การเลี้ยงแมวในบ้านอย่างเหมาะสม
มนุษย์ได้ประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงช่วยลดความเครียด สร้างความแน่นอนในการใช้ชีวิต และทำให้สุขภาพดีขึ้น...
This article contains sensitive photo that may be harmful for young children
เผยแพร่แล้ว 07/02/2023
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English
คำถามที่ว่าเราควรให้อาหารแมวป่วยเมื่อใดนั้น โดยปกติแล้วควรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากแมวมีอาการเบื่ออาหาร (anorexia) หรืออาจมีอาการเบื่ออาหารนานกว่า 3 วัน ในลูกแมวหลังจากมีอาการเบื่ออาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมงควรได้รับการแก้ไขความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญ (major electrolyte abnormalities) เช่น ภาวะโพแทสเซียมสูงในกระแสเลือด (hyperkalemia) โดยทันทีหลังจากที่ค่าพารามิเตอร์ของระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular) และการไหลเวียนโลหิต (hemodynamic) อยู่ในภาวะเสถียร หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มให้อาหาร
• อาหารที่มีรสชาติดีและมีกลิ่นหอม
• อาจให้ขนมก่อนเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของแมว
• อาหารสูตรสัตว์ป่วยวิกฤติที่มีพลังงานสูงและมีปริมาณโปรตีนสูง
• อาหารควรอยู่ในอุณหภูมิห้อง
• ถ้าเป็นไปได้ควรให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร (enteral)
• ให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำแบบบางส่วน (partial parenteral nutrition) หากการได้รับสารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร (enteral nutrition) นั้นไม่สามารถให้พลังงานที่เพียงพอได้
• การให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) หากไม่สามารถให้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหารได้
• ให้อาหารที่มีความน่ากินสูง (high palatable food)
• สร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบและเป็นมิตรกับแมว เตรียมที่นอนที่นุ่มและอบอุ่น รวมถึงสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัวไว้ด้วย
• ต้องแน่ใจว่าแมวไม่อยู่ในภาวะเจ็บปวด โดยอาจจะให้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
• ในกรณีที่แมวมีภาวะคลื่นไส้ ควรให้ยาระงับการอาเจียน (anti-emetics) และยาเคลือบกระเพาะ (gastric protectants)
• ความอยากอาหารของแมวสามารถกระตุ้นได้ด้วยกลิ่น ดังนั้นควรทำความสะอาดจมูกของแมวหากมีน้ำมูกข้นเหนียวหรือสิ่งอื่นๆอุดตันบริเวณจมูกอยู่
• ต้องให้อาหารสดใหม่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้องเป็นประจำ
• อาจจะใช้ในกรณีที่วิธีการแบบเดิมไม่ได้ผล
• Cyproheptadine นั้นเป็นยาในกลุ่มยาต้านฮีสตามีนที่ตัวรับชนิด H1 (H1-antihisminic drug) ควรให้ในขนาดยา 1-4 มก./แมว ทุก 12-24 ชั่วโมง ทางการกิน
• Mirtazapine นั้นเป็นยาในกลุ่มยาเซโรโทนินที่มีฤทธิ์ต้านตัวรับ 5-HT3 (5-HT3 antagonist) ควรให้ในขนาดยา 3-4 มก./แมว ทุก 3 วัน ทางการกิน
• Benzodiazepines (เช่น midazolam) นั้นสามารถใช้เป็นตัวเลือกระยะสั้นได้หากยาตัวอื่นๆใช้ไม่ได้ผล โดยยากลุ่มนี้จะกระตุ้นความอยากอาการเมื่อใช้ในขนาดยาต่ำ 0.05 มก./กก. เข้าทางหลอดเลือดดำ แต่ก็จะทำให้มีอาการซึมได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเคยมีการรายงานว่าภายหลังจากให้ diazepam กับแมวพบว่าแมวมีภาวะตับวายได้ (hepatic failure)
• ในกรณีที่วิธีอื่นๆไม่ได้ผล ควรบังคับป้อนอาหาร (force feeding) ด้วยความระมัดระวังโดยใช้ไซริงก์ อาจลองวางอาหารลงบนอุ้งเท้าของแมวเนื่องจากแมวอาจจะเลียอาหารในขณะที่พยายามทำความสะอาดตัวเอง
