วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

Warning

This article contains sensitive photo that may be harmful for young children

หมายเลขหัวข้อ 26.2 โภชนาการ

การให้อาหารแมวป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสัตว์

เผยแพร่แล้ว 07/02/2023

เขียนโดย Rene Dorfelt

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Español และ English

คำถามที่ว่าเราควรให้อาหารแมวป่วยเมื่อใดนั้น โดยปกติแล้วควรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากแมวมีอาการเบื่ออาหาร (anorexia) หรืออาจมีอาการเบื่ออาหารนานกว่า 3 วัน ในลูกแมวหลังจากมีอาการเบื่ออาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมงควรได้รับการแก้ไขความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญ (major electrolyte abnormalities) เช่น ภาวะโพแทสเซียมสูงในกระแสเลือด (hyperkalemia) โดยทันทีหลังจากที่ค่าพารามิเตอร์ของระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular) และการไหลเวียนโลหิต (hemodynamic) อยู่ในภาวะเสถียร หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มให้อาหาร

ป้ายเจลลิโดเคนรอบจมูก

 

เมื่อไหร่ถึงควรจะให้อาหารแมว

เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถ้ามีอาการเบื่ออาหารหรืออาจมีอาการเบื่ออาหารนานกว่า 3 วัน
ในลูกแมวควรให้หลังจากมีอาการเบื่ออาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมง
ทันทีที่ค่าพารามิเตอร์ของระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular) และการไหลเวียนโลหิต (hemodynamic) อยู่ในภาวะเสถียร ควรแก้ไขความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่สำคัญ (major electrolyte abnormalities) เช่น ภาวะโพแทสเซียมสูงในกระแสเลือด (hyperkalemia) ก่อนเริ่มให้อาหาร
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเข้ามาที่โรงพยาบาลสัตว์
ภายใน 6-12 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal surgery)
 

 

 

ควรให้อาหารอะไร

อาหารที่มีรสชาติดีและมีกลิ่นหอม
อาจให้ขนมก่อนเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของแมว
อาหารสูตรสัตว์ป่วยวิกฤติที่มีพลังงานสูงและมีปริมาณโปรตีนสูง
อาหารควรอยู่ในอุณหภูมิห้อง

ควรให้อาหารแมวอย่างไร

ถ้าเป็นไปได้ควรให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร (enteral)
ให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำแบบบางส่วน (partial parenteral nutrition) หากการได้รับสารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร (enteral nutrition) นั้นไม่สามารถให้พลังงานที่เพียงพอได้
การให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) หากไม่สามารถให้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหารได้

วิธีการใดคือวิธีที่ดีที่สุดในการกระตุ้นความอยากอาหาร

ให้อาหารที่มีความน่ากินสูง (high palatable food)
สร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบและเป็นมิตรกับแมว เตรียมที่นอนที่นุ่มและอบอุ่น รวมถึงสถานที่สำหรับหลบซ่อนตัวไว้ด้วย
ต้องแน่ใจว่าแมวไม่อยู่ในภาวะเจ็บปวด โดยอาจจะให้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
ในกรณีที่แมวมีภาวะคลื่นไส้ ควรให้ยาระงับการอาเจียน (anti-emetics) และยาเคลือบกระเพาะ (gastric protectants)
ความอยากอาหารของแมวสามารถกระตุ้นได้ด้วยกลิ่น ดังนั้นควรทำความสะอาดจมูกของแมวหากมีน้ำมูกข้นเหนียวหรือสิ่งอื่นๆอุดตันบริเวณจมูกอยู่
ต้องให้อาหารสดใหม่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้องเป็นประจำ

ยากระตุ้นความอยากอาหารเป็นอย่างไร

อาจจะใช้ในกรณีที่วิธีการแบบเดิมไม่ได้ผล
Cyproheptadine นั้นเป็นยาในกลุ่มยาต้านฮีสตามีนที่ตัวรับชนิด H1 (H1-antihisminic drug) ควรให้ในขนาดยา 1-4 มก./แมว ทุก 12-24 ชั่วโมง ทางการกิน
Mirtazapine นั้นเป็นยาในกลุ่มยาเซโรโทนินที่มีฤทธิ์ต้านตัวรับ 5-HT3 (5-HT3 antagonist) ควรให้ในขนาดยา 3-4 มก./แมว ทุก 3 วัน ทางการกิน
Benzodiazepines (เช่น midazolam) นั้นสามารถใช้เป็นตัวเลือกระยะสั้นได้หากยาตัวอื่นๆใช้ไม่ได้ผล โดยยากลุ่มนี้จะกระตุ้นความอยากอาการเมื่อใช้ในขนาดยาต่ำ 0.05 มก./กก. เข้าทางหลอดเลือดดำ แต่ก็จะทำให้มีอาการซึมได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเคยมีการรายงานว่าภายหลังจากให้ diazepam กับแมวพบว่าแมวมีภาวะตับวายได้ (hepatic failure)

