Petfood: how to prevent insect infestation
Insect contamination of petfoods is a potential problem in tropical countries; this paper offers an overview of the situation and how the risks can be minimized
This article contains images that may offend the sensibilities of children.
หมายเลขหัวข้อ 24.2 Other Scientific
เผยแพร่แล้ว 20/10/2023
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Español และ English
โรคข้อเสื่อมในแมวยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมแม้ว่าจะพบความชุก (prevalence) อย่างมาก บทความนี้จะพิจารณาว่าเราจะเอาชนะความท้าทายในการวินิจฉัยโรคตั้งแต่แรกเริ่มได้อย่างไรซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ดีขึ้น
โรคข้อเสื่อมหรือ osteoarthritis (OA) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประชากรแมว แต่มักจะตรวจไม่พบ
โปรโตคอลการถ่ายภาพรังสี (radiography imaging) และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) ในปัจจุบันนั้นยังมีการใช้งานที่ค่อนข้างจำกัดในการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมวในระยะแรกเริ่มหรือระยะที่อาการยังไม่รุนแรง
ในปัจจุบัน มีรายงานว่าการตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography) ถือเป็นเครื่องมือที่มีความไวสูงที่สุดในการวินิจฉัยการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความเสื่อม (degenerative changes) ที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อมในแมว
การวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การใช้กล้องส่องข้อ (arthroscopy) มีแนวโน้มว่าจะสามารถช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเสื่อมในแมวได้ในอนาคต ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม
บทนำ
จากการศึกษาทางรังสีวิทยา 1,2,3ทำให้สัตวแพทย์ทราบว่าโรคข้อเสื่อมหรือ osteoarthritis (OA) เกิดขึ้นร้อยละ 61-99 ของแมว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง (chronic pain) ในสัตว์สายพันธุ์นี้ โดยโรคนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือกระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) จะเกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรออย่างต่อเนื่อง (progressive degradation and loss of articular cartilage) (รูปภาพที่ 1) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงกลไกภายในกระดูดอ่อนผิวข้อ (intrinsic mechanisms) และได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในข้อ (intra-articular tissues) อื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มข้อ (synovium) กระดูกที่อยู่ใต้ผิวข้อ (subchondral bone) และหมอนรองกระดูกข้อ (menisci) โดยกระดูกรยางค์ (appendicular joints) ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในแมว ได้แก่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้าขาหลัง (hock joints) 1,3,4.
ทั้งนี้แม้จะมีความชุกของโรคสูง แต่โรคข้อเข่าเสื่อมนแมวก็ยังคงไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม โดยมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดโรคนี้ ได้แก่:
การใช้เครื่องมือวัดทางคลินิก
เนื่องจากความท้าทายที่กล่าวมาในข้างต้น อาการทางพฤติกรรมที่เจ้าของรายงานต่อสัตวแพทย์ยังคงเป็นเครื่องมือประเมินอาการปวดเรื้อรังในแมวที่ดีที่สุดในทางคลินิกและด้วยเหตุนี้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการตรวจวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมว ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเฉพาะจะถูกรวบรวมโดยใช้เครื่องมือวัดทางคลินิก (clinical metrology instruments (CMIs)) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต (quality of life (QoL)) หรือคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (health-related QoL (HRQoL)) เครื่องมือเหล่านี้สร้างขึ้นจากการวินิจฉัยที่เข้มงวดเพื่อระบุและตรวจสอบพฤติกรรมสำคัญที่บ่งบอกถึงความเจ็บปวดหรือคุณภาพชีวิต และโดยทั่วไปจะรวมไปถึงคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ความสามารถและความเต็มใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ การเข้าสังคมและการดูแลตนเอง (การกินหรือการแต่งขน) ซึ่งเป้าหมายหลักของ CMI ดังกล่าวคือเพื่อพิจารณาว่ามีอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อมเมื่อใดและเพื่อตรวจพบภาวะหรือสภาพที่ดีขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการรักษา
เครื่องมือวัดทางคลินิก แบบสอบถามคุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหลายรายการได้รับการตีพิมพ์เพื่อใช้กับแมวที่มีอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งรวมถึง:
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา CMI ที่เจาะจงมากขึ้นสำหรับแมวแต่ละตัว เช่น Client-Specific Outcome Measures CMI แบบสอบถามเหล่านี้จะอิงตามกิจกรรมที่แตกต่างกันซึ่งเจ้าของรู้สึกว่าเป็นปัญหาสำหรับแมวตัวนั้นๆ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามาตรวัดแบบรายบุคคล (individualized scales) เหล่านี้มีประโยชน์เหนือกว่า CMI แบบมาตรฐานหรือไม่
ปัจจุบัน FMPI ถือเป็น CMI ที่ได้รับการพัฒนามากที่สุด แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรในการกรอกข้อมูล CMI ให้สมบูรณ์ โดยเพื่อให้เป็นเครื่องมือที่รวดเร็ว ง่ายและใช้งานได้จริงในการคัดกรองแมวที่มีอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อมรวมถึงเพิ่มความตระหนักรู้ของเจ้าของเกี่ยวกับพฤติกรรมที่อาจได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนา FMPI แบบย่อขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ 8.
ที่น่าสนใจคือแบบย่อนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงความแม่นยำในการคัดกรองเมื่อเทียบกับแบบเต็ม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายเมื่อผลเป็นบวก (positive predictive value) หรือค่าทำนายเมื่อผลเป็นลบ (negative predictive value) Feline Musculoskeletal Pain Screening Checklist (Feline MiPSC) ก็สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการหารือเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อมในแมวกับเจ้าของและตรวจสอบความจำเป็นในการวินิจฉัยทางสัตวแพทย์เพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วยรายการคำถาม 6 ข้อที่ถามว่าแมวสามารถทำกิจกรรมจำเพาะได้ตามปกติหรือไม่ โดยคำถามทั้งหมด ให้ตอบว่าใช่/ไม่ใช่:
หากคำถามใดถูกตอบว่า “ไม่” (กล่าวคือ กิจกรรมนั้นผิดปกติ) ควรได้รับการประเมินเพิ่มเติม 8. ดังนั้นจึงสามารถใช้ Feline MiPSC เป็นเครื่องมือคัดกรองได้ ในขณะที่เครื่องมืออื่นๆ เช่น FMPI หรือ