โรคผิวหนังที่เกิดจากภาวะภูมิแพ้อาหารในแมว
การที่เจ้าของแมวหลายคนกล่าวโทษว่าอาหารคือตัวการที่ทำให้แมวมีอาการทางผิวหนังนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่
หมายเลขหัวข้อ 31.1 Other Scientific
เผยแพร่แล้ว 07/09/2022
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español , English และ 한국어
Cutaneous lymphoma ในแมวพบได้ยากแต่ถือเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตซึ่งจำเป็นต้องบรรจุไว้ใน้ข้อวินิจฉัยแยกแยะในโรคผิวหนังหลายกรณี ในบทความนี้จะกล่าวถึงข้อมูลในปัจจุบันและแนวทางในการรักษา (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)
Cutaneous lymphoma ในแมวพบได้ยากแต่ถือเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรง (malignant neoplasm) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น epitheliotropic และ non-epitheliotropic form โดยในแมวจะพบอย่างหลังมากกว่า
รอยโรคที่ผิวหนังอาจพบลักษณะเป็นดวง(patch) ปื้น(plaque) ตุ่มเนื้อ(nodule) ซึ่งอาจเกิดเฉพาะที่หรือทั่วร่างกายโดยไม่มีตำแหน่งเฉพาะ
มีรายงานเกี่ยวกับการรักษาน้อยมาก ในขั้นแรกมักเลือกใช้การรักษาเฉพาะตำแหน่งที่ผิวหนังและลำดับถัดมาคือการใช้เคมีบำบัดทั่วร่างกายซึ่งอาจใช้สารหนึ่งชนิดหรือมากกว่า
แมวที่ป่วยด้วย lymphoma ชนิด epitheliotropic form มีอัตรารอดชีวิตเฉลี่ย(median survival time) อยู่ที่ 10 เดือน ในขณะที่ non-epitheliotropic form แย่กว่าอยู่ที่ 4-8 เดือน
Lymphoma เป็นเนื้องอกที่ได้รับการวินิจฉัยบ่อยที่สุดในแมวคิดเป็นร้อยละ 50 ของเนื้องอกทั้งหมดในสัตว์ชนิดนี้ จากจำนวนนี้พบว่าเป็น cutaneous lymphoma ร้อยละ 0.2-0.3 ถือเป็นสาระสำคัญว่าเนื้องอกชนิดนี้พบได้ยากแต่มีความรุนแรงสูง 1 ในปัจจุบันมีรายงานการตีพิมพ์เกี่ยวกับ cutaneous lymphoma ในแมวน้อยมากเทียบกับในคนและสุนัขที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายและได้รับการบันทึกไว้มากกว่า 23
Cutaneous lymphoma ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบจากระบบการแบ่งที่ใช้ในการแพทย์ของคนได้แก่ epitheliotropic และ non-epitheliotropic form โดยดูจากการที่มี neoplastic lymphocyte เข้าแทรกอยู่ในผิวหนังชั้น epidermis dermis และ adnexa (epitheliotropic form) หรือแทรกอยู่ในชั้น dermis และ subcutis (non – epitheliotropic form) 4 หากจะกล่าวอย่างจำเพาะคือ feline cutaneous epitheliotropic lymphoma(CETL) จะไม่มีการรุกรานของเซลล์มะเร็งเข้าสู่ adnexal gland2
CETL อยู่ในกลุ่มย่อยของ cutaneous T-cell lymphoma(CTCL) และยังสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น mycosis fungoides Sezary syndrome(รูปแบบหนึ่งของ leukemia) และ pagetoid reticulosis 234 โดยในแมวยังไม่พบกรณีสุดท้าย 2 cutaneous non-epitheliotropic lymphoma(CNEL) พบในแมวได้บ่อยกว่า CTCL ซึ่งประกอบด้วย indolent T-cell lymphoma(cutaneous lymphocytosis) diffuse T-cell lymphoma T-cell -rich large B-cell lymphoma และ lymphoplasmacytic lymphoma 1 ในช่วงที่ผ่านมาได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับอาการในกลุ่มย่อยของ CNEL ในแมวได้แก่ injection site cutaneous lymphoma tarsal lymphoma และ CNEL ที่เกิดบริเวณที่กระดูกหัก ซึ่งทั้ง 3 กรณีขาดคุณสมบัติที่จะอยู่ในกลุ่ม epitheliotropic แต่มีอาการและพยาธิสภาพเฉพาะตัวที่จะเป็นโรคใหม่ได้ 156 ในสุนัขและคนจะพบ CETL ได้บ่อยกว่าและส่งผลให้เกิดการวิจัยในแมวมากขึ้น 1
