ศาสตร์เกี่ยวกับความชราและแมวสูงอายุ
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มไขความลับของกระบวนการที่ทำให้เกิด...
หมายเลขหัวข้อ 30.2 Other Scientific
เผยแพร่แล้ว 31/03/2021
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English
Dr. Nancy De Briyne ได้อธิบายถึงคุณูปการของวิชาชีพสัตวแพทย์ในการพัฒนานโยบายที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพซึ่งจะช่วยเพิ่มมาตรฐานสุขภาพและสวัสดิภาพมนุษย์และสัตว์ทั่วโลก (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ของเชื้อดื้อยาปริมาณสูงมาก (AMR) และคาดการณ์ว่าจะส่งผลต่อการสาธารณสุขทั่วโลกในอนาคต
ในปัจจุบันสุนัขและแมวอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากขึ้น ทำให้โอกาสที่เชื้อแบคทีเรียที่สามารถติดจากสัตว์สู่คนแพร่กระจายจากสัตว์เลี้ยงไปยังเจ้าของง่ายขึ้น
อัตราของ AMR จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ class ของยาปฏิชีวนะ และเชื้อแบคทีเรีย แต่ทั้งหมดสร้างความตระหนกทั่วโลก
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ รวมถึงการลดใช้ยาต้านจุลชีพโดยรวมสามารถลดการเกิด AMR ได้
นับตั้งแต่มีการค้นพบยาต้านจุลชีพ ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายโดยมันได้สร้างคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์รวมไปถึงสวัสดิภาพสัตว์ด้วย อย่างไรก็ตามการค้นพบนี้ต้องแลกมากับการที่ยาต้านจุลชีพถูกใช้กันแพร่หลายมากเกินไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจนเกิดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาขึ้น (AMR) โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะมีผู้เสียชีวิตจาก AMR เป็นสาเหตุมากถึง 10 ล้านคนต่อปี 1 บทความนี้จะกล่าวถึงภาพรวมของการดื้อยาและสิ่งที่จะเกิดขึ้น นิยามของคำว่า ยาต้านจุลชีพ หมายรวมถึง ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อรา ยาต้านไวรัส และยาฆ่าโปรโตซัว ปัญหา AMR ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากยาปฏิชีวนะและในบทความนี้จะถือว่ายาต้านจุลชีพและยาปฏิชีวนะหมายความอย่างเดียวกัน
วิกฤติการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดคำถามต่อทุกแง่มุมของการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยเฉพาะการใช้ในสัตว์ที่เลี้ยงที่เป็นอาหาร กลุ่มของยาต้านจุลชีพที่ใช้ในสัตว์เป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในคนเกือบทั้งหมด ในหลายประเทศจึงตั้งข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์โดยเฉพาะในกลุ่มปศุสัตว์ บางกลุ่มอาจถึงกับโทษว่าสาเหตุหลักของปัญหา AMR ในคนเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์
>หลายประเทศมีการเริ่มติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยา 2 รวมถึงมีการติดตามปริมาณยาต้านจุลชีพที่ขายเพื่อใช้ในปศุสัตว์และคนผ่านเครือข่าย European Surveillance of Veterinary Microbial Consumption (ESVAC) และ European Surveillance of Antimicrobial Consumption Network (ESAC) 3 นอกจากนี้ประเทศอื่นๆในอเมริกาเหนือ โอเชียเนีย และเอเชียได้เริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพแล้วเช่นกัน
อัตราการดื้อยามีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ กลุ่มยาปฏิชีวนะ และเชื้อแบคทีเรียทั่วไปอย่าง E.coli Klebsiella Pseudomonas และ Staphylococcus 4 มักพบว่ามีอัตราการดื้อยาหนึ่งชนิดหรือมากกว่าค่อนข้างสูงและสร้างปัญหาในการรักษาอย่างมากโดยเฉพาะแก่ประชากรที่อยู่ในสังคมที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย (เด็กเล็ก, ผู้สูงวัย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง) แบคทีเรียอื่นๆเช่น Salmonella และ Campylobacter สามารถก่อให้เกิดโรคสัตว์สู่คนได้ การดื้อยาที่มากขึ้น (รูป 1) นำเรามาถึงจุดที่การรักษาโรคติดเชื้อทั่วไปทำได้ยากขึ้นหรือรักษาไมได้เลย โดยข้อมูลเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ ของเชื้อแบคทีเรียทั่วไปในสุนัขและแมวขาดการติดตามอย่างเป็นระบบ
