วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 26.2 Other Scientific

การแต่งขนมากเกินไปในแมว

เผยแพร่แล้ว 24/10/2022

เขียนโดย Kate Griffiths

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español และ English

การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า มีจุดประสงค์เพื่อการทำความสะอาด กำจัดปรสิตภายนอก และการปรับอุณหภูมิร่างกาย (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

การแต่งขนมากเกินไปในแมว

ประเด็นสำคัญ

ภาวะขนร่วงจากการแต่งขนมากเกินไปควรทำการแยกออกจากสาเหตุอื่นที่ทำให้ขนร่วงซึ่งต้องอาศัยกระบวนการวินิจฉัยอย่างเป็นระบบเพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่


การแต่งขนมากเกินไปมักมีสาเหตุจากอาการคันจากปรสิตภายนอกหรือภาวะภูมิไวเกิน(hypersensitivity)


สาเหตุของอาการคันควรได้รับการรักษาก่อนวินิจฉัยว่าเป็นภาวะขนร่วงที่เกิดจากจิต(psychogenic alopecia)


การแต่งขนมากเกินไปคืออะไร

การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า มีจุดประสงค์เพื่อการทำความสะอาด กำจัดปรสิตภายนอก และการปรับอุณหภูมิร่างกาย 1 อย่างไรก็ตามปัญหาการแต่งขนมากเกินไป(overgrooming)พบได้ทั่วไปในแมวโดยการเลียและจัดแต่งขนที่มากผิดปกติส่งผลให้ขนร่วง รอยโรคที่พบมักเกิดแบบสมมาตรบริเวณใต้ท้อง ด้านท้ายลำตัว ด้านในของขาหลัง และรอบก้น(รูป 1) แต่ก็สามารถพบขนร่วงได้ที่บริเวณด้านข้างท้องและบริเวณอื่น 2 (รูป 2) 
การแต่งขนที่มากเกินไปส่งผลให้ด้านใต้ท้องช่วงท้ายลำตัวเกิดภาวะขนร่วง

รูป1 การแต่งขนที่มากเกินไปส่งผลให้ด้านใต้ท้องช่วงท้ายลำตัวเกิดภาวะขนร่วง © Dr Stephanie Köbrich

การแต่งขนที่มากเกินไปส่งผลต่อเส้นขนและผิวหนังบริเวณ sacrum

รูป 2 การแต่งขนที่มากเกินไปส่งผลต่อเส้นขนและผิวหนังบริเวณ sacrum © Sarah Warren

Overgrooming เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะขนร่วงแบบสมมาตรในแมว (feline symmetrical alopecia; FSA) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของรูปแบบความผิดปกติของผิวหนังที่แมวแสดงออก รูปแบบที่เหลือได้แก่ คันบริเวณศีรษะและลำคอ eosinophilic granuloma complex และผิวหนังอักเสบมิลิเอริ (miliary dermatitis) ซึ่งทั้งหมดเป็นการตอบสนองต่อโรคที่ซ่อนอยู่ 3 (ตารางที่ 1) FSA มีชื่อเดิมว่าภาวะขนร่วงในแมวที่มีสาเหตุจากต่อมไร้ท่อ(feline endocrine alopecia) แต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าสาเหตุหลักนั้นเกิดจากอาการคัน 4

 

ตารางที่ 1 การวินิจฉัยแยกแยะสาเหตุของ feline symmetrical alopecia(ดัดแปลงจาก 2 5)
Overgrooming (self-inflicted hair loss) Spontaneous hair loss
Pruritus
Parasites 
­ Fleas 
­ Lice 
­ Demodex mites (D. gatoi
­ Cheyletiella mites
­ Otodectic mites
­ Notoedric/sarcoptic mites 
­ Neotrombicula (harvest mites) 
Dermatophytosis
Hypersensitivities 
­ Flea bite hypersensitivity
­ Dietary hypersensitivity
­ Environmental hypersensitivity
­ Drug reaction
Hyperthyroidism
Psychogenic alopecia
Pain, neurodermatitis, neuralgia (rare) 
Endocrinopathies 
Hyperadrenocorticism
Diabetes mellitus 
Hypothyroidism 
Paraneoplastic alopecia
Neoplasia 
Epitheliotropic T-cell lymphoma
Infections/ectoparasites 
Dermatophytosis 
Demodex mites 
 
Others 
Trichorrhexis nodosa
Degenerative mucinotic mural folliculitis
Telogen effluvium
Pseudopelade 
Alopecia areata
Excessive physiological shedding 

 

มีภาวะ overgrooming ด้วยหรือไม่

หากสัตวแพทย์พบกับแมวที่มาด้วยอาการ FSA ควรทำการตรวจเป็นขั้นตอนอย่างละเอียดเพื่อระบุว่าเป็นปัญหาจากovergrooming หรือเกิดจากขนหลุดร่วงเอง(spontaneous hair loss) ซึ่งเกิดได้ยากกว่า ทำได้โดยการซักประวัติ ตรวจผิวหนังและร่างกายอย่างละเอียด ทำการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

ในบทความนี้จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่ผู้เขียนบทความใช้ในกรณีที่พบ overgrooming แต่ขอแนะนำให้ผู้อ่านอ้างอิงตำราตจวิทยาสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะขนหลุดร่วงเองซึ่งมักต้องอาศัยการตรวจจุลพยาธิวิทยาและการทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม

ประวัติสัตว์ป่วยและอาการ

การซักประวัติอย่างละเอียดเป็นขั้นตอนแรกในการรักษาแมวที่มี overgrooming ที่น่าเศร้าคือแมวเป็นสัตว์ที่เก็บตัวทำให้เจ้าของอาจไม่สังเกตเห็น overgrooming หรือไม่สามารถบอกได้ว่าการแต่งขนที่แมวทำนั้นผิดปกติหรือไม่ แต่การที่แมวมีประวัติพบเส้นขนในอุจจาระ อาเจียนออกมาเป็นก้อนขน หรือการพบเจอเส้นขนปริมาณมากในบ้านทำให้เกิดข้อสงสัยได้ว่าเป็นการหลุดร่วงของเส้นขนที่เกิดจากแมวกระทำตนเอง

ข้อมูลที่ควรได้จากการซักประวัติได้แก่
รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของแมวและโอกาสในการปนเปื้อน
­ เจ้าของแมวมีการเลี้ยงสัตว์อื่นหรือไม่และสัตว์เหล่านั้นมีโรคผิวหนังหรือไม่
­ แมวมีการออกไปนอกบ้านหรือไม่ มีการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อมกับแมวตัวอื่น สุนัข เม่นแคระ หรือกระต่ายหรือไม่
­ แมวมีการแวะเวียนไปบ้านหลังอื่นหรือไม่ มีสัตว์เลี้ยงจากที่อื่นมาหาเจ้าของแมวหรือไม่
ประวัติการป้องกันปรสิตภายนอก
­ มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในความถี่ที่เหมาะสมแก่สัตว์ทุกตัวหรือไม่
­ มีการจัดการปรสิตในสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมหรือไม่
รายละเอียดเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่แมวเคยเป็น ผลต่อการรักษา แมวดูคันหรือไม่
รายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพภายในของแมว
มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่มาจากความเครียดหรือไม่ เช่นการขับถ่ายปัสสาวะ/อุจจาระไม่เป็นที่
มีสาเหตุของความเครียดที่สังเกตได้ชัดหรือไม่เช่น การเลี้ยงแมวหลายตัวในบ้าน การเปลี่ยนแปลงในบ้าน

ข้อมูลยังสามารถได้จากลักษณะของแมวยกตัวอย่างเช่นภาวะภูมิไวเกินมักเกิดในสัตว์ที่เริ่มโตแล้ว แต่การแพ้อาหารสามารถเกิดที่ช่วงอายุใดก็ได้ เนื้องอกและโรคทางระบบพบได้บ่อยกว่าในแมวที่อายุมาก แมวพันธุ์ Persia มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อราง่าย ในขณะที่แมวจากซีกโลกตะวันออกมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขนร่วงที่มาจากอาการทางจิต 6

การตรวจทางคลินิก

การตรวจทางคลินิกอย่างสมบูรณ์ทำเพื่อการหาร่องรอยของโรคทางระบบซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ขนร่วงเองได้

ขนในบริเวณที่ผิดปกติซึ่งให้ความรู้สึกเป็นตอและเปราะหักมักเกิดจากการแต่งขนที่มากเกินไป รอยโรคอื่นที่สัมพันธ์กับอาการคัน ภูมิแพ้ หรือปรสิตภายนอกเช่นรอยแผลเกา ผิวหนังอักเสบมิลิเอริ หรือ eosinophilic granuloma complex เป็นการสนับสนุนข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะ overgrooming(รูป 3) รวมไปถึงการพบปรสิตภายนอกอย่างเช่นหมัด เหา และไร แต่ภาวะขนร่วงที่เกิดบริเวณที่ลิ้นแมวไปไม่ถึงและขนที่สามารถถอนได้โดยง่ายบอกถึงแนวโน้มของขนที่หลุดร่วงเอง

การตรวจเพิ่มเติมทำได้โดยวิธี trichogram ซึ่งมีประโยชน์ในการแจ้งเจ้าของว่าแมวน่าจะมีภาวะ overgroomingมากกว่าจะเกิดขนหลุดร่วงเอง ทำการดึงเส้นขนจากบริเวณรอยโรคด้วย forceps จากนั้นวางเรียงกันใน liquid paraffin หรือ mineral oil ปิดทับด้วย cover slip แล้วส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงและต่ำ ปลายขนที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุมหรือแตกปลายสอดคล้องกับภาวะ overgrooming(รูป 4) แต่หากพบปลายขนที่แหลมเรียวจะมีโอกาสเป็นขนที่หลุดร่วงเองมากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถดูที่บริเวณรากขนได้อีกด้วย แมวปกติจะมีรากขนที่มีลักษณะ anagen ร้อยละ 10-20 และลักษณะ telogen อีกร้อยละ 80-90 (รูป 5 และ 6) หากพบว่าตัวอย่างมีภาวะ telogen ทั้งหมดมีโอกาสที่ภาวะขนร่วงเกิดจากการหลุดร่วงเอง ซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ telogen effluvium หรือโรคทางระบบอื่นๆ

การตรวจวินิจฉัยการ overgrooming ควรทำอย่างไร

เมื่อยืนยันได้ว่าแมวมีภาวะ overgrooming สิ่งสำคัญคือการหาสาเหตุเพื่อการจัดการอย่างเหมาะสม