สาเหตุการเกิดโรคและปัจจัยโน้มนำ
Cutaneous lymphoma พบในแมวอายุมากโดยมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มพบโรคคือ 10 ปีโดยไม่มีความจำเพาะต่อเพศและพันธุ์ 37 จากการที่เป็นโรคที่พบได้ยากในแมวทำให้ยังไม่เข้าใจสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด 37 lymphoma ในแมวที่พบได้บ่อยกว่าได้แก่ mediastinal lymphoma และ multicentric lymphoma มีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส(FeLV และ FIV)แต่ยังไม่พบหลักฐานสนับสนุนความสัมพันธ์แบบเดียวกันใน cutaneous lymphoma 1238 อย่างไรก็ตามในการศึกษาหนึ่ง 9 ได้ใช้ PCR ตรวจพบ FeLV provirus DNA ในเนื้องอกจากแมวที่เป็น CNEL จากการค้นพบนี้ทำให้ไม่สามารถตัด FeLV และ/หรือไวรัสชนิดอื่นจากสาเหตุได้เต็มที่ 3 การวินิจฉัยระดับโมเลกุลที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นอาจจำเป็นในการยืนยันความเกี่ยวข้องระหว่างเนื้องอกชนิดนี้และเชื้อไวรัส 9
มีการนำเสนอสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวข้อง มีรายงานเกี่ยวกับแมว 2 ตัว ที่ป่วยด้วยโรค dermopathy follicular mucinosis ซึ่งพบได้ยากมากและมีข้อมูลที่จำกัด ในภายหลังพบว่าทั้ง 2 ตัวมีการพัฒนาของโรคไปเป็น CETL 710 ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถยืนยันว่า follicular mucinosis มีการพัฒนาไปเป็น CETL แต่ follicular mucinosis อาจเป็นปัจจัยโน้มนำหรือตัวบ่งชี้ถึงโรคที่ร้ายแรงกว่า นอกจากนี้การมีอยู่ของโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังในคนและสุนัขที่ป่วยด้วยโรค CTCL มีการวิจัยว่ามีโอกาสเป็นปัจจัยโน้มนำของมะเร็งผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโรคผิวหนังอักเสบเช่น อะโทปีไปเป็นเนื้องอกยังไม่ได้มีการพิสูจน์ทั้งในแมว คน และสุนัข 3
ปัจจัยโน้มนำของ CNEL ในแมวได้มีการศึกษาในแมว 17 ตัวซึ่งพบ CNEL ตำแหน่งที่ฉีดยาเชื่อมโยงกับรายงานสัตว์ป่วยของแมวที่พบ CNEL ตำแหน่งที่เกิดการหักของกระดูก สาเหตุของการเชื่อมโยงเกิดจากการที่ผู้ทำการศึกษาของทั้งสอง 2 กรณีเสนอว่าการอักเสบเรื้อรัง(จากการฉีดยาและการหักของกระดูกตามลำดับ)มีแนวโน้มที่จะเป็นสาเหตุของการพัฒนาไปเป็นเนื้อร้าย 15 การอักเสบเรื้อรังในคนมีการบันทึกว่ามีโอกาสเป็น nidus ของ B-cell lymphoma นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่อาจเป็น nidus ได้เช่นการผ่าตัด การบาดเจ็บ อุปกรณ์โลหะ(implant) และการติดเชื้อไวรัส 1
กรณีที่มีรายงานการพบมากที่สุดของ CETL ในแมวคือ mycosis fungoides 3 เมื่อเนื้องอกเกิดขึ้นจะมีการดำเนินไปอย่างช้าๆและอาจไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางระบบหรือความผิดปกติจากการตรวจเลือดที่สังเกตได้ชัดเจน311 นอกจากนี้แมวที่ป่วยด้วยโรค Sezary syndrome มักมาด้วยอาการคันและต่อมน้ำเหลืองโตรวมถึงพบภาวะ leukemia ในกระแสเลือด 211
