชบำบัดดังกล่าวยังไม่ได้เป็นหัวข้อที่ทำการศึกษาในสัตวแพทย์มากนัก แม้ว่าการวิจัยเพิ่มเติมอาจให้ความกระจ่างมากขึ้นและเสนอแนวทางในการประยุกต์ที่เป็นไปได้สำหรับตัวเลือกในการรักษาที่ถูกกล่าวถึงในข้างต้นเหล่านี้ก็ตาม
ตารางที่ 1 ตัวอย่างของสารเภสัชบำบัดที่มีการใช้ในการจัดการภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในสัตว์สปีชีส์อื่น 7,21.
วิถี/กลไก (pathway/mechanism) | กลุ่มของยา/ตัวอย่าง (drug class/example) |
---|---|
Myostatin (MSTN) pathway | MSTN inhibitors, activin receptor antagonists, follistatin fusion proteins และยีนบำบัด (gene therapy) |
Renin-angiotensin-aldosterone system (RAAS) | Angiotensin-converting enzyme inhibitors, angiotensin II type I receptor antagonists, mineralocorticoid antagonism, mitochondrial assembly receptor agonists |
AMP-activated protein kinase (AMPK) pathway | Metformin |
การนำยาฮอร์โมนเก่ามาใช้ใหม่ (repurposed hormonal drugs) | Testosterone, selective androgen receptor modulators, ghrelin และยามิเมติกส์ของพวกมัน (its mimetics) |
อื่นๆ (other/miscellaneous) | ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs), ยากระตุ้นความอยากอาหาร (appetite stimulants) |
สุดท้ายนี้ยากระตุ้นความอยากอาหาร (appetite stimulants) (เช่น mirtazapine, cypoheptadine, capromorelin) นั้นอาจมีประโยชน์ในสัตว์บางตัว อย่างไรก็ตามถ้ามาตรการต่างๆที่กล่าวถึงในข้างต้นล้มเหลว การพิจารณาใส่สายให้อาหาร (feeding tube placement) ก็จัดเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น โดยควรใส่สายให้อาหารเร็วที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงโรคในระยะสุดท้าย (end-stage disease) กับร่างกายที่ทรุดโทรมลงแล้วอย่างรุนแรงซึ่งย่อมได้รับผลที่แย่ลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาวะเบื่ออาหารในสัตว์สูงอายุคือการมีความอยากอาหารและการบริโภคอาหาร (หรือได้รับพลังงาน) ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยมีความชุกสูงในมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเจ็บป่วย (morbidity) และการตาย (mortality) 22 ความชุกในสุนัขสูงอายุนั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด โดยในมนุษย์ยังพบว่าผลสืบเนื่องที่สัมพันธ์กับภาวะเบื่ออาหารในสัตว์สูงอายุ ได้แก่ 22:
การสื่อสารกับเจ้าของสัตว์ (client communication) เรื่องภาวะเบื่ออาหารในสัตว์สูงอายุนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เจ้าของต้องได้รับข้อมูลเรื่องสัญญาณหรืออาการใดบ้างที่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามและรายงานต่อสัตวแพทย์ โดยอาจกว้างตั้งแต่การลดการบริโภคอาหาร (reduced food intake) ไปจนถึงการเปลี่ยนการเลือกบริโภคอาหาร (changes in food preferences) หรือแม้แต่วงจรความอยากอาหาร (cyclical appetite)
กลยุทธ์ที่สามารถช่วยจำกัดภาวะเบื่ออาหารในสุนัขสูงอายุ ได้แก่ 7:
เมื่อกล่าวถึงการตรวจประเมินสัตว์ป่วยสูงอายุ ความสม่ำเสมอนั้นจัดเป็นกุญแจสำคัญ นอกเหนือจากการตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้ว สัตวแพทย์ยังควรรวมการตรวจองค์ประกอบของลักษณะปรากฏของความเปราะบาง (components of the phenotype of frailty) เข้าไปในเกณฑ์วิธีเฝ้าติดตามด้วย (monitoring protocol) 5 โดยเครื่องมือคัดกรองอื่นๆนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณีและอาจรวมถึงการตรวจทางโลหิตวิทยา (hematology) การตรวจชีวเคมีของเลือด (serum biochemistry) การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (urinalysis) ฯลฯ