ปริมาณยาต้านจุลชีพที่ขายเพื่อใช้ในภาคปศุสัตว์ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานนับทศวรรษในสหภาพยุโรป 5 มีการสนับสนุนให้ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีจรรยาบรรณและคำนึงถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะในการใช้เพื่อป้องกันโรค และมีความพยามยามที่จะกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่มีความเกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวการการใช้ยาต้านจุลชีพ ผลที่ได้คือการลดลงของการใช้ยาต้านจุลชีพโดยรวมในปศุสัตว์ของยุโรปลดลงถึง 32% ในช่วงหกปีที่ผ่านมา และบางประเทศสามารถลดลงได้มากกว่า 50% 5 ในสหรัฐอเมริกาสามารถลดการใช้ลงได้ 28% ตั้งแต่ปี 2009 6 เรื่องที่น่ายินดีอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการลดการใช้ยาต้านจุลชีพคือไม่เกิดผลกระทบที่ส่งผลเสียที่รุนแรงแก่สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพ และการผลิตโดยรวม
บางประเทศสามารถปฏิบัติได้มากกว่าแค่การเฝ้าติดตามข้อมูลการขายยาต้านจุลชีพ แต่รวมไปถึงการเก็บข้อมูลว่ายาต้านจุลชีพถูกใช้อย่างไร และเริ่มทำการเปรียบเทียบปริมาณยาที่ใช้ในแต่ละฟาร์มปศุสัตว์รวมไปถึงสัตวแพทย์แต่ละราย กฏหมายใหม่ของยุโรปว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสัตวแพทย์ที่เริ่มใช้ในปี 2019 6 กำหนดให้มีการเฝ้าติดตามยาต้านจุลชีพทุกตัวที่ใช้ในสัตว์รวมถึงสัตว์ที่เลี้ยงเป็นเพื่อนนับตั้งแต่ปี 2029 เป็นต้นไป 78 ทำโดยการรวบรวมข้อมูลยาต้านจุลชีพที่สั่งจ่ายโดยสัตวแพทย์ผ่านใบสั่งยา เหตุใดการเฝ้าติดตามการดื้อยาต้านจุลชีพในทางสัตวแพทย์ถึงได้ให้ความสนใจกับภาคปศุสัตว์มากกว่าภาคสัตว์เลี้ยงจนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้?
สุนัขและแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยง มีความแตกต่างจากปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารหลายประการ ประการแรกคือไม่ค่อยได้รับยาต้านจุลชีพบ่อยเท่าปศุสัตว์ และไม่ค่อยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่แบบไก่หรือหมูจึงไม่ค่อยได้รับเชื้อแบบติดในกลุ่ม สัตว์เลี้ยงจะได้รับยาต้านจุลชีพในกรณีที่เจ็บป่วยและได้รับเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณยาต้านจุลชีพโดยรวมที่ใช้ในสัตว์เลี้ยงกับปศุสัตว์ จะพบว่าในภาคสัตว์เลี้ยงมีการใช้น้อยกว่ามาก 5 อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ปริมาณสัตว์เลี้ยงได้เพิ่มมากขึ้น และเจ้าของหลายคนถือสัตว์เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของสามชิกในครอบครัว สุนัขและแมวมีความใกล้ชิดกับเจ้าของมากขึ้น 9 บางตัวนอนเตียงเดียวกันกับเจ้าของซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่แบคทีเรียที่ก่อโรคสัตว์สู่คนมีโอกาสติดจากสัตว์เลี้ยงไปยังเจ้าของได้มากขึ้นยกตัวอย่างเช่น สุนัขเป็นแหล่งของเชื้อ Campylobacter 10 และ Staphylococcus 11 ที่ก่อโรคในคน ดังนั้นความเสี่ยงที่เชื้อก่อโรคในคนจะได้รับยีนดื้อยาจากแบคทีเรียที่ดื้อยาบนตัวสัตว์เลี้ยง หรือการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาเองระหว่างคนและสัตว์เลี้ยงจะสูงมากกว่าปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงยังสามารถรับเอา MRSA (methicillin-resistant Staphylococcus aureus) 12 และ Staphylococcus 13 สายพันธุ์อื่นที่ดื้อยาจากคนที่เป็นพาหะได้อีกด้วย การแพร่ของเชื้อแบคทีเรียยังสามารถเป็นได้ทั้งสองทาง คือ จากสัตว์สู่คนและจากคนสู่สัตว์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล (รูป 2)
