Communication is a clinical skill (part 1)
The communication skills that follow are essential for the development of a collaborative veterinarian-client partnership, staff member-client partnership...
เผยแพร่แล้ว 02/04/2020
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Polski , Português , Română , Español และ English
ในตอนสุดท้ายของบทความชุดนี้จะเน้นที่ความสำคัญของการสื่อสาร นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการสนทนาที่สมบูรณ์แบบซึ่งต้องประกอบไปด้วยแบบแผน โครงร่าง และมีสามขั้นตอนด้วยกัน ในตอนท้ายเราจะมาดูตัวอย่างสถานการณ์ยากลำบากที่สัตวแพทย์อาจพบเจอได้ในชีวิตการทำงาน รวมถึงการรับมือกับการข่มขู่ทางอารมณ์(emotional blackmail)
เมื่อเจ้าของสัตว์ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการตรวจรักษาสัตว์เลี้ยงของเขา จะทำให้เขารู้สึกมีข้อผูกมัดในดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น
ขั้นตอนแรกคือการเปลี่ยนท่าทีของสัตวแพทย์จาก “พระเจ้าในเสื้อกาวน์ขาว” ผู้รอบรู้และชอบออกคำสั่ง ไปเป็น “เพื่อนผู้ช่วยเหลือ” ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี
เพื่อนที่ดีที่สุดของเจ้าของสัตว์เลี้ยงคือสัตวแพทย์ที่มีความเปิดเผยผู้พยายามเสาะหาทางเลือกที่ดีที่สุดแก่เจ้าของและสัตว์เลี้ยง
หากเจ้าของสัตว์ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษเมื่อทำการเรียกร้อง จะส่งผลให้จำนวนลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การอุ่นเครื่อง ความสัมพันธ์ที่ดี การถามถูกคำถามและคำตอบที่ได้รับ การฟังและการให้ข้อคิดเห็น ล้วนมีความสำคัญอย่างมากต่อการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้การที่สัตวแพทย์อธิบายถึงสิ่งที่ตรวจพบและกระบวนการรักษาก็มีความสำคัญเช่นกันเพราะทำให้เจ้าของสัตว์เกิดความเข้าใจและยอมรับในการตรวจรักษา
สิ่งที่สร้างความรู้สึกพิเศษคือการที่เจ้าของสัตว์ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจโดยไม่ได้เกิดจากความคิดของสัตวแพทย์เพียงฝ่ายเดียว ขั้นตอนนี้ทำให้เจ้าของสัตว์เกิดความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของตนที่จะมีส่วนในกระบวนการตรวจรักษาสัตว์เลี้ยง ทั้งหมดนี้คือสิ่งจำเป็นต่อการให้ความร่วมมือของเจ้าของสัตว์และความภักดีต่อสถานพยาบาลสัตว์
สัตวแพทย์ที่มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการสื่อสารของตนเองอย่างสม่ำเสมอยังสามารถได้เพิ่มมากกว่าความร่วมมือและความภักดีจากเจ้าของสัตว์เลี้ยง พวกเขาจะพบกับความเครียดในการทำงานที่ลดลง เจ้าของสัตว์ที่มีความสุขมากขึ้น รวมถึงบรรยากาศในสถานที่ทำงานโดยรวมที่ดีขึ้น สัตวแพทย์ที่ปฏิบัติเชิงรุกในการสื่อสารได้อย่างดีและชัดเจนถือเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดต่อการเข้าใจผิดและความเครียด ทั้งยังเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหรือเจ้าของสัตว์