จะทำอย่างไรถ้าแมวยังไม่ยอมกินอาหาร

ในกรณีที่วิธีอื่นๆไม่ได้ผล ควรบังคับป้อนอาหาร (force feeding) ด้วยความระมัดระวังโดยใช้ไซริงก์ อาจลองวางอาหารลงบนอุ้งเท้าของแมวเนื่องจากแมวอาจจะเลียอาหารในขณะที่พยายามทำความสะอาดตัวเอง
ควรให้อาหารทางสายยาง (feeding tube) ในกรณีที่แมวยังสามารถได้รับอาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารได้ด้วยวิธีต่างๆ (enteral feeding) แต่ก็ยังได้รับพลังงานจากสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ

การสอดสายยางให้อาหารผ่านทางจมูกเข้าสู่หลอดอาหาร

เป็นหัตถการที่ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องวางยาสลบ
สามารถถอดสายยางออกได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
เหมาะสมกับอาหารเหลว (liquid diets) เท่านั้น

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

Feeding tube ขนาด 4.5-6 FG
สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบของยาชา lidocaine
วัสดุผูกเย็บ (suture material)
คีมจับเข็ม (needle holder)
กรรไกร (scissors)

เทคนิคการสอดสายยางให้อาหาร

ทาสารหล่อลื่นบริเวณ lower nasal meatus และที่บริเวณปลายของสายยาง (รูปภาพที่ 1)
วัดความยาวของสายยางตั้งแต่จมูกจนถึงช่องว่างระหว่างซี่โครงที่ 8 (8th interscostal space) จากนั้นทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยปากกาเคมี (รูปภาพที่ 2 และ 3)
ค่อยๆสอดสายยางเข้าสู่ lower nasal meatus โดยบังคับทิศทางให้ปลายสายยางเข้าสู่ด้านล่างและตรงกลางลำตัว (ventro-medially) (รูปภาพที่ 4)
ปล่อยให้แมวกลืนท่อโดยการบังคับให้แมวก้มคอลงเล็กน้อย แล้วสอดสายยางจนกว่าสัญลักษณ์ที่ทำไว้จะถึงบริเวณปลายจมูก (รูปภาพที่ 5)
เย็บตรึงสายยางกับผิวหนังด้วยวิธี Chinese finger trap ทั้งนี้ให้เย็บปมที่ 2 ที่ระดับเดียวกับกรามบนหรือหน้าผาก (รูปภาพที่ 6)
นอกจากการเย็บตรึงสายยางด้วยวัสดุผูกเย็บแล้วยังสามารถใช้กาวติดเนื้อเยื่อ (tissue glue) ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องระวังว่าเมื่อเอาสายยางออกอาจจะมีขนบางส่วนรวมไปถึงผิวหนังหลุดออกมาได้ด้วย
ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางด้วยการถ่ายภาพรังสี

 

 

Place lidocaine gel around the nose

รูปภาพที่ 1 ทา lidocaine gel รอบๆจมูกแมว © René Dörfelt

Measure tube length from the nose to the 8th intercostal space

รูปภาพที่ 2 วัดความยาวของสายยางตั้งแต่จมูกจนถึงช่องว่างระหว่างซี่โครงที่ 8 (8 th intercostal space) © René Dörfelt

Mark the tube using a permanent marker

รูปภาพที่ 3 เมื่อได้ความยาวที่ต้องการแล้วให้ทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยปากกาเคมี © René Dörfelt

Introduce the tube into the nose in a ventromedial direction

รูปภาพที่ 4 สอดสายยางให้อาหารผ่านทางจมูกในทิศทางเข้าหากึ่งกลางและด้านล่างของลำตัว (ventromedial direction) © René Dörfelt