การตรวจผิวหนังอาจพบรอยโรคที่อาจเกิดเฉพาะที่หรือกระจายทั่วตัว ลักษณะที่พบจะเป็น exfoliative erythroderma วง(patch) ปื้น(plaque) ผิวหนังหลุดลอก(erosion)และแผลหลุม(ulcer)(รูป 1) รอยโรคที่ mucocutaneous junction(รูป 2) และในช่องปาก(รูป 3) 312ผลที่ได้คือรอยโรคที่มีความคล้ายคลึงกับการติดเชื้อปรสิต(Demodex spp.) การติดเชื้อ(dermatophyte) และโรคภูมิแพ้ผิวหนัง(eosinophilic granuloma complex) 712มีรายงานสัตว์ป่วยฉบับหนึ่งกล่าวถึงแมวที่ป่วยด้วยโรค CETL ที่มีอาการทางคลินิกแตกต่างออกไปอย่างชัดเจนโดยพบตุ่มเนื้อ(nodule)บริเวณปลายหางที่มีระยะเวลาเกิดโรคสั้น 13 จากกรณีนี้ทำให้การวินิจฉัยแยกแยะ CETL ทำได้ยากมากขึ้นเพราะดูเหมือนว่าการแสดงออกทางคลินิกของ CETL จะไม่สามารถคาดเดาได้
การวินิจฉัยอาศัยผลจุลพยาธิวิทยา การวินิจฉัยยืนยันต้องพบเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยต์ขนาดเล็กถึงกลางหรือขนาดกลางถึงใหญ่ที่มารวมกันบริเวณ epidermis 12 แต่นักพยาธิวิทยาอาจใช้คำอธิบายอื่นๆเช่น Pautrier’s microabscessation spongiosis และ apoptosis ของ keratinocyte การอักเสบแบบผสมผสาน orthokeratosis และ parakeratosis ของชั้น epidermis เป็นต้น 3 ผลจุลพยาธิวิทยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแยกระหว่าง mycosis fungoides และ Sezary syndrome ออกจากกันได้ 711
แนวคิดว่า CETL ที่พบเกือบทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจาก T-cell ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางแต่ยังคงมีการศึกษานอกเหนือจากนั้นน้อยมากเกี่ยวกับลักษณะที่แสดงออกทางภูมิคุ้มกัน(immunophenotype) และพยาธิวิทยาภูมิคุ้มกันของ CETL ในแมว นักพยาธิวิทยาบางคนเชื่อว่าลักษณะที่แสดงออกทางภูมิคุ้มกันของ CETL ในแมวน่าจะมีความใกล้เคียงกับ mycosis fungoides ในคนจากการที่มี T-cell มาเกี่ยวข้องและคาดว่าเป็น helper T-cell(CD4) 3 อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ได้ถูกท้าทายจากการค้นพบ perforin ใน T-cell ของแมวที่ป่วยด้วย CETL perforin เป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่สร้างรูซึ่งบรรจุอยู่ใน cytoplasmic granule ของ cytotoxic T-cell(CD8) ทำหน้าที่ในการฆ่าเซลล์เป้าหมาย เป็นที่น่าเสียดายว่ายังไม่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงออกของ CD8 ในกรณีนี้ 13 จึงยังต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อหาการแสดงออกทางภูมิคุ้มกันของ CETL ในแมว
อาการทางคลินิกของ CNEL ที่พบคือตุ่มเนื้อหรือปื้นซึ่งอาจพบเดี่ยวๆหรือหลายตำแหน่งมักพบแผลหลุมร่วมด้วยโดยไม่มีอาการคัน(รูป 4 และ 5) สามารถพบสะเก็ด รังแค และผิวแดงได้(รูป 6) 214 ไม่มีตำแหน่งการเกิดที่แน่นอนแต่จากบทความทางวิชาการเสนอว่ารอยโรคอาจเกิดได้ที่ส่วนปลายของร่างกาย ตำแหน่งที่ฉีดยา(cutaneous lymphoma ที่ตำแหน่งฉีดยา) บริเวณ tarsus และตำแหน่งที่เคยเกิดการหักของกระดูก(CNEL ที่เกี่ยวข้องกับการหักของกระดูก) 15614 อาการของโรคอาจแสดงออกในรูปแบบของการบวมน้ำ ตุ่มเนื้อหรือก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง 156 