วิธีดังกล่าวจะเกิดผลดีได้อย่างไรและสัตวแพทย์ต้องปฏิบัติเช่นไร สัตวแพทย์จะรับมือกับลูกค้าที่อารมณ์ร้ายหรือสร้างความขุ่นมัวได้อย่างไร เรามาลองเริ่มต้นดูจากองค์ประกอบการสนทนาพื้นฐานที่สัตวแพทย์ได้ทำการ :
ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจดูเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไปทั้งยังอาจช่วยประหยัดเวลาได้ด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าซึ่งช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น ลดคำถามและข้อสงสัยรวมไปถึงความเข้าใจผิดของลูกค้าเกี่ยวกับการตรวจรักษาได้
เพื่อให้การสนทนาระหว่างการตรวจรักษาเป็นไปได้ด้วยดี ขั้นตอนแรกสัตวแพทย์ต้องทำการปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองจากผู้รอบรู้ที่ชอบออกคำสั่งในชุดกาวน์สีขาว มาเป็นเพื่อนคู่คิดในการดูแลสุขภาพที่เอาใจใส่(รูปภาพที่ 1)
ขั้นตอนที่ 2 ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน ค้นหาแนวทางและรูปแบบในการสื่อสาร
ขั้นตอนที่ 3 เรียนรู้ทักษะและเคล็ดลับในการจัดการกับกรณีที่ซับซ้อนและคำถามที่แปลกๆจากลูกค้า
ในย่อหน้าถัดไปจะเป็นตัวอย่างบทสนทนาขณะการตรวจรักษาที่ไม่ซับซ้อนกับการใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด(ตารางที่ 1)
ขั้นตอนที่ 1 | เทคนิกที่ใช้ | ผลที่ได้ |
---|---|---|
เริ่มต้น
“ขณะนี้เรากำลังจะเริ่ม…โอเคไหมคะ” |
สรุปความต้องการโดยรวมของลูกค้า และให้ข้อคิดเห็น | เพื่อให้มั่นใจว่าคุณ Schmidt ได้รับข้อมูลครบถ้วน ทั้งยังเข้าใจรวมถึงยอมรับในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป |
การตรวจร่างกาย
“หมอจะเริ่มตรวจจาก…” |
พูดอธิบายให้ลูกค้าฟังตลอดการตรวจวินิจฉัย | สร้างภาพรวมและความรู้สึกสบายใจแก่ลูกค้าว่าข้อมูลทุกอย่างจะได้รับการอธิบาย |
ขั้นตอนที่ 2 | เทคนิกที่ใช้ | ผลที่ได้ |
สรุปผลการตรวจร่างกาย และคำแนะนำ #1
“เอาล่ะค่ะ หมอได้ทำการตรวจร่างกาย… ฟังดูเป็นอย่างไรคะ”
|
อธิบายปัญหาหลัก ในที่นี้คือปัญหาของฟัน พร้อมทั้งให้คำแนะนำที่ชัดเจนจากนั้นถามความคิดเห็นของลูกค้า | นำเสนอสิ่งที่ตรวจพบได้เด่นชัดที่สุด เพื่อที่คุณ Schmidt จะได้ใช้เวลาในการซึมซับข้อมูล จากนั้นสัตวแพทย์ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมก่อนที่จะดำเนินการต่อ |
การมีส่วนร่วม
“โอ มีการวางยาสลบด้วยหรือคะ” “หมอเสียใจด้วยนะคะ” |
• คำถามปลายเปิด
• การตอบสนองอย่างเข้าอกเข้าใจ
• มุมมองในแง่บวก(ยาและขั้นตอนการรักษาใหม่ๆ)
|
เพื่อขุดคุ้ยหาต้นตอของปัญหาความกลัวการวางยาสลบของคุณ Schmidt
แสดงให้คุณ Schmidt เห็นว่าความกังวลของเขาได้รับการใส่ใจ
ปลอบโยนคุณ Schmidt
|
ข้อแนะนำที่ 2
“หมอขอแนะนำให้…ราบรื่นปลอดภัยยิ่งขึ้น”
“ต้องการข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมไหมคะ”
“เราสามารถตรวจเลือดในวันนี้ได้ทันทีหรือ ...สะดวกแบบไหนดีคะ”
|
บอกถึงประโยชน์ที่จะได้รับ
คำถามปลายเปิด
ให้ทางเลือก 2 ทาง พร้อมถามความคิดเห็น
|
นำเสนอสิ่งที่ตรวจพบอันดับที่สอง ผลประโยชน์ที่จะได้รับ พร้อมกันนี้ยังต้องตรวจสอบว่าคุณ Schmidt เข้าใจเนื้อหาทั้งหมด
ให้โอกาสคุณ Schmidt ได้เลือกแนวทาง พร้อมทั้งถามความคิดเห็นจากลูกค้า