ตรวจหาปรสิตภายนอกและการติดเชื้อ

ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากเพราะการแพ้น้ำลายหมัดเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการคันในแมว 7 

ปรสิตภายนอก : ทำการแปรงขนแมวโดยมีกระดาษขาวแผ่นใหญ่รองด้านใต้เพื่อหาการมีอยู่ของหมัด อุจจาระหมัด และเหา สิ่งที่แปรงได้จากเส้นขนและการขูดผิวหนังควรทำการตรวจด้วยการหยด liquid paraffin แล้วส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อหาไร Cheyletiella Otodectes Demodex บางครั้งอาจพบ Notoedres และ Sarcoptes ซึ่งพบได้ยากกว่า การทำ trichogram อาจพบไข่ของเหาและ ไร Cheyletiella บนเส้นขนได้(รูป 7)

Demodex gatoi ซึ่งเป็นไรขี้เรื้อนขุมขนที่มีลักษณะท้องยาวป้าน (รูป 8) สามารถพบได้ในบางพื้นที่และก่อให้เกิดovergrooming ในแมว ไรชนิดนี้ต่างจาก D. cati โดยอาศัยอยู่ที่ชั้นผิวด้านนอกสุดทำให้อาจพบได้จากการทำ scottape technic รวมถึงการขูดตรวจผิวหนังชั้นตื้น จากการที่ไรชนิดนี้มีขนาดเล็กและโปร่งแสงจึงควรส่องตรวจตัวอย่างที่กำลังขยาย 10 เท่า และลดความเข้มของแสงเพื่อลดโอกาสผิดพลาดในการมองหา อย่างไรก็ตามผลลบลวงอาจเกิดได้จากการกำจัดปรสิตผ่านการเลียของแมวจึงควรขูดเก็บตัวอย่างผิวหนังจากบริเวณที่ไม่มีรอยโรคขนร่วงซึ่งแมวเลียไม่ถึง นอกจากนี้โรคนี้ยังสามารถติดต่อได้ จึงควรทำการตรวจวินิจฉัยแมวที่ไม่แสดงอาการแต่มีการสัมผัสกับแมวป่วยเช่นกัน ไรอาจพบได้ในอุจจาระจากการถูกกินขณะที่แมวแต่งขน หากสงสัยไร D. gatoi แต่ไม่ตรวจไม่พบ สามารถทดลองรักษาไปก่อนได้โดยการใช้ lime sulfur dip ความเข้มข้นร้อยละ 2 สัปดาห์ละครั้งติดต่อกัน 3 ครั้งกับแมวทุกตัวที่มีประวัติการสัมผัส หากไม่มียานี้สามารถใช้ ivermectin โดยการกินขนาด 0.2-0.3 mg/kg q24-48h ได้แต่ยานี้ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในแมวทั้งยังมีความเสี่ยงต่อระบบประสาท 8  9  10

 
 ภาวะขนร่วงจากการ overgrooming ที่บริเวณด้านใต้ท้องและด้านในของขาหลัง สังเกตรอยโรคที่เกิดร่วมกันได้แก่ ตุ่มแดง (erythematous papule) และรอยเกาซึ่งในแมวตัวนี้มีสาเหตุจากภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม (feline atopy)

รูป 3 ภาวะขนร่วงจากการ overgrooming ที่บริเวณด้านใต้ท้องและด้านในของขาหลัง สังเกตรอยโรคที่เกิดร่วมกันได้แก่ ตุ่มแดง (erythematous papule) และรอยเกาซึ่งในแมวตัวนี้มีสาเหตุจากภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม (feline atopy) © Sarah Warren

ลักษณะขนแตกปลายที่เกิดจากการแต่งขนมากเกินไป

รูป 4 ลักษณะขนแตกปลายที่เกิดจากการแต่งขนมากเกินไป © Kate Griffiths

รากขนที่อยู่ในระยะ anagen มีรูปร่างกลมมนคล้ายกระบองและอาจมีเม็ดสีสะสม(ส่องด้วยกำลังขยาย 40 เท่า)

รูป 5 รากขนที่อยู่ในระยะ anagen มีรูปร่างกลมมนคล้ายกระบองและอาจมีเม็ดสีสะสม(ส่องด้วยกำลังขยาย 40 เท่า) © Kate Griffiths

รากขนที่อยู่ในระยะ telogen  มีรูปร่างแหลมคล้ายหอกและไม่มีเม็ดสีมาสะสม(ส่องด้วยกำลังขยาย 40 เท่า)

รูป 6 รากขนที่อยู่ในระยะ telogen มีรูปร่างแหลมคล้ายหอกและไม่มีเม็ดสีมาสะสม(ส่องด้วยกำลังขยาย 40 เท่า) © Credit Kate Griffiths

ไข่เหาติดอยู่ที่เส้นขน (ส่องด้วยกำลังขยาย 100 เท่า)

รูป 7 ไข่เหาติดอยู่ที่เส้นขน (ส่องด้วยกำลังขยาย 100 เท่า) © Kate Griffiths

Demodex gatoi

รูป8 ไรขี้เรื้อน Demodex gatoi (ส่องด้วยกำลังขยาย 100 เท่า) © Steve Waisglas

อนทำการตรวจวินิจฉัยควรแจ้งเจ้าของถึงโอกาสในการได้ผลลบลวงด้วย ดังนั้นหากตรวจไม่พบปรสิตก็ควรทำการทดลองป้องกันปรสิตภายนอกต่อเนื่องอย่างน้อย 12 สัปดาห์ เพื่อกำจัดหมัดและไรต่างๆ โดยใช้ยาหยอดหลังที่มีตัวยา selamectin หรือ imidacloprid/moxidectin กับแมวทุกตัวและสุนัขที่ใกล้ชิดกับแมวที่สงสัยว่าป่วยซึ่งมักให้การตอบสนองที่ดีต่อยาถึงแม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้เพื่อกำจัดไรในแมว 

การจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่กันโดยการใช้สเปรย์ฆ่าปรสิตตัวเต็มวัยและการใช้สารยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงนั้นมีความสำคัญมากแต่มักถูกมองข้ามไป บริเวณนอกบ้านที่แมวออกไปสำรวจหรือใช้เวลาทำกิจกรรมเช่นในรถ นอกอาคาร และตะกร้าแมวควรได้รับการกำจัดปรสิตเช่นกัน การกำจัดปรสิตควรทำซ้ำทุก 4-8 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการออกฤทธิ์ของสารที่ใช้ เพราะดักแด้ที่ไม่ได้รับผลจากสารเคมีอาจใช้เวลานานถึง 3 เดือนก่อนที่จะฟักตัว ดังนั้นการใช้ยาฆ่าแมลงซ้ำจะช่วยเพิ่มโอกาสในการฆ่าหมัดก่อนที่จะกัดแมวได้ สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือหากแมวยังคงออกไปนอกบ้านอาจมีการติดหมัดซ้ำ ทำให้ไม่สามารถป้องกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแมวไปสัมผัสกับสัตว์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้รับการป้องกัน อย่างไรก็ตามอาจต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่แมวอาจเกิดความเครียดจากการถูกกักตัวในบ้าน

หากพบว่าอาการดีขึ้นควรทำการป้องกันและกำจัดหมัดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถย้ำเตือนเจ้าของถึงนัดป้องกันปรสิตภายนอกด้วยอีเมล์หรือส่งข้อความทางโทรศัพท์เพื่อกระตุ้นความร่วมมือจากเจ้าของแมว 11

การติดเชื้อ : การส่องตรวจขนด้วยโคมไฟแสง ultraviolet เพื่อหาเชื้อราควรเปิดโคมไฟทิ้งไว้อย่างน้อย 5 นาทีก่อนส่องเพื่ออุ่นเครื่องก่อน โอกาสการเกิดผลลบลวงด้วยวิธีนี้พบได้บ่อยจึงควรทำการเก็บตัวอย่างส่งเพาะเชื้อราหากสงสัยโดยวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บตัวอย่างคือใช้แปรงสีฟันปลอดเชื้อแปรงบริเวณรอยโรคส่งไปยังห้องปฏิบัติการพร้อมกับเส้นขนรอบรอยโรคที่เก็บด้วยปากคีบปลอดเชื้อ

การตรวจเซลล์อาจพบแบคทีเรียหรือยีสต์ Malassezia ด้วยการใช้เทปใสหรือสไลด์แปะลงบนรอยโรคซึ่งมักเป็นการติดเชื้อแบบทุติยภูมิที่มีสาเหตุอื่นซ่อนอยู่แต่ต้องทำการรักษาเช่นกัน

หากตรวจไม่พบการติดเชื้อหรือไรขี้เรื้อนขุมขนและแมวแสดงอาการคันมากอาจให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ในช่วงแรกของการทดลองรักษาปรสิตภายนอกโดยใช้ prednisolone ชนิดกินขนาด 1-2 mg/kg/q24h จากนั้นทำการลดขนาดลงจนได้ขนาดที่ยังออกฤทธิ์กดการคันได้เมื่อให้วันเว้นวัน เมื่อจบการทดลองรักษาแล้วควรหยุดยาเพื่อดูผลของการป้องกันปรสิตภายนอกเพียงอย่างเดียว

การแพ้ยา

สัตวแพทย์ไม่ควรมองข้ามสาเหตุจากการแพ้ยาและซักประวัติการได้รับยาของแมวพร้อมทั้งงดการใช้ยาที่สงสัยว่าอาจก่อให้เกิดการแพ้ โดยทำไปพร้อมกันกับขั้นตอนด้านบนที่ได้กล่าวมาแล้ว

การวินิจฉัยภาวะภูมิไวเกิน

หากพบว่าแมวยังคงแสดงอาการ overgrooming ถึงแม้ว่าจะกำจัดสาเหตุจากปรสิตภายนอกและการติดเชื้อออกหมดแล้ว สัตวแพทย์ควรมุ่งมาที่การวินิจฉัยภาวะภูมิไวเกินหรือภูมิแพ้อาหารและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการซักประวัติอาจพบความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่บ่งชี้ว่ามีแนวโน้มว่าแพ้อาหารแต่อาจไม่มีอาการเสมอไป และอาการที่แสดงออกของการแพ้อาหารและสิ่งแวดล้อมอาจเหมือนกันได้