แมวที่มีอาการไม่จำเพาะเจาะจงจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ cutaneous lymphoma ย้ำเตือนความสำคัญของการใส่ cutaneous lymphoma ในการวินิจฉัยแยกแยะเมื่อพบอาการบวม ตุ่มเนื้อ ก้อนเนื้อในชั้น cutis หรือ subcutis บนตำแหน่งที่แปลกไปของร่างกาย นอกจากนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ารอยโรคเกิดขึ้นนานเพียงใดก่อนที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่หลายเดือนจนถึงหลายปีเทียบกับการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว เกิดการแพร่กระจายไปยั่งต่อมน้ำเหลืองและส่วนอื่นๆของร่างกายซึ่งใช้เวลาไม่กี่วัน 125614
CNEL ถูกนิยามว่าเป็น diffuse poorly differentiated lymphocytic lymphoma 2 ทำให้เกิดความยากในการแยกออกจาก round cell tumor ชนิดอื่นที่เกิดบริเวณผิวหนัง histiocytic proliferative disorder และ mycosis fungoides ในระยะท้าย รายงานสัตว์ป่วยเมื่อไม่นานมานี้ได้บรรยายผลของจุลพยาธิวิทยาซึ่งพบการแทรกตัวของ tumor cell ที่มีลักษณะ well-differentiated ขนาดกลางถึงใหญ่ ระหว่างชั้น corium และ subcutis 514 นอกจากนี้ในกลุ่มย่อยของ CNEL ยังมีความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยาที่พบร่วมกันได้แก่เซลล์เนื้องอกที่มีค่า mitotic index สูงเรียงตัวเป็นแผ่น และบริเวณที่เกิดการ necrosis 156
CNEL เป็นโรคที่เกิดจากการแสดงออกทางภูมิคุ้มกันของ T-cell หรือ B-cell อย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีตัวอย่างอยู่ในการศึกษาแยกกัน 2 ชิ้น การศึกษาหนึ่งพบว่าแมวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น B-cell lymphoma มีจำนวนมากกว่า T-cell lymphoma 6 ในขณะที่การศึกษาอีกชิ้นให้ผลที่ตรงข้ามกัน 1 การแสดงออกทางภูมิคุ้มกันทราบได้โดยวิธี immunohistochemistry และการระบุแอนติเจนเฉพาะบนพื้นผิวด้านนอกซึ่งแสดงออกโดย neoplastic lymphocyte : CD3 ผ่าน T-cell และ CD79 ผ่าน B-cell 16 อย่างไรก็ตาม CNEL มีการแสดงออกของ T-cell ที่สูงกว่าและการตรวจพบ B-cell tumor ถือว่าเกิดได้ยากมาก 167
หลักฐานทางการแพทย์ในการรักษา CETL ในแมวมีน้อยมากจึงประยุกต์จากแนวทางของคนและสุนัข การรักษาขั้นแรกในกรณีของคนที่มีรอยโรคระยะแรกซึ่งอาจเป็นเฉพาะที่และอยู่ที่บริเวณผิวหนังชั้นนอกเน้นไปที่การรักษาที่ผิวหนังโดยตรงผ่านการใช้ยาทาเฉพาะ การฉายแสง(phototherapy) การรักษาด้วยสารไวแสง(photodynamic therapy) และการฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัดแบบทั่วร่างกายถือเป็นการรักษาในขั้นที่สองซึ่งสงวนไว้ใช้ในกรณีที่มีความรุนแรงหรือเพื่อบรรเทาอาการ 15 รูปแบบแนวทางการรักษาที่จะกล่าวต่อไปเป็นแนวทางในปัจจุบันรวมถึงการรักษาที่กำลังได้รับการพัฒนาในคนและสุนัข โดยยาส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงไมได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในแมวแต่ในทางทฤษฎีแล้วอาจนำมาประยุกใช้ได้
Hannah Lipscomb