|
ขั้นตอนที่ 3 | เทคนิกที่ใช้ | ผลที่ได้ |
ข้อตกลง
“โอเคค่ะ ทีนี้…” “คุณมีคำถามเพิ่มเติมไหมคะ” |
สรุปแนวทางทั้งหมด
คำถามปลายปิด
|
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ขาดเหลือข้อมูลใดๆ ทำให้คุณ Schmidt มีส่วนร่วมกับการตรวจรักษา
ย้ำให้แน่ชัดว่าลูกค้ายินยอมรับการตรวจรักษา ชักนำกระบวนการตรวจรักษาให้มาถึงจุดจบอย่างนุ่มนวล
|
บทสรุป
“ยินดีที่ได้ดูแล…”
|
บอกลาพร้อมกับกล่าวคำชมเชยลูกค้า | จบการตรวจรักษาด้วยความรู้สึกเชิงบวก |
ตารางที่ 1 บทสรุปของการสนทนาทั้ง 3 ขั้นตอน รวมถึงเทคนิกหลักในการสนทนา
รวมไปถึงวิธีการที่ใช้และสาเหตุที่จำเป็นต้องใช้
สัตวแพทย์เริ่มทำการตรวจร่างกายโดยพูดทวนความต้องการของลูกค้าอีกครั้งทั้งยังถามความคิดเห็นว่าลูกค้ารับได้กับการกระทำดังกล่าวหรือไม่
สัตวแพทย์ทำการตรวจร่างกายจากปลายจมูกจนถึงปลายหาง พร้อมกับอธิบายประกอบขณะทำการตรวจหู ผิวหนัง ท้อง หัวใจ และอื่นๆ นอกจากนี้ยังเน้นถึงความผิดปกติที่พบและสิ่งที่จะทำต่อไป
Including explanations of techniques used and why they are used.
สัตวแพทย์ทำการสรุปสิ่งที่ตรวจพบโดยนำเสนอสิ่งที่เด่นชัดที่สุดก่อน อธิบายความสำคัญของสิ่งที่ตรวจพบและแนะนำทางเลือกที่ชัดเจน สัตวแพทย์ตั้งใจเสนอทางเลือกพร้อมกับถามความคิดเห็นของเจ้าของสัตว์ด้วยคำถามปลายเปิด จุดนี้สำคัญมากในการขจัดสิ่งกีดขวางในการรักษา รวมถึงเป็นการนำความต้องการของลูกค้ามาพิจารณาเพื่อวางแผนในการตรวจรักษาต่อไป
จากการถามด้วยคำถามปลายเปิดอย่างต่อเนื่องทำให้สัตวแพทย์พบสาเหตุความกังวลของคุณ Schmidt ที่มีต่อการวางยาสลบ นอกจากนี้สัตวแพทย์ยังแสดงความเข้าอกเข้าใจต่อความกลัวของเจ้าของในแง่บวก รับเอาความกังวลของเจ้าของไปพิจารณาจากนั้นจึงสร้างสถานการณ์ใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดเชิงบวกว่า Lucky จะไม่ทุกข์ทรมานจากกระบวนการวางยาสลบเหมือนที่เกิดขึ้นกับสุนัขตัวเก่าเมื่อ 10 ปีก่อนด้วยเทคนิกทางการสัตวแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้นร่วมกับการดูแลจากบุคลากร
หลังจากที่คุณ Schmidt มีปฏิกิริยาไปในทิศทางบวกต่อข้อเสนอของสัตวแพทย์ ทางสัตวแพทย์จึงมีข้อเสนอถัดไปตามมานั่นคือการตรวจเลือดก่อนการวางยาสลบที่จะช่วยให้การวางยา “มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น” การให้ข้อมูลวิธีนี้ทำให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลทีละส่วนซึ่งทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าการได้รับข้อมูลและคำแนะนำต่างๆในปริมาณมาก วิธีนี้ยังป้องกันไม่ให้ลูกค้าปฏิเสธข้อเสนอของสัตวแพทย์เพียงเพราะรู้สึกว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วเกินไปและสัตวแพทย์พยายามยัดเยียดให้รีบตัดสินใจ(รูปภาพที่ 2)
คุณ Schmidt สามารถตัดสินใจเลือกได้อย่างอิสระในการเลือกวันนัดครั้งถัดไป จากการที่สัตวแพทย์นำเสนอ 2 ทางเลือกโดยปราศจากความกดดัน
รวมไปถึงวิธีการที่ใช้และสาเหตุที่จำเป็นต้องใช้
ข้อคิด : เพื่อนที่ดีที่สุดของเจ้าของสัตว์เลี้ยงคือสัตวแพทย์ที่เปิดกว้างผู้ซึ่งพยายามหาทาออกที่ดีที่สุดแก่สัตว์เลี้ยงและเจ้าของสัตว์ทุกราย