การแพ้อาหาร : การทดสอบการแพ้อาหารในห้องปฏิบัติการนั้นยังมีข้อสงสัยด้านความแม่นยำ 12 ทำให้การทดสอบอาหารด้วยการจำกัดวัตถุดิบอย่างเคร่งครัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์เหมาะสมมากว่าในทางปฏิบัติ เดิมนิยมใช้อาหารปรุงเองโดยใช้โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งที่แมวไม่เคยได้รับแต่ในปัจจุบันนิยมใช้เป็นรูปแบบอาหารสำเร็จรูปมากขึ้นเนื่องจากมีความสะดวกและมีสารอาหารที่สมดุลย์ อย่างไรก็ตามควรเลือกใช้อาหารที่บอกแหล่งที่มาชัดเจนซึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นในอาหารสำเร็จรูปบางยี่ห้อที่วางจำหน่ายในร้านขายอาหารสัตว์โดยใช้คำโฆษณาว่า hypo-allergenic 13 นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ทำจากไฮโดรไลซ์โปรตีน เมื่อรวมกับความคิดเห็นว่าสัตว์บางตัวอาจกลับมาแพ้อาหารซ้ำได้อีกจึงแนะนำให้ใช้อาหารที่ทำจากไฮโดรไลซ์โปรตีนซึ่งมาจากแหล่งที่แมวไม่เคยได้รับหากทำได้ 14 15 

การทดสอบอาหารในแมวอาจเป็นเรื่องยากที่จำเป็นต้องมีปรับลดความเคร่งครัดลงในบางกรณี หากแมวปฏิเสธที่จะกินอาหารเพียงชนิดเดียว ผู้เขียนบทความแนะนำให้วางอาหารที่เหมาะสมมากกว่าหนึ่งชนิดเพื่อเพิ่มความหลากหลาย แมวหลายตัวยังมีพฤติกรรมการกินทีละน้อยตลอดทั้งวันจึงอาจจำเป็นต้องให้อาหารชนิดเดียวกันแก่แมวทุกตัวในบ้าน แมวควรถูกจำกัดบริเวณให้อยู่แต่เพียงในบ้านเหมือนกับการป้องกันปรสิตภายนอกเพื่อป้องกันการได้รับอาหารจากแหล่งอื่น หากว่าการจำกัดบริเวณทำได้ยากหรือสร้างความเครียดแก่แมวอาจต้องมีมาตรการเพื่อลดความผิดพลาดในการทดสอบอาหารเช่น การฝากอาหารที่ใช้ทดสอบไว้กับเพื่อนบ้านในบริเวณใกล้เคียงกรณีแมวไปขออาหาร แต่เจ้าของแมวต้องยอมรับถึงข้อจำกัดและผลที่ลดลงของการทดสอบอาหารเช่นกัน

หากอาการคันลดลงหลังจากทดสอบอาหารได้ 6-8 สัปดาห์ ควรให้อาหารที่จำกัดวัตถุดิบนั้นต่อไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือนร่วมกับการป้องกันปรสิตภายนอกอย่างเคร่งครัดเพื่อให้แน่ใจว่าผลการรักษาที่ได้นั้นแท้จริง อย่างไรก็ตามควรทดลองให้แมวกลับไปกินอาหารชนิดเดิมเพื่อดูการกลับมามีภาวะ overgrooming ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าแมวป่วยด้วยโรคภูมิแพ้อาหาร จากนั้นกินอาหารจำกัดวัตถุดิบอีกครั้งจน overgrooming หายไปแล้วทำการเลือกอาหารที่เหมาะสมที่จะใช้กับแมวในระยะยาว อาหารที่เลือกใช้อาจเป็นอาหารจำกัดวัตถุดิบที่ใช้ทดสอบได้หากว่ามีสารอาหารครบถ้วนหรืออาจเป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอาหารทดสอบมากที่สุด อีกทางเลือกหนึ่งคือการระบุวัตถุดิบที่เป็นสารก่อภูมิแพ้โดยการทดลองให้แมวกินวัตถุดิบแต่ละชนิด ทุก7-14 วัน จากนั้นจึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดการแพ้

หากแมวไม่กลับมามีอาการแพ้อีกหลังกินอาหารชนิดเดิมอาจหมายความว่าอาการแพ้นั้นเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่มาตามฤดูกาลซึ่งแมวอาจกลับมาแสดงอาการอีกครั้งในปีถัดไป

ในช่วงแรกของการทดสอบอาหารอาจใช้สเตียรอยด์ร่วมได้เหมือนกับในการป้องกันปรสิตภายนอกแต่ควรลดขนาดยาจนสามารถหยุดยาได้ในช่วงท้ายของการทดสอบอาหารเพื่อดูผลจากการคุมอาหารเพียงอย่างเดียว หากอาการไม่ดีขึ้นหลังการทดสอบอาหารมีแนวโน้มว่าแมวจะมีสาเหตุของการแพ้มาจากสิ่งแวดล้อม

ภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม (atopy): เป็นสาเหตุที่ของอาการคันในแมวพบได้มากที่สุดอันดับสอง 7 และการวินิจฉัยที่เหมาะสมต้องทำเป็นขั้นตอนตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การทดสอบ intradermal allergy testing และการตรวจหาซีรั่ม IgE ไม่สามารถใช้ในการวินิจฉัยได้ว่าสัตว์ตัวนี้เป็นโรค atopy หรือไม่ จากการที่อาจพบผลบวกลวงและผลลบลวงได้16 17 18 นอกจากนี้การทดสอบ intradermal allergy test ในแมวยังอ่านผลได้ยาก ส่วนการตรวจหา IgE นั้นถึงแม้จะทำได้ง่ายกว่าแต่ไม่แม่นยำเท่ากับในสุนัข 19 20