เจ้าของสัตว์เริ่มหันมาดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการนำสัตว์เลี้ยงไปยังสถานพยาบาลสัตว์มากขึ้นเพื่อรักษาและป้องกันโรค ทำให้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสได้รับยาต้านจุลชีพมากขึ้น สัตว์เลี้ยงมีโอกาสได้รับยาต้านจุลชีพที่มีความสำคัญ 14 มากกว่าสัตว์ชนิดอื่นส่งผลให้ปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงการดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์เลี้ยงด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพและการดื้อยาในสัตว์เลี้ยงมีเก็บไว้น้อยมาก ในสัตว์เลี้ยงไม่ได้มีการเฝ้าติดตามอัตราการดื้อยาของแบคทีเรียและแบคทีเรียที่ก่อโรคสัตว์สู่คนแบบที่ปฏิบัติในคนทำกันในหลายประเทศ การเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์เลี้ยงยังมีน้อย มีเพียงบางประเทศที่มีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพในสุนัขและแมว ทำให้ไม่มีภาพรวมของการใช้ยาต้านจุลชีพและการดื้อยาในสัตว์เลี้ยงทั่วโลก
Nancy De Briyne
การศึกษาเกี่ยวกับอัตราการดื้อยาของแบคทีเรียที่แยกได้จากสัตว์เลี้ยงให้ผลที่แตกต่างกัน ผลงานที่ตีพิมพ์อ้างอิงจากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นส่วนมาก โดยรายงานการดื้อยาที่พบมักมาจากสถานการณ์แย่ที่สุดที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งชี้ถึงความล้มเหลวในการรักษา แต่ในกรณีที่ประสบความสำเร็จในการรักษามักไม่มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ 9 บางรายงานกล่าวถึงการมีอัตราดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่บางรายงานกล่าวถึงการดื้อยาต้านจุลชีพบางกลุ่มที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเป็นผลมาจากความนิยมในการเลือกใช้ยาในขณะนั้น 15 ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2014 มีการศึกษาตัวอย่างเชื้อ Staphylococcus aureus จำนวน 14,555 ตัวอย่างที่แยกจากสุนัขและแมวในอังกฤษ พบการเพิ่มขึ้นของอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะ และยืนยันการพบ methicillin-resistance Staphylococcus pseudintemedius (MRSP) ในทางคลินิก 16 การศึกษาในสิงคโปร์ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างจากคลินิกสัตว์เลี้ยงช่วงปี 2014-2016 และแยกเชื้อแบคทีเรียออกมาได้ 359 สายพันธุ์ จากทั้งหมดมี 186 สายพันธุ์สามารถก่อโรคสัตว์สู่คน 17 มี 45% แสดงการดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด และ 18% แสดงการดื้อที่มี extended- broad spectrum beta lactamase อีกรายงานหนึ่งจากเบลเยียม อิตาลี และ เนเธอร์แลนด์ ทำการเก็บตัวอย่างจำนวน 303 ตัวอย่างและหาการดื้อยาของ Escherichia coli จำนวน 282 ตัวอย่าง และจากจำนวนนี้พบว่ามีการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างน้อยหนึ่งชนิดคิดเป็น 27% จาก 282 ตัวอย่าง 18
หากศึกษาที่สาเหตุการสั่งจ่ายยาต้านจุลชีพในสุนัขและแมว พบว่าสาเหตุในการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะในสุนัขของสัตวแพทย์ในยุโรป มักถูกจ่ายให้กับการรักษาโรคผิวหนังในกรณีแผล ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง (pyoderma) หูอักเสบ (otitis) การติดเชื้อระบบปัสสาวะ ปัญหาทางระบบหายใจ โรคเกี่ยวกับช่องปากและทางเดินอาหาร 19 ในกรณีของแมวมักจ่ายให้กับการรักษาโรคผิวหนังในกรณีแผล, dermatitis, pyoderma รวมถึงปัญหาระบบหายใจ ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ปัญหาเหงือกและช่องปาก นอกจากนี้ทวีปอื่นนอกยุโรปจะมีแนวทางในการจ่ายยาที่คล้ายคลึงกับที่กล่าวมา แต่การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเราสามารถลดการใช้ยาต้านจุลชีพในหลายกรณีที่กล่าวมาได้ เช่นการใช้ยาต้านจุลชีพในแมวที่มาด้วยปัญหาทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอาจไม่จำเป็นเสมอไป
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ประเทศเดนมาร์คเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบันทึกการใช้ยาต้านจุลชีพะในสัตว์ พบการลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์เลี้ยงลงประมาณ 10% ช่วงปี 2012 20 การศึกษาจากเนเธอร์แลนด์พบว่าการใช้ยาต้านจุลชีพลดลงเป็นอย่างมากตั้งแต่ปี 2012-2014 21 ถึงแม้ว่าการลดลงในแต่ละคลินิกรักษาสัตว์จะแตกต่างค่อนข้างมาก ตั้งแต่ลดลง 64 เท่า ในปี 2012 จนถึงลดลง 20 เท่าในปี 2014