Allow the cat to swallow the tube by flexing the neck

รูปภาพที่ 5 จับให้แมวก้มหัวลงเพื่อให้กลืนสายยาง © René Dörfelt

Suture the tube in position with a Chinese finger trap

รูปภาพที่ 6 เย็บตรึงสายยางให้อาหารด้วยวิธี Chinese finger trap © René Dörfelt

 

การสอดสายยางให้อาหารโดยตรงที่หลอดอาหาร

เป็นการสอดสายยางให้อาหารที่ผ่าน (bypass) ปากกับคอหอย (pharynx) ไปเลย
เหมาะสำหรับทั้งอาหารเหลว (liquid) และอาหารกึ่งเหลว (slurry)
สามารถทิ้งสายยางให้อาหารไว้ได้หลายสัปดาห์หากมีความจำเป็น
สามารถถอดสายยางออกได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
จำเป็นต้องวางยาสลบ (general anesthesia) ก่อนทำการสอดสายยางให้อาหาร
 
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
Feeding tube ขนาด 9-12 FG
Long Rochester-Péan forceps หรืออุปกรณ์อื่นที่เทียบเท่า หรือ commercial esophageal tube introducer
ใบมีดผ่าตัด (scalpel blade)
สารทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง (skin disinfectants)
วัสดุผูกเย็บ (suture material)
คีมจับเข็ม (needle holder)
กรรไกร (scissors)
อุปกรณ์ทำแผล (dressing materials)
 
เทคนิคการสอดสายยางให้อาหาร
วางยาสลบแบบใช้ท่อช่วยหายใจ
จับแมวให้อยู่ในท่านอนตะแคงขวา (right lateral recumbency)
โกนขนและทำความสะอาดบริเวณคอด้านซ้าย
วัดความยาวของสายยางให้อาหารจากช่วงกึ่งกลางคอไปจนถึงช่องว่างระหว่างซี่โครงที่ 8 (8th intercostal space) ทำสัญลักษณ์ไว้ด้วยปากกาเคมี
ใส่ forceps ผ่านปากเข้าไปที่บริเวณหลอดอาหาร (รูปภาพที่ 7)
จับทิศทางของปลาย forceps ให้ออกมาทางด้านข้างลำตัว (laterally) จนรู้สึกได้ถึงหลอดเลือดดำคอ (jugular vein) จากนั้นให้ดันปลาย forceps ชนกับผิวหนังให้ผิวหนังตรงกลางลำคอนูนขึ้น (รูปภาพที่ 8)
กรีดเปิดผิวหนังโดยใช้ใบมีด (scalpel blade) บริเวณปลาย forceps (รูปภาพที่ 9) จากนั้นให้ดันปลาย forceps ผ่านผิวหนังออกมาทางรูกรีดเปิดนั้น (รูปภาพที่ 10)
ใช้ปลาย forceps คีบสายยางให้อาหาร (รูปภาพที่ 11) แล้วใช้ดึงสายยางให้อาหารออกมาทางปาก (รูปภาพที่ 12)
นำปลายสายยางที่ขดอยู่ในปากสอดกลับเข้าไปทางหลอดอาหาร (รูปภาพที่ 13)
สอดสายยางให้อาหารไปเรื่อยๆจนกว่าปลายสายยางจะอยู่หลังกว่ารอยกรีดเปิด แล้วค่อยๆจัดแนวท่อเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดการหักงอขึ้น
สอดสายยางจนกว่าสัญลักษณ์ที่ทำไว้จะอยู่ระดับเดียวกับผิวหนัง
เย็บตรึงสายยางให้อาหารกับผิวหนังด้วยวิธี Chinese finger trap (รูปภาพที่ 14)
ทาเจลฆ่าเชื้อ (disinfectant lube) รอบๆบริเวณที่สอดสายยางให้อาหารและพันคอด้วยผ้าพันแผล (รูปภาพที่ 15)
ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางด้วยการถ่ายภาพรังสี
 

 