หลังจากที่สามารถวินิจฉัยได้ว่าแมวเป็นโรค atopy แล้ว หนทางในการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความต้องการของเจ้าของ และสภาพแมว การรักษาด้วยภูมิบำบัดหรือ allergen-specific immunotherapy สามารถทำในแมวได้แต่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงมากเท่าในสุนัข  18 21 ตัวเลือก allergen ที่จะนำมาใช้ขึ้นอยู่กับผล intradermal testing หรือซีรั่ม IgE โดยมีข้อจำกัดตามด้านบน ทางเลือกอื่นในการรักษาคือการรักษาตามอาการโดยปรับตามการควบคุมอาการคันและปัจจัยที่ทำให้อาการรุนแรงเช่น หมัด หรือ การติดเชื้อแบคทีเรียแบบทุติยภูมิ ส่วนการพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้(allergen)นั้นทำได้ยากมากในการปฏิบัติ

ทางเลือกในการควบคุมอาการคัน

อาการคันสามารถควบคุมและบรรเทาได้ด้วยการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ciclosporin หรือแอนตี้ฮิสตามีน ในสมัยก่อนมีการใช้ยา megestrol acetate ซึ่งได้เลิกใช้ไปเพราะมีตัวยาอื่นซึ่งปลอดภัยกว่า 22

ยากลุ่มสเตียรอยด์

การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ควรใช้รูปแบบการกินเพื่อที่จะสามารถลดขนาดยาให้ต่ำที่สุดที่ยังสามารถออกฤธิ์ได้ดีเพื่อการใช้ในระยะยาว(ตาราง 2) ในแมวนิยมให้ prednisolone มากกว่า prednisone เพราะสามารถถูกเมตาบอไลซ์ได้ดีกว่า สเตียรอยด์ชนิดฉีดเช่น methylprednisolone acetate อาจจำเป็นในกรณีที่แมวไม่สามารถให้ยาทางปากได้แต่ควรเตือนเจ้าของถึงผลข้างเคียงระยะยาวของการใช้ยา

 

ตารางที่ 2 ยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบที่นิยมใช้ในแมว(ดัดแปลงจาก 3 22)
Oral glucocorticoid Initial dose Taper to
Prednisolone or methylprednisolone 1-2 mg/kg Q24h 0,5-1,0 mg/kg Q48h
Dexamethasone 0,1-0,2 mg/kg Q48-72h 0,05-0,1 mg/kg Q48-72h or less
Triamcinolone 0,1-0,2 mg/kg Q24h 0,05-0,1 mg/kg Q48-72h
 
ยา ciclosporin

Ciclosporin ได้ถูกขึ้นทะเบียนเพื่อการใช้รักษาผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ในแมว (feline allergic dermatitis) สำหรับหลายประเทศหากว่าผ่านการตรวจคัดกรองโรค FeLV FIV และ toxoplasmosis แล้ว ขนาดเริ่มต้นคือ 7 mg/kg q24h สามารถลดขนาดได้ใน 4-6 สัปดาห์เป็นวันเว้นวัน บางตัวสามารถลดขนาดลงได้ถึงเพียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (รูป 9 และ 10)

 

Kate Griffiths

เมื่อพบกับแมวที่มาด้วยภาวะขนร่วงแบบสมมาตร สิ่งสำคัญคือการตรวจวินิจฉัยอย่างเป็นระบบขั้นตอนเพื่อหาว่ามีสาเหตุจาก overgrooming หรือจากขนร่วงด้วยตนเองซึ่งพบได้ยากกว่า

Kate Griffiths

overgrooming ที่เกิดจากภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม

รูป 9 overgrooming ที่เกิดจากภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม © Paul Sands

แมวตัวเดียวกันกับในรูป 9 หลังได้รับยา ciclosporin เป็นเวลา 11 สัปดาห์

รูป 10 แมวตัวเดียวกันกับในรูป 9 หลังได้รับยา ciclosporin เป็นเวลา 11 สัปดาห์ © Paul Sands

ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน

ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีนหากให้ร่วมกับอาหารเสริมกรดไขมันจำเป็นอาจช่วยบรรเทาอาการในรายที่มีอาการน้อยได้ นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดการใช้ยาสเตียรอยด์เมื่อใช้คู่กับ prednisolone ยากลุ่มนี้แม้ว่าจะไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในแมวได้แต่มีรายงานว่ามีผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรง ยาที่ได้ผลดีที่สุดคือ chlorpheniramine ขนาด 2-4 mg/ตัว q12h 3

ยา oclacitinib 

Oclacitinib ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในแมวแต่มีการศึกษานำร่องโดยไม่มีกลุ่มควบคุมถึงประสิทธิภาพการใช้ยาในแมว 12 ตัวที่มาด้วยอาการภูมิแพ้สิ่งแวดล้อมซึ่งแสดงออกต่างกันไปพบว่ามี 5 ตัวที่ตอบสนองต่อการรักษาได้ดี 23 ถึงแม้ว่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในอนาคต หากผู้เขียนบทความต้องการต้องการจ่ายยานี้ภายใต้กฏหมายของประเทศจำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดของยาที่เหมาะสมและความปลอดภัยในการใช้ระยะยาวในแมว

 