ในทางการแพทย์ของคนมีการศึกษาการฉายแสงด้วยอัลตราไวโอเลตเพื่อใช้ในการรักษา CTCL มากกว่าการรักษาด้วยสารไวแสง รวมถึงมีการศึกษาหลายชิ้นที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของวิธีดังกล่าวในการรักษาโรคระยะแรกเริ่ม 15 สำหรับแวดวงสัตวแพทย์นั้นได้มีความตื่นตัวในการเริ่มใช้สารไวแสงซึ่งให้ผลที่ดีในการรักษา cutaneous squamous cell carcinoma ระยะแรกเริ่ม รวมถึงเนื้องอกขนาดเล็กที่ยังไม่ลุกลามในแมว วิธีการคือให้สารไวแสงที่คงตัวอยู่บริเวณเนื้องอกผ่านการกิน ทา หรือหลอดเลือดดำจากนั้นกระตุ้นการทำงานด้วยแสงให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อ 16
การฉายรังสีใช้อิเล็กตรอนพลังงานต่ำซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีเฉพาะ หากพื้นที่ของผิวหนังทั้งหมดได้รับการฉายรังสีจะเรียกว่า total skin electron beam(TSEB) ในทางการแพทย์ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยที่มีรอยโรคอยู่บริเวณผิวชั้นนอกซึ่งไม่ตอบสนองด้วยยาทาเฉพาะที่ 15 การตอบสนองต่อการรักษาด้วย TSEB ในบางกรณีนั้นให้ผลที่ดีแต่พบการกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย พบว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างระยะของ CTCL และอัตราการกลับมาเป็นซ้ำส่งผลให้ยิ่ง CTCL มีความรุนแรงมากเท่าใดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำยิ่งสูงขึ้น 1517ในทางสัตวแพทย์ได้มีการศึกษา TSEB เป็นเวลาหลายปีรวมถึงคัดเลือกสัตว์ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม รายงานสัตว์ป่วยกรณีหนึ่งกล่าวถึงการรักษาในสุนัขป่วยด้วยโรค CTCL ที่ดื้อต่อยาเคมีบำบัดซึ่งสามารถทำให้สุนัขสามารถปลอดโรคได้เป็นระยะเวลานาน 19 เดือน 18 แต่ยังไม่มีรายงานการใช้ในแมว
ยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคและการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางระบบ
CTCL ในคนที่มีการลุกลามมากขึ้นจะพบว่า malignant T-cell เพิ่มจำนวนและทำให้เกิดความไม่สมดุลของ cytokine การทำงานของยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค(disease-modifying agents)จะพุ่งเป้าไปที่ความไม่สมดุลนี้ ยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคถือเป็นการรักษาในขั้นที่สองเมื่อการรักษาที่ผิวหนังโดยตรงไม่ประสบความสำเร็จหรือโรคมีการลุกลามมากขึ้น 15 ทางสัตวแพทย์ได้มีการทดลองใช้ retinoid สังเคราะห์ซึ่งให้ผลที่น่าพอใจจากการที่ไม่มีความเป็นพิษทับซ้อนกันกับการรักษาด้วยสารที่เป็นพิษต่อเซลล์เมื่อให้ร่วมกัน retinoid จากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ออกฤทธิ์การทำงานคล้ายวิตามินเอซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ 19 ในการศึกษาหนึ่งพบว่าสุนัขที่เป็น CTCL ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีส่วนผสมของ retinoid สังเคราะห์(isotretinoin และ etretinate) โดยมีผลสำเร็จในการรักษาอยู่ที่ร้อยละ 42 20 เป็นที่น่าเสียดายว่าการรักษานี้ไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายนักเพราะใช้เวลานานจึงจะเห็นผลรวมถึงค่าใช้จ่ายที่สูง 20