การศึกษาร่วมระหว่างประเทศของเบลเยียม อิตาลี และเนเธอร์แลนด์จะอ้างอิงจากด้านบน 18 พบว่าโดยเฉลี่ยแมวและสุนัขจะได้รับยาต้านจุลชีพเป็นเวลา 1.8 และ 3.3 วันตามลำดับใน 1 ปี จุดสำคัญคือการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาต้านจุลชีพและการดื้อยาสรุปได้ว่าคุณภาพของยาที่ใช้สำคัญกว่าปริมาณ ภายในปี 2030 จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นเนื่องจากตั้งแต่ 2029 กฏหมายของ EU กำหนดให้ทุกประเทศสมาชิกจำเป็นต้องมีการติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งสุนัขและแมว 7
สัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีส่วนร่วมในการรับมือกับอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพได้ ในบางประเทศพบว่ามีการใช้ยาต้านจุลชีพลดลงอย่างมาก และตรวจพบว่ามีอัตราการดื้อยาที่ลดลงด้วย เช่นในเยอรมนีตรวจพบ MRSA ลดลงในปศุสัตว์ 22 สรุปได้ว่ากระบวนการดื้อยานี้สามารถแก้ไขได้ หลักการทั่วไปที่สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยในการลด AMR ได้แก่
World Veterinary Association (WVA) และ World Organization for Animal Health (OIE) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมในสัตว์จากทั่วโลกในปี 2019 เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในวิชาชีพสัตวแพทย์ 25 มีแนวทาง แผนการดำเนินงาน และสื่อต่างๆมากว่า 130 ชิ้นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม อาจมีไม่กี่เรื่องที่กล่าวถึงการใช้ยาในสุนัขและแมวโดยเฉพาะ (ตาราง1) แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อสัตวแพทย์ร่วมกับสื่ออื่นๆที่จัดทำโดย FECAVA และ FVE (รูป 5)
องค์กรหรือประเทศ | หัวข้อเอกสาร | ลิงค์สู่เว็บไซต์ |
---|---|---|
เบลเยียม |
Guidelines for use of antibiotics in dogs (ภาษาดัตช์หรือฝรั่งเศส) | https://formularium.amcra.be/a/2 |
เบลเยียม | Guidelines for use of antibiotics in cats (ภาษาดัตช์หรือฝรั่งเศส) | https://formularium.amcra.be/a/7 |
เดนมาร์ก |
Antibiotic Use Guidelines for Companion Animal Practice (ภาษาเดนิชหรืออังกฤษ) | https://www.ddd.dk/media/2175/assembled_final.pdf |
ฝรั่งเศส |
Leaflet to promote prudent use in dogs & cats (ภาษาฝรั่งเศส)
National plan for the reduction of the risks of antimicrobial resistance in veterinary medicine (ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสเปน)
|
|
นิวซีแลนด์ | Guidelines for the clinical use of antimicrobial agents in the treatment of dogs & cats (ภาษาอังกฤษ) | http://www.worldvet.org/uploads/docs/nzva_guideline_companion.pdf |
นอร์เวย์ | Guidelines on use of antibiotics in dogs and cats (ภาษานอร์เวย์) | https://bit.ly/2PicF23 |
สวีเดน |
Guidelines for the clinical use of antibiotics in the treatment of dogs and cats (ภาษาอังกฤษหรือสวีเดน) | https://www.svf.se/media/ahwpbt52/policy-ab-english-10b.pdf |
สวิตเซอร์แลนด์ |
Prudent Use of Antimicrobials in Dogs and Cats (ภาษาฝรั่งเศสหรือเยอรมัน) |
https://bit.ly/36uDndG(ภาษาฝรั่งเศส)
https://bit.ly/2LSiO31(ภาษาเยอรมัน)
|
สหรัฐอเมริกา | Basic Guidelines of Judicious Therapeutic Use of Antimicrobials (ภาษาอังกฤษ) | https://www.aaha.org/globalassets/02-guidelines/antimicrobials/aafp_aaha_antimicrobialguidelines.pdf |
FECAVA/FVE | Decision tree on responsible use antimicrobials | https://bit.ly/34olAne |
FECAVA/FVE | Recommendations for Appropriate Antimicrobial Therapy | https://bit.ly/2LSnIwQ |
FECAVA/FVE | Advice to Companion Animal Owners on Responsible Use of Antibiotics & Infection Control | https://bit.ly/36Bxds7 |