การสื่อสารในเชิงบวกสามารถใช้จัดการกับกรณีสัตว์ป่วยส่วนมากได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดสถานะ win-win แก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง เจ้าของสัตว์ และสถานพยาบาล แต่ในบางครั้งเราอาจต้องพบกับลูกค้าที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับคำแนะนำของสัตวแพทย์ซึ่งทำให้การตรวจรักษาไม่เป็นไปอย่างราบรื่น การตรวจรักษามีอันต้องสะดุด เกิดข้อขัดแย้งขึ้น ทีมงานในสถานพยาบาลต้องพยายามควบคุมอุณหภูมิของสถานการณ์ไม่ให้ร้อนจนเกินไป หรือเติมเชื้อไฟให้รุนแรงมากขึ้น สาเหตุของความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันรวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างลูกค้าและสัตวแพทย์สามารถพบได้บ่อยในการปฏิบัติงานภายในสถานพยาบาลสัตว์ เช่น
ในฐานะของบุคลากรในสถานพยาบาลสัตว์ เรามักคิดว่าคำถามที่ดูเรียบง่ายจากลูกค้าเช่น “ฉันอ่านเจอร์ในอินเตอร์เน็ตว่า..” หรือ “คนที่ขายสุนัขให้พูดว่า…” ก่อให้เกิดความหงุดหงิดในระดับหนึ่งโดยที่ผู้พูดส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจ ให้เป็นเช่นนั้น ในทางตรงกันข้าม บุคลากรในสถานพยาบาลควรมองว่านี่ถือเป็นความเคารพที่เจ้าของสัตว์เลือกที่จะถามสัตวแพทย์ก่อนที่จะเชื่อข้อมูลหรือเลือกซื้ออาหารสัตว์ปราศจากธัญพืชตามที่โฆษณาในอินเตอร์เน็ต
Antje Blaettner
ตัวอย่างบทสนทนาถัดไปจะแสดงให้เห็นถึงตอนท้ายของบทสทนาที่แตกต่างออกไปเล็กน้อยระหว่างสัตวแพทย์และคุณ Schmidt
ประเด็นสำคัญคือการไม่ตอบโต้ทันทีด้วยการสอนเล็คเชอร์ย่อยให้ลูกค้าฟังเกี่ยวกับธัญพืชและข้อดีข้อเสียของอาหารดังกล่าว ควรถามด้วยคำถามปลายเปิดเพื่อเผยที่มาของคำถามและทราบเป้าหมายของการถามคำถามนี้
ขั้นตอนนี้เป็นการใช้บทสนทนาแบบเปิดกว้างเพื่อหาแหล่งที่มาของข้อมูล สิ่งนี้แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าสัตวแพทย์นั้นอาศัยข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับแหล่งที่มา และยินดีที่จะจัดการกับเรื่องราวต่างๆให้ลูกค้าของเขา
จากบทสนทนาข้างต้น สัตวแพทย์ได้เปิดประตูสำหรับการสื่อสารไว้กว้างพอและแสดงให้เห็นว่าเธอสนใจในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งยังแสดงออกว่าเรื่องที่ลูกค้าเป็นกังวลถือว่าเป็นเรื่องของเธอเช่นกัน ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกที่เข้าอกเข้าใจกัน
ข้อคิด :คำถามแต่ละข้อจากลูกค้ามักเป็นเพียงคำถามง่ายๆที่ควรได้รับคำตอบชัดเจนและเป็นมิตร
โชคร้ายที่ ลูกค้าไม่ได้มีเพียงลูกค้าที่ดีและเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงของตนเอง ยังมีลูกค้าที่ยึดเอาผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งทั้งยังไม่ประนีประนอม(รูปภาพที่ 3) พวกเขาเหล่านี้จะพยายามครอบงำบุคลากรในสถานพยาบาลให้ปฏิบัติตามเจตจำนงของตนเองผ่านการประกาศว่า “หากไม่ทำตามที่ต้องการ จะไปรับการรักษาที่อื่น”
ตัวอย่างสถานการณ์ที่อาจเกิดการข่มขู่ทางอารมณ์
บางครั้งลูกค้าเรียนรู้จากบุคลากรในสถานพยาบาลว่าให้พยายามยืนกรานความต้องการของตนเองจนกว่าสัตวแพทย์หรือสถานพยาบาลจะยินยอมปฏิบัติตามผ่านการข่มขู่ทางอารมณ์เช่น “คุณไม่อยากเสียลูกค้าใช่ไหม” หรือ “คุณหมอเองก็เป็นคนรักสัตว์ และฉันก็ไม่สามารถจ่ายค่าทำวัคซีนแมวถึง 3 ตัวได้”
หากบุคลากรในสถานพยาบาลรวมถึงสัตวแพทย์ยอมปฏิบัติตามคำข่มขู่ ไม่เพียงจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ามีพฤติกรรมการเรียกร้องเพิ่มมากขึ้น ยังสามารถแพร่กระจายไปยังลูกค้าท่านอื่นได้จากการที่ทราบว่าสถานพยาบาลแห่งนี้ยินยอมทำตามข้อเรียกร้องหากมีการข่มขู่ทางอารมณ์
กรณีที่ลูกค้าต้องการนัดหมายนอกเวลาทำการ ต้องการสั่งผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอื่นที่สถานพยาบาลไม่สามารถจัดหาและไม่สมควรจัดหาให้ คำแนะนำคือต้องปฏิเสธอย่างมั่นคงและเป็นมิตร พร้อมกับเสนอทางเลือกอื่น :
กรณีที่ลูกค้าขอส่วนลดในการตรวจรักษา แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
ข้อคิด : ขั้นตอนนี้เป็นการแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าในการให้บริการด้านการแพทย์และเวชกรรมนั้นมีขั้นตอนลัดน้อยมาก และสิ่งที่สัตวแพทย์ได้กล่าวในตัวอย่างนั้นไม่ควรนำมาใช้ในทางปฏิบัติจริงไม่ว่ากรณีใดๆ
จากบทสนทนาด้านบนจะพบว่าลูกค้าเปิดเผยว่าตนนั้นเป็นนักต่อราคาและใช้การข่มขู่ทางอารมณ์ เธอเป็นลูกค้าที่สนใจเรื่องราคามากกว่าคุณภาพการให้บริการ ในฐานะทีมงานคุณต้องพิจารณาว่าควรจัดการอย่างไรกับลูกค้าแบบนี้ เราควรทำตามข้อเรียกร้องของลูกค้าเพื่อรักษาลูกค้าไว้ เปิดโอกาสให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก รวมถึงมีลูกค้าแบบเดียวกันเพิ่มมากขึ้น หรือเราควรตั้งมาตรฐานการให้บริการรวมถึงราคา หากเราสามารถคงมาตรฐานไว้ได้จะสร้างความเคารพนับถือให้กับลูกค้า เน้นการให้บริการแก่ลูกค้าที่ชื่นชอบบริการของเรา ลดปริมาณลูกค้าที่ชอบใช้กการข่มขู่ทางอารมณ์และการต่อราคา ส่งผลให้ความเครียดในการทำงานลดลง และทีมงานบุคลากรมีขวัญกำลังใจเพิ่มมากขึ้น
ข้อคิด : หากลูกค้าได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษเมื่อร้องขอ จะส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
Miguel Ángel Díaz
Miguel received a degree in Veterinary Science in 1990. After working at several clinics he opened his own clinic in 1992 อ่านเพิ่มเติม
Iván López Vásquez
Iván comes from a family of veterinarians; his father and older brother share the same passion. He obtained his degree from the Universidad de Concepción อ่านเพิ่มเติม
Cindy Adams
Cindy Adams is Professor in the Department of Veterinary Clinical and Diagnostic Sciences at the University of Calgary, Veterinary Medicine, อ่านเพิ่มเติม
Antje Blättner
ดร. แบล็ตต์เนอร์ศึกษาในเบอร์ลินและมิวนิกและหลังจากจบการศึกษาในปี 2531 อ่านเพิ่มเติม
The communication skills that follow are essential for the development of a collaborative veterinarian-client partnership, staff member-client partnership...