แนวทางการรักษา CETL ที่ได้รับการวิจัยมากที่สุดในทางสัตวแพทย์คือการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางระบบซึ่งมีทั้งการใช้สารเพียงชนิดเดียวและใช้สารหลายชนิดร่วมกัน สาเหตุมาจากาการที่โรคมักอยู่ในระยะที่ดำเนินไปมากแล้ว ณ ช่วงเวลาที่ทำการวินิจฉัยส่งผลให้จำเป็นต้องโหมรักษา neoplastic lymphocyte ยังคงตอบสนองดีต่อยาสเตียรอยด์ชนิดกินซึ่งมีรายงานว่าให้ผลการรักษาและการประคับประคองอาการได้ดี 219 การใช้ยาสเตียรอยด์เพียงอย่างเดียวในการรักษามักไม่ให้ผลที่ดีในระยะยาวแต่จะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน 19Filippo De Bellis
ทางเลือกอื่นในการรักษา cutaneous lymphoma ในแมวได้แก่ placental lysate การผ่าตัดรอยโรคที่อยู่เดี่ยวๆออก และ fibronectin(ใช้เฉพาะที่และทางหลอดเลือดดำ) 36 fibronectin เป็นไกลโคโปรตีนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งผ่านกระบวนการ opsonization หรือกระบวนการที่ทำให้เซลล์มะเร็งเป้าหมายถูกจับกินหรือทำลายโดย phagocyte และ monocyte ได้มากขึ้น 3 ถึงแม้ว่าจะมีการตีพิมพ์แนวทางในการรักษาที่เป็นทางเลือกแต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนผ่านกรณีตัวอย่างที่มีการตอบสนองต่อการรักษาและอัตรารอดชีวิตที่น่าเชื่อถือเพียงพอ 6 ซึ่งยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป
แนวทางการรักษาโดยใช้หลายวิธีร่วมกันไม่ช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตในคนที่ป่วยด้วยโรค CTCL แต่มีความสำเร็จในการเพิ่มอัตราการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ต่อการรักษา การใช้วิธีรักษาหลายวิธีร่วมกันควรคำนึงถึงการไม่ซ้อนทับกันของความเป็นพิษต่อร่างกายและมีความสมเหตุผลเช่นใช้การผ่าตัดนำก้อนเนื้อออกร่วมกับการทำเคมีบำบัด ควรพิจารณาใช้ในสัตว์ป่วยเป็นรายๆไป สิ่งที่สำคัญอีกประการคือการรักษาตามอาการเช่นยาระงับความเจ็บปวด และยาปฏิชีวนะ ควรให้ร่วมกับการรักษาเนื้องอกเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะในรายที่เน้นการรักษาแบบประคับประคอง 19
CNEL พบได้น้อยในสุนัขจึงไม่มีงานวิจัยที่มากเพียงพอที่จะสร้างเป็นแนวทางในการรักษา ส่งผลให้ไม่มีการรักษาที่เป็นมาตรฐานสำหรับแมวที่ป่วยด้วย CNEL ถึงกระนั้นยังมีผลงานตีพิมพ์ที่จะช่วยเหลือสัตวแพทย์ในการตัดสินใจเลือกแนวทางรักษาที่เหมาะสม มีรายงานกรณีสัตว์ป่วย 2 รายที่ลงรายละเอียดการรักษาและผลที่ได้ แมวตัวหนึ่งได้รับการรักษาด้วยยา lomustine จนสามารถเข้าสู่ระยะปลอดโรคได้นานประมาณ 4 เดือน ในแมวอีกตัวได้รับการรักษาด้วยวิธี CHOP โดยสามารถประคองอาการให้คงที่อยู่ได้นานประมาณ 4 สัปดาห์ 514
การศึกษาย้อนหลังในแมว 23 ตัวที่ป่วยด้วย tarsal CNEL พบว่าแมวที่ได้รับการรักษาโดยใช้หลายวิธีร่วมกัน(ฉายรังสีและเคมีบำบัด)หรือการผ่าตัด(อาจร่วมกับการใช้เคมีบำบัดหรือไม่ก็ได้)ส่งผลให้มีอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยสูงกว่าการรักษาโดยใช้วิธีเดียว(ยากลุ่มสเตียรอยด์หรือเคมีบำบัด)อย่างมากที่ 316 วันและ 115 วันตามลำดับ 6 แมวที่กำลังรักษา CNEL ควรได้รับการรักษาโดยใช้หลายวิธีร่วมกันและมีการรักษาตามอาการอย่างเหมาะสม