เมื่อต้องจัดการกับสัตว์สูงอายุ เราจำเป็นต้องใช้แนวทางในการจัดการแบบผสมผสาน (multimodal approach) เพื่อลดผลที่ตามมาของความชราและเพื่อรักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ในประชากรกลุ่มนี้ การสนับสนุนด้านโภชนาการจะเกี่ยวข้องกับการให้อาหารปริมาณน้อยแต่เพิ่มความถี่ของมื้ออาหารเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์ บ่อยครั้งจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนอาหาร (เว้นแต่จะมีข้อห้ามเนื่องจากโรคร่วม) แต่อาหารนั้นก็ต้องมีสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล นอกจากนี้ยังแนะนำให้ให้อาหารที่อุดมไปด้วยพลังงาน (energy-dense) โปรตีนสูง ความน่ากินสูง และมักเป็นอาหารที่มีกลิ่นหอมชัดเจน ในกรณีที่ความอยากอาหารยังลดลงอีกก็มีความคุ้มค่าที่จะลองพิจารณาใช้ยากระตุ้นความอยากอาหารกับสัตว์ดู ในสัตว์ป่วยที่มีข้อกังวลที่สำคัญมากกว่าแค่เรื่องการบริโภคอาหารที่ลดลงและเภสัชบำบัดก็ดูเหมือนจะไม่ได้ผลในการเพิ่มความอยากอาหาร การใส่สายให้อาหารก็จะมีประโยชน์อย่างมาก ด้านอื่นๆของการจัดการสัตว์สูงวัย ได้แก่ ควรจัดให้มีกิจกรรมควบคุม (controlled activity) และการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีการเฝ้าติดตามน้ำหนัก, ประเมินคะแนนสภาพร่างกาย (BCS), ประเมินคะแนนสภาพกล้ามเนื้อ (MCS) และปริมาณแคลอรี่ในอาหาร (caloric intake) อย่างระมัดระวัง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ล้วนแต่มีความสำคัญเช่นเดียวกับการเปลี่ยนการจัดการและการรักษาที่กล่าวถึงในข้างต้นแล้วทั้งสิ้น
Dhaliwal R, Boynton E, Carrera-Justiz S, et al. 2023 AAHA Senior Care Guidelines for Dogs and Cats. J. Am. Anim. Hosp. Assoc. 2023;59(1):1-21.
Creevy KE, Grady J, Little SE, et al. 2019 AAHA Canine Life Stage Guidelines. J. Am. Anim. Hosp. Assoc. 2019;55(6):267-290.
Gardner M, Glass S. Geriatrics and Fragility. In: Gardner M, McVety D (eds.) Treatment and Care of the Geriatric Veterinary Patient. 1st ed. Hoboken: John Wiley & Sons, Inc, 2017;11-19.
Fried LP, Tangen CM, Walston J, et al. Frailty in older adults: Evidence for a phenotype. J. Gerontol. A. Biol. Sci. Med. Sci. 2001;56(3):M146-M156.
Hua J, Hoummady S, Muller C, et al. Assessment of frailty in aged dogs. Am. J. Vet. Res. 2016;77(12):1357-1365.
Hutchinson D, Sutherland-Smith J, Watson AL. Assessment of methods of evaluating sarcopenia in old dogs. Am. J. Vet. Res. 2012;73(11):1794-1800.
Freeman LM. Cachexia and Sarcopenia: emerging syndromes of importance in dogs and cats. J. Vet. Intern. Med. 2012;26(1):3-17.
Pagano TB, Wojcik S, Costagliola A, et al. Age-related skeletal muscle atrophy and upregulation of autophagy in dogs. Vet. J. 2015;206(1):54-60.
Rice CL, Cunningham DA, Paterson DH, et al. Arm and leg composition determined by computed tomography in young and elderly men. Clin. Physiol. 1989;9(3):207-220.
Kealy RD, Lawler DF, Ballam JM, et al. Effects of diet restriction on life span and age-related changes in dogs. J. Am. Vet. Med. Assoc. 2002;220(9):1315-1320.
Harper EJ. Changing perspectives on aging and energy requirements: aging, body weight and body composition in humans, dogs and cats. J. Nutr. 1998;128(12 Suppl): 2627S-2631S.
Freeman LM, Kehayias JJ, Roubenoff R. Use of dual-energy x-ray absorptiometry (DEXA) to measure lean body mass, body fat, and bone mineral content (BMC) in dogs and cats. J. Vet. Intern. Med. 1996;10(2):99-100.
Yamamoto S, Ohta Y, Hasegawa E, et al. Usefulness of urinary creatinine/urea nitrogen ratio as indicator of body protein catabolism in dogs fed low protein diets. Front. Vet. Sci. 2019;6:449.
Peterson MD, Sen A, Gordon PM. Influence of resistance exercise on lean body mass in aging adults: a meta-analysis. Med. Sci. Sports Exerc. 2011;43(2):249-258.
McKendry J, Currier BS, Lim C, et al. Nutritional supplements to support resistance exercise in countering the sarcopenia of aging. Nutrient 2020;12(7):2057.
Houston DK, Nicklas BJ, Ding J, et al. Dietary protein intake is associated with lean mass change in older, community-dwelling adults: the Health, Aging, and Body Composition (Health ABC) Study. Am. J. Clin. Nutr. 2008;87(1):150-155.
Tessier AJ, Chevalier S. An update on protein, leucine, omega-3 fatty acids, and vitamin D in the prevention and treatment of sarcopenia and functional decline. Nutrient 2018;10(8):1099.
Guo Y, Fu X, Hu Q, et al. The effect of leucine supplementation on sarcopenia-related measures in older adults: a systematic review and meta-analysis of 17 randomized controlled trials. Front. Nutr. 2022;9:929891.
Chang MC, Choo YJ. Effects of whey protein, leucine, and vitamin D supplementation in patients with sarcopenia: a systematic review and meta-analysis. Nutrient 2023;15(3):521.
Landi F, Calvani R, Picca A, et al. Beta-hydroxy-beta-methylbutyrate and sarcopenia: from biological plausibility to clinical evidence. Curr. Opin. Clin. Nutr. Metab. Care. 2019;22(1):37-43.
Feike Y, Zhijie L, Wei C. Advances in research on pharmacotherapy of sarcopenia. Aging Med. (Milton). 2021;4(3):221-233.
Picca A, Calvani R, Coelho-Júnior HJ, et al. Anorexia of aging: metabolic changes and biomarker discovery. Clin. Interv. Aging. 2022:17:1761-1767.
Parker VJ, Freeman LM. Association between body condition and survival in dogs with acquired chronic kidney disease. J. Vet. Intern. Med. 2011;25(6):1306-1311.
Freeman LM, Michel KE, Zanghi BM, et al. Evaluation of the use of muscle condition score and ultrasonographic measurements for assessment of muscle mass in dogs. Am. J. Vet. Res. 2019;80(6):595-600.
Freeman L, Becvarova I, Cave N, et al. WSAVA Nutritional Assessment Guidelines. J. Small Anim. Pract. 2011;52(7):385-396.
Matthew A. Kopke
Dr. Kopke obtained his undergraduate, veterinary, and honors degrees from the University of Pretoria, South Africa อ่านเพิ่มเติม
บทความนี้จะพิจารณาถึงการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) และตัวเลือกในการจัดการการรักษาเมื่อพบว่าสุนัขมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง
“โรคสมองเสื่อม” ในสุนัข (canine dementia) กำลังกลายเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้เมื่อประชากรสัตว์เลี้ยงของเรามีอายุมากขึ้น บทความนี้จะช่วยทบทวนอาการแสดง การวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnoses) และการรักษาในกรณีดังกล่าว
แมวสูงอายุนั้นมีความต้องการทางโภชนาการแตกต่างจากแมวอายุน้อยกว่าอย่างไร บทความนี้จะช่วยบอกคุณถึงสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้ทั้งหมด
เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ผิวหนังของพวกมันก็มีอายุมากขึ้นเช่นเดียวกัน บทความนี้จะนำเสนอภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงต่างๆเหล่านี้และภาวะทางผิวหนัง (dermatologic conditions) ที่พบได้บ่อยในสุนัขสูงวัย