Introduce the forceps into the oral cavity

รูปภาพที่ 7 ใส่ forceps ผ่านเข้าไปในช่องปาก (oral cavity) © René Dörfelt

Direct the tip of the forceps laterally

รูปภาพที่ 8 ดันปลาย forceps ออกมาด้านข้างลำตัว (laterally) © René Dörfelt

Make a stab incision over the tip of the forceps

รูปภาพที่ 9 กรีดเปิดผิวหนังบริเวณปลาย forceps © René Dörfelt

Push the forceps through the skin incision

รูปภาพที่ 10 ดันปลาย forceps ให้ออกมาทางรูกรีดเปิดผิวหนังนั้น © René Dörfelt

Grasp the tip of the tube with the forceps

รูปภาพที่ 11 ใช้ปลาย forceps คีบสายยางให้อาหารไว้ © René Dörfelt

Pull the tube tip into the mouth

รูปภาพที่ 12 ใช้ forceps ดึงสายยางให้อาหารออกมาทางปาก © René Dörfelt

Redirect the tube tip back into the esophagus with the forceps

รูปภาพที่ 13 ใช้ forceps ค่อยๆสอดสายยางกลับเข้าไปในหลอดอาหาร จนเมื่อปลายสายยางจะอยู่หลังกว่ารอยกรีดเปิดให้จัดทิศทางของสายยางให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการหักงอ จากนั้นสอดสายยางต่อเรื่อยๆจนกว่าสัญลักษณ์ที่ทำไว้จะอยู่ระดับเดียวกับผิวหนัง © René Dörfelt

Suture in position with a Chinese finger trap

รูปภาพที่ 14 เย็บตรึงสายยางให้อาหารกับผิวหนังด้วยวิธี Chinese finger trap © René Dörfelt

Wrap the neck using dressing materials

รูปภาพที่ 15 พันรอบคอด้วยอุปกรณ์ทำแผล © René Dörfelt

เทคนิคการให้อาหารผ่านสายยาง

ให้อาหารที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง
ฟลัชล้างสายยางให้อาหารก่อนและหลังการให้อาหารด้วยน้ำสะอาด 2-3 มล.
ให้เริ่มจากอาหารเป็นมื้อในระยะเวลาสั้นๆ (bolus feeding) ปริมาณน้อยก่อน (1-2 มล./กก. ทุก 2-4 ชั่วโมง)
ควรให้อาหารแมว 1/3 เท่าของความต้องการพลังงานขณะพัก (resting energy requirement (RER)) ในวันแรก จากนั้นค่อยๆปรับเป็น 2/3 เท่าในวันที่ 2 และ 3/3 เท่าในวันที่ 3
ค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารจนถึง 10 มล./กก. (หากแมวยอมรับอาหารได้)
นอกเหนือจากการให้อาหารเป็นมื้อในระยะเวลาสั้นๆ (bolus feeding) แล้ว อาหารเหลวสามารถให้แบบต่อเนื่องด้วยอัตราเร็วคงที่ (constant rate infusion) 1-2 มล./กก./ชม. ได้เช่นเดียวกัน แต่หากใช้วิธีนี้ต้องล้างสายยางด้วยน้ำสะอาด ทุก 4-8 ชั่วโมง

*ความต้องการพลังงานขณะพักต่อวัน (daily RER) สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร น้ำหนัก (กก.) x 0.75 x 70 = RER (kcal)

 

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 15 ก.พ. - 15 เม.ย. 2023

ทำเเบบทดสอบ VET-CE
Rene Dorfelt

Rene Dorfelt

Dr. Dörfelt เข้าศึกษาที่ University of Leipzig ประเทศเยอรมัน อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 23/12/2022

การเลี้ยงแมวในบ้านอย่างเหมาะสม

มนุษย์ได้ประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงช่วยลดความเครียด สร้างความแน่นอนในการใช้ชีวิต และทำให้สุขภาพดีขึ้น...

โดย Margie Scherk

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 24/10/2022

การแต่งขนมากเกินไปในแมว

การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า ...

โดย Kate Griffiths

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 15/06/2022

การแต่งขนมากเกินไปในแมว

การแต่งขนเป็นพฤติกรรมปกติของแมวซึ่งประกอบด้วยการแทะเลียเส้นขนและผิวหนังรวมถึงการถูใบหน้าด้วยอุ้งเท้า มีจุดประสงค์เพื่อ ...

โดย Kate Griffiths

หมายเลขหัวข้อ 26.2 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

เหตุใดจึงควรให้ความสนใจเกี่ยวกับแมวในสถานพยาบาลสัตว์

นับตั้งแต่เมื่อ 50 ปีก่อนที่ได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคในแมวทั้งหมดซึ่งมีความยาวเพียง...

โดย Susan Little