• ควรให้อาหารทางสายยาง (feeding tube) ในกรณีที่แมวยังสามารถได้รับอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารได้ด้วยวิธีต่างๆ (enteral feeding) แต่ก็ยังได้รับพลังงานจากสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
• เป็นหัตถการที่ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องวางยาสลบ
• สามารถถอดสายยางออกได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
• สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
• เหมาะสมกับอาหารเหลว (liquid diets) เท่านั้น
• Feeding tube ขนาด 4.5-6 FG
• สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบของยาชา lidocaine
• วัสดุผูกเย็บ (suture material)
• คีมจับเข็ม (needle holder)
• กรรไกร (scissors)
• ทาสารหล่อลื่นบริเวณ lower nasal meatus และที่บริเวณปลายของสายยาง (รูปภาพที่ 1)
• วัดความยาวของสายยางตั้งแต่จมูกจนถึงช่องว่างระหว่างซี่โครงที่ 8 (8th interscostal space) จากนั้นทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยปากกาเคมี (รูปภาพที่ 2 และ 3)
• ค่อยๆสอดสายยางเข้าสู่ lower nasal meatus โดยบังคับทิศทางให้ปลายสายยางเข้าสู่ด้านล่างและตรงกลางลำตัว (ventro-medially) (รูปภาพที่ 4)
• ปล่อยให้แมวกลืนท่อโดยการบังคับให้แมวก้มคอลงเล็กน้อย แล้วสอดสายยางจนกว่าสัญลักษณ์ที่ทำไว้จะถึงบริเวณปลายจมูก (รูปภาพที่ 5)
• เย็บตรึงสายยางกับผิวหนังด้วยวิธี Chinese finger trap ทั้งนี้ให้เย็บปมที่ 2 ที่ระดับเดียวกับกรามบนหรือหน้าผาก (รูปภาพที่ 6)
• นอกจากการเย็บตรึงสายยางด้วยวัสดุผูกเย็บแล้วยังสามารถใช้กาวติดเนื้อเยื่อ (tissue glue) ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องระวังว่าเมื่อเอาสายยางออกอาจจะมีขนบางส่วนรวมไปถึงผิวหนังหลุดออกมาได้ด้วย
• ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางด้วยการถ่ายภาพรังสี
• ให้อาหารที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง
• ฟลัชล้างสายยางให้อาหารก่อนและหลังการให้อาหารด้วยน้ำสะอาด 2-3 มล.
• ให้เริ่มจากอาหารเป็นมื้อในระยะเวลาสั้นๆ (bolus feeding) ปริมาณน้อยก่อน (1-2 มล./กก. ทุก 2-4 ชั่วโมง)
• ควรให้อาหารแมว 1/3 เท่าของความต้องการพลังงานขณะพัก (resting energy requirement (RER)) ในวันแรก จากนั้นค่อยๆปรับเป็น 2/3 เท่าในวันที่ 2 และ 3/3 เท่าในวันที่ 3
• ค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารจนถึง 10 มล./กก. (หากแมวยอมรับอาหารได้)
• นอกเหนือจากการให้อาหารเป็นมื้อในระยะเวลาสั้นๆ (bolus feeding) แล้ว อาหารเหลวสามารถให้แบบต่อเนื่องด้วยอัตราเร็วคงที่ (constant rate infusion) 1-2 มล./กก./ชม. ได้เช่นเดียวกัน แต่หากใช้วิธีนี้ต้องล้างสายยางด้วยน้ำสะอาด ทุก 4-8 ชั่วโมง
*ความต้องการพลังงานขณะพักต่อวัน (daily RER) สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร น้ำหนัก (กก.) x 0.75 x 70 = RER (kcal)
เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 15 ก.พ. - 15 เม.ย. 2023
ทำเเบบทดสอบ VET-CERene Dorfelt
Dr. Dörfelt เข้าศึกษาที่ University of Leipzig ประเทศเยอรมัน อ่านเพิ่มเติม
มนุษย์ได้ประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงช่วยลดความเครียด สร้างความแน่นอนในการใช้ชีวิต และทำให้สุขภาพดีขึ้น...
การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า ...
การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า มีจุดประสงค์เพื่อ ...
นับตั้งแต่เมื่อ 50 ปีก่อนที่ได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคในแมวทั้งหมดซึ่งมีความยาวเพียง...