FVE |
Responsible use of antibiotics with advice for companion animals’ owners (ทุกภาษาที่ใช้ในสหภาพยุโรป) | https://www.fve.org/publications/fve-guidelines-responsible-use-of-antibiotics/ |
โดยสรุปแล้วยาต้านจุลชีพมีคุณประโยชน์มากมายต่อสวัสดิภาพของมนุษย์และสัตว์มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่อุบัติการณ์ของ AMR ทำให้สัตวแพทย์ต้องมีความตระหนักมากขึ้นเมื่อมีการสั่งจ่ายยาต้านจุลชีพ สัตวแพทย์ที่ทำงานในด้านการรักษาสัตว์เลี้ยงควรใช้ยาต้านจุลชีพเมื่อจำเป็น และปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาที่กำหนดไว้โดยผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด การวินิจฉัยสัตว์ป่วยอย่างละเอียดรอบคอบจะนำไปสู่การจ่ายยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม และการสื่อสารที่ดีระหว่างสัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์จะส่งผลให้การใช้ยาเป็นไปอย่างเหมาะสม
EFSA (European Food Safety Authority) and ECDC (European Centre for Disease Prevention and Control). The European Union summary report on antimicrobial resistance in zoonotic and indicator bacteria from humans, animals and food in 2017. EFSA J 2019;17(2):5598;278. doi.org/10.2903/j.efsa.2019.5598
European Surveillance of Veterinary Antimicrobial Consumption (ESVAC): https://www.ema.europa.eu/en/veterinary-regulatory/overview/antimicrobial-resistance/european-surveillance-veterinary-antimicrobial-consumption-esvac
European Surveillance of Antimicrobial Consumption Network (ESAC): https://www.ecdc.europa.eu/en/antimicrobial-consumption/surveillance-and-disease-data/report-protocol
Pires SM, Christensen J. Source attribution of Campylobacter infections in Denmark – technical report. Kgs. Lyngby: National Food Institute, Technical University of Denmark 2017
European Union. Regulation (EU) 2019/6 of the European Parliament and of the Council of 11 December 2018 on veterinary medicinal products and repealing Directive 2001/82/EC. Official J L 4, 7.1.2019;43-167. https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:32019R0006
Jessen LR, Sørensen TM, Lilja ZL, et al. Cross-sectional survey on the use and impact of the Danish national antibiotic use guidelines for companion animal practice. Acta Vet Scand 2017;59:81.
Hopman NEM, van Dijk MAM, Broens EM, et al. Quantifying antimicrobial use in Dutch companion animals. Front Vet Sci 2019;6:158.
European Medicines Agency. Advice on implementing measures under Article 57(3) of Regulation (EU) 2019/6 on veterinary medicinal products – Report on specific requirements for the collection of data on antimicrobial medicinal products used in animals. Ref. Ares (2019)5494385 – 30/08/2019. https://ec.europa.eu/food/sites/food/files/animals/docs/ah_vet-med_imp-reg-2019-06_ema-advice_art-57-3.pdf
Lloyd, DH. Reservoirs of antimicrobial resistance in pet animals. Clin Infect Dis 2007;45:S148-S152.
Nancy De Briyne
Dr. De Briyne graduated from Ghent University in 1996 and worked as a veterinary practitioner in both Belgium and the UK before moving to the อ่านเพิ่มเติม
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มไขความลับของกระบวนการที่ทำให้เกิด...
Natalie Marks ได้มีส่วนร่วมในโครงการที่จัดทำเพื่อช่วยให้สถานพยาบาลสัตว์มีความเหมาะสมในการรับแมวป่วย...
การจูงสุนัขเดินอาจดูเหมือนกิจกรรมทั่วๆ ไปในการเลี้ยงดูสุนัขแต่ในความจริงแล้ว...
Owners increasingly regard their pet as a family member and expect the best quality of care when they choose a veterinary clinic...