ข้อมูลที่มีเกี่ยวกับ cutaneous lymphoma ในแมวนั้นมีน้อยมากทำให้ไม่สามารถคาดเดาถึงการพยากรณ์โรคได้ ในคนอัตราการรอดชีวิตขึ้นอยู่กับชนิดของ CTCL จากการวินิจฉัยตัวอย่างเช่น Sezary syndrome มีการพยากรณ์โรคแย่กว่า mycosis fungoides มาก(อัตราการรอดชีวิตเฉลี่ย 5 ปีอยู่ที่ร้อยละ 33 และ 89-93 ตามลำดับ) 3 การพยากรณ์ในคนสำหรับโรค CTCL ถือว่าค่อนข้างดี 15 สุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น CTCL ในระยะเริ่มต้นและรับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจมีระยะเวลารอดชีวิตนานกว่า 12 เดือน ในขณะที่สุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยตอนที่โรคลุกลามไปมากแล้วอาจอยู่ได้เพียง 6 เดือนโดยไม่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษา 19 ในแมวอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยสำหรับ CETL อยู่ที่ประมาณ 10 เดือน แต่สำหรับ CNEL จะแย่กว่าอยู่ที่ 4-8 เดือน 37
Cutaneous lymphoma เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ยากในแมว มีการตีพิมพ์ทางวิชาการเกี่ยวกับการแสดงออกของโรค การรักษา และการพยากรณ์โรคของทั้งสองรูปแบบน้อยมาก อย่างไรก็ตามกุญแจสำคัญในการจัดการกรณีที่สงสัยว่าแมวป่วยด้วยโรค cutaneous lymphoma คือการวินิจฉัยโรคให้ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเพื่อให้การพยากรณ์โรคดีขึ้น หากสามารถทำได้ควรตัดชิ้นเนื้อไปตรวจให้เร็วที่สุดในการวินิจฉัย การรักษาไม่ได้มีแบบแผนที่กำหนดไว้ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติม จากการทบทวนกรณีสัตว์ป่วยพบว่าแมวมักได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางระบบและนำหลายวิธีมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการรตอบสนองต่อการรักษาที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังควรทำการรักษาตามอาการเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของแมวโดยเฉพาะในรายที่ทำการรักษาประคับประคองอาการ
เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 10 ก.ย.-30 พ.ย. 2022
Roccabianca P, Avallone G, Rodriguez A, et al. Cutaneous lymphoma at injection sites: pathological, immunophenotypical, and molecular characterization in 17 cats. Vet Pathol 2016; 53(4):823-832.
Moore PF, Olivry T. Cutaneous lymphoma in companion animals. Clin Dermatol 1994;12(4):499-505.
Fontaine J, Heimann M, Day MJ. Cutaneous epitheliotropic T-cell lymphoma in the cat: a review of the literature and five new cases. Vet Dermatol 2011;22(5):454-461.
Schmidt V. Epitheliotropic T-cell cutaneous lymphoma in dogs. UK Vet Comp Anim 2011; 16(3):49-54.
Jegatheeson S, Wayne J, Brockley LK. Cutaneous non-epitheliotropic T-cell lymphoma associated with a fracture site in a cat. J Feline Med Surgery Open Reports 2018;4(1):1-6.
Burr HD, Keating JH, Clifford CA, et al. Cutaneous lymphoma of the tarsus in cats: 23 cases (2000-2012). J Am Vet Med Assoc 2014;244(12):1429-1434.
Miller Jr WH, Griffin CE, Campbell KL. Neoplastic and Non-Neoplastic Tumours. In: Duncan L, Rudolph P, Graham B, et al (eds). Muller and Kirk’s Small Animal Dermatology. 7th ed. Missouri: Elsevier Mosby, 2013;810-815.
Beatty J. Viral causes of feline lymphoma: retroviruses and beyond. Vet J 2014;201(2):174-180.