สาเหตุอื่นของภาวะ overgrooming

สาเหตุบางประการอาจถูกมองข้ามไปได้เมื่อทำการตรวจวินิจฉัยภาวะ overgrooming ในแมว

Psychogenic alopeciaหรือภาวะขนร่วงที่มีสาเหตุทางจิต : ในบางกรณีนั้นสาเหตุของ overgroomimg อาจไม่ได้มาจากอินทรียวัตถุหรืออาจยังคงอยู่ถึงแม้ว่าจะจัดการกับสาเหตุอินทรียวัตถุนั้นแล้ว อาจเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ถูกกระตุ้นโดยความเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนมากเกิดขึ้นในแมวที่อาศัยอยู่ภายในบ้านรวมกับแมวอื่น 24 และแมวที่มาจากซีกโลกตะวันออก การซักประวัติอย่างละเอียดอาจทำให้ทราบถึงที่มาของความเครียดหรือสัญญาณอื่นที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเช่นการขับถ่ายไม่เป็นที่ 25 การไม่ตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ในขนาดที่ลดการอักเสบยังเป็นอีกหนึ่งข้อสนุบสนุนความน่าจะเป็นของ psychogenic alopecia 26 แต่สิ่งสำคัญคือการตัดข้อสงสัยสาเหตุจากการเจ็บป่วยเพื่อป้องกันการวินิจฉัยพลาด ในการศึกษาหนึ่งพบว่าแมว 16 จาก 21 ตัวที่ส่งต่อมาเพื่อรักษา psychogenic alopecia แท้จริงแล้วมีปัญหาสุขภาพอื่นซ่อนอยู่ 27 หากสุดท้ายแล้วแมวได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น psychogenic alopecia จริงจำเป็นต้องระบุแหล่งที่มาของความเครียดเพื่อที่จะได้ทำการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและ/หรือพฤติกรรมอย่างเหมาะสม 25 ซึ่งอาจต้องอาศัยสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมและการเฝ้าสังเกตแมวในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เครื่องพ่นฟีโรโมนอาจช่วยได้แต่บางกรณีอาจต้องได้รับยา ยาที่มีรายงานว่าได้ผลมากที่สุดคือ clomipramine ขนาด 0.5 mg/kg q24h เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์และอาจเพิ่มขนาดเป็น 1 mg/kg q24h หากจำเป็น ยังมีตัวยาอื่นในกลุ่ม tricyclic antidepressants selective serotonin reuptake inhibitors และ benzodiazipines ถูกนำมาใช้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น fluoxetine ขนาด 0.5-1 mg/kg q24h amitriptyline ขนาด 0.5-1 mg/kg q12-24h และ diazepam ขนาด 0.2-0.4 mg/kg q12-24h แต่ยาเหล่านี้ไมได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในแมวโดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก 26 28 29

Feline hyperesthesia: หรือภาวะความรู้สึกมากเกินในแมวมักแสดงออกในรูปแบบการแทะและเลียที่ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณสีข้าง สะโพก หาง และรอบทวารหนัก มักพบร่วมกับอาการอื่นเช่นผิวหนังสั่นพลิ้ว กล้ามเนื้อกระตุก การวิ่ง กระโดด และร้องเรียก ซึ่งมีสาเหตุเดียวกันกับ feline psychogenic alopecia นั่นคือความเครียดทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม 28

ความเจ็บปวด ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง(neurodermatitis) โรคปวดเส้นประสาท(neuralgia) : เป็นกลุ่มโรคที่พบได้ยากโดยภาวะ overgrooming อาจเกิดเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวดหรือความไม่สบายตัวจากอวัยวะที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงโรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างหากพบว่าแมวเลียใต้ท้องส่วนท้ายลำตัว 2

สรุป

ภาวะ overgrooming ในแมวพบได้บ่อยและมีสาเหตุการเกิดได้มากมาย การตรวจวินิจฉัยสาเหตุอย่างเป็นระบบขั้นตอนจะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จได้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสัตวแพทย์และสัตว์ป่วย

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 1 พ.ย. - 31 ธ.ค. 2022


ทำแบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Eckstein R, Hart B. The organization and control of grooming in cats. App Animal Behav Sci 2000;68:131-140. 

  2. Hill P. A practical approach to feline symmetrical alopecia. In Pract 1998;20(9):478-484. 

  3. Favrot C. Feline allergic skin disease. In: Jackson H and Marsella R (eds) BSAVA Manual of Small Animal Dermatology, 3rd ed. Gloucester; BSAVA 2012;141-145.

  4. Miller W, Griffin C, Campbell K. Congenital and hereditary defects. In: Muller & Kirk’s Small Animal Dermatology. 7th ed. St Louis Missouri: Elsevier Mosby. 2013;567. 

  5. Auxilia, S, Sinke J. An approach to feline alopecia. In: Jackson H and Marsella R (eds) BSAVA Manual of Small Animal Dermatology, 3rd ed. Gloucester; BSAVA 2012;76-85. 

  6. Alhaidari Z. Diagnostic approach to alopecia. In: Guaguère E and Prélaud P (eds). A practical guide to feline dermatology. Oxford; Merial Publications. 1999;19.1-19.7. 

  7. Hobi S, Linek M, Marignac G, et al. Clinical characteristics and causes of pruritus in cats: a multicentre study on feline hypersensitivity-associated dermatoses. Vet Dermatol 2011;22(5):406-413.

  8. Beale K. Feline demodicosis: a consideration in the itchy or overgrooming cat. J Feline Med Surg 2012;14(3):209-213.

  9. Saari S, Juuti K, Palojarvi J, et alDemodex gatoi-associated contagious pruritic dermatosis in cats – a report from six households in Finland. Acta Vet Scand 2009;51:40.

  10. Cerundolo R. Diagnostic and therapeutic approach to common ectoparasitoses in small animal practice. In Pract 2013;35(Suppl 1):18-23. 

  11. Cadiergues M. Feline Allergy; Therapy, in Noli C, Foster A, Rosenkrantz W (eds). Veterinary Allergy, Chichester; Wiley Blackwell 2014;259-264. 

  12. Hardy J, Hendricks A, Loeffler A, et al. Food-specific serum IgE and IgG reactivity in dogs with and without skin disease: lack of correlation between laboratories. Vet Dermatol 2014;25(5):447-e70. 

  13. Raditic D, Remillard R, Tater, K. ELISA testing for common food antigens in four dry dog foods used in dietary elimination trials. J Anim Physio Anim Nutr(Berl), 2011;95(1):90-97. 

  14. Oldenhoff W, Moriello K. Diagnostic investigation of the allergic feline. In: Noli C, Foster A, Rosenkrantz W (eds). Veterinary Allergy. Chichester; Wiley Blackwell 2014;223-227. 

  15. Ricci R, Hammerburg B, Paps J, et al. A comparison of the clinical manifestations of feeding whole and hydrolysed chicken to dogs with hypersensitivity to the native protein. Vet Dermatol 2010;21(4):358-366. 

  16. Schleifer S, Willemse T. Evaluation of skin test reactivity to environmental allergens in healthy cats and cats with atopic dermatitis. Am J Vet Res 2003;64(6):773-778.

  17. Belova S, Wilhelm S, Linek M, et al. Factors affecting allergen-specific IgE serum levels in cats. Can J Vet Res 2012;76(1):45. 

  18. Ravens P, Xu B, Vogelnest L. Feline atopic dermatitis: a retrospective study of 45 cases (2001-2012). Vet Dermatol 2014;25(2):95-e28.

  19. Diesel A. Allergen-specific immunotherapy. In: Noli C, Foster A, Rosenkrantz W (eds). Veterinary Allergy. Chichester; Wiley Blackwell 2014;234-236. 

  20. Roosje P, Thepen T, Rutten V, et al. Feline atopic dermatitis. In: Thoday K, Foil C, Bond R (eds) Advances in Veterinary Dermatology Vol. 4. Oxford; Blackwell Sciences 2002;178-187.

  21. Halliwell R. Efficacy of hyposensitization in feline allergic diseases based upon results of in vitro testing for allergen-specific immunoglobulin E. J Am Anim Hosp Assoc 1996;33(3):282-288. 

  22. Diesel A. Symptomatic treatments. In: Noli C, Foster A, Rosenkrantz W (eds). Veterinary Allergy, Wiley Blackwell: Chichester 2014;228-233.

  23. Ortalda C., Noli C., Colombo S, et al. Oclacitinib in feline nonflea-, nonfood-induced hypersensitivity dermatitis: results of a small prospective pilot study of client-owned cats. Vet Dermatol 2015;26:235-238. 

  24. Sawyer L, Moon-Fanelli A, Dodman N. Psychogenic alopecia in cats: 11 cases (1993-1996). J Am Vet Med Assoc 1999;214(1):71-74.

  25. Mills D, Karagiannis C, Zulch H. Stress – its effects on health and behavior: a guide for practitioners. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2014;44(3):525- 541.

  26. Miller W, Griffin C, Campbell K. Psychogenic skin diseases. In: Muller & Kirk’s Small Animal Dermatology. 7th ed. St Louis Missouri: Elsevier Mosby 2013;657.

  27. Waisglas S, Landsberg G, Yager J, et al. Underlying medical conditions in cats with presumptive psychogenic alopecia. J Am Vet Med Assoc 2006;11:1705- 1709.

  28. Tapp T, Virga V. Behavioural disorders. In: Jackson H, Marsella R (eds). BSAVA Manual of Canine and Feline Dermatology, 3rd ed. Gloucester; BSAVA 2012;256-262. 

  29. Virga V. Behavioral Dermatology. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2003; 33(2):231-251.

Kate Griffiths

Kate Griffiths

Kate Griffiths, University of Nottingham School คณะสัตวแพทยศาสตร์ , นอตติงแฮม สหราชอาณาจักร อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 07/02/2023

การให้อาหารแมวป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสัตว์

คำถามที่ว่าเราควรให้อาหารแมวป่วยเมื่อใดนั้น โดยปกติแล้วควรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดย Rene Dorfelt

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 23/12/2022

การเลี้ยงแมวในบ้านอย่างเหมาะสม

มนุษย์ได้ประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงช่วยลดความเครียด สร้างความแน่นอนในการใช้ชีวิต และทำให้สุขภาพดีขึ้น...

โดย Margie Scherk

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 15/06/2022

การแต่งขนมากเกินไปในแมว

การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า มีจุดประสงค์เพื่อ ...

โดย Kate Griffiths

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

เหตุใดจึงควรให้ความสนใจเกี่ยวกับแมวในสถานพยาบาลสัตว์

นับตั้งแต่เมื่อ 50 ปีก่อนที่ได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคในแมวทั้งหมดซึ่งมีความยาวเพียง...

โดย Susan Little