Tobey JC, Houston DM, Breur GJ, et al. Cutaneous T-cell lymphoma in a cat. J Am Vet Med Assoc 1994;204(4):606-609.
Scott DW. Feline Dermatology 1983-1985: “the secret sits”. J Am Anim Hosp Assoc 1987;23:255-274.
Wood C, Almes K, Bagladi-Swanson M, et al. Sézary syndrome in a cat. J Am Anim Hosp Assoc 2008;44(3):144-148.
Rook KA. Canine and feline cutaneous epitheliotropic lymphoma and cutaneous lymphocytosis. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2019;49(1):67-81.
Neta M, Naigamwalla D, Bienzle D. Perforin expression in feline epitheliotropic cutaneous lymphoma. J Vet Diagn Invest 2008;20(6):831-835.
Komori S, Nakamura S, Takahashi K, et al. Use of lomustine to treat cutaneous nonepitheliotropic lymphoma in a cat. J Am Vet Med Assoc 2005;226(2):237-239.
Knobler E. Current management strategies for cutaneous T-cell lymphoma. Clin Dermatol 2004;22(3):197-208.
Buchholz J, Heinrich W. Veterinary photodynamic therapy: a review. Photodiagnosis Photodyn Ther 2013;10(4):342-347.
Jones GW, Hoppe RT, Glatstein E. Electron beam treatment for cutaneous T-cell lymphoma. Hematol Oncol Clin North Am 1995;9(5):1057-1076.
Santoro D, Kubicek L, Lu B, et al. Total skin electron therapy as treatment for epitheliotropic lymphoma in a dog. Vet Dermatol 2017;28(2):246-e65.
De Lorimier LP. Updates on the management of canine epitheliotropic cutaneous T-cell lymphoma. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2006;36(1):213-228.
White SD, Rosychuk RA, Scott KV, et al. Use of isotretinoin and etretinate for the treatment of benign cutaneous neoplasia and cutaneous lymphoma in dogs. J Am Vet Med Assoc 1993;202(3):387-391.
Graham JC, Myers RK. Pilot study on the use of lomustine (CCNU) for the treatment of cutaneous lymphoma in dogs. In: Proceedings, 17th Annual Meeting Veterinary Internal Medicine Forum 1999;723.
Risbon RE, De Lorimier LP, Skorupski K, et al. Response of canine cutaneous epitheliotropic lymphoma to lomustine (CCNU): a retrospective study of 46 cases (1999-2004). J Vet Intern Med 2006;20(6):1389-1397.
Williams LE, Rassnick KM, Power HT, et al. CCNU in the treatment of canine epitheliotropic lymphoma. J Vet Intern Med 2006;20(1):136-143.
Moriello KA, MacEwen EG, Schultz KT. PEG-L-asparaginase in the treatment of canine epitheliotropic lymphoma and histiocytic proliferation dermatitis. In: Ihrke PJ, Mason IS, White SD (eds). Advances in Veterinary Dermatology Vol. 2. UK: Pergamon Press, 1993;293-299.
Vail DM, Kravis LD, Cooley AJ, et al. Preclinical trial of doxorubicin entrapped in sterically stabilized liposomes in dogs with spontaneously arising malignant tumours. Cancer Chemother Pharmacol 1997;39(5):410-416.
Hannah Lipscomb
Greater Manchester, สหราชอาณาจักร อ่านเพิ่มเติม
Filippo De Bellis
DVM, CertVD, Dip. ECVD, MRCVS, Davies Veterinary Specialists, Hertfordshire, สหราชอาณาจักร อ่านเพิ่มเติม
การที่เจ้าของแมวหลายคนกล่าวโทษว่าอาหารคือตัวการที่ทำให้แมวมีอาการทางผิวหนังนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่
การใช้ Elizabethan collar ในแมวมักทำเพื่อป้องกันการเกาจากอาการคัน แต่การสวมใส่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของแมว
สัตวแพทย์หญิง Christina Gentry ได้อธิบายถึงวิธีการในการวินิจฉัยแยกแยะและรักษาเมื่อพบรอยโรคบริเวณจมูกแมว
Cutaneous lymphoma ในแมวพบได้ยากแต่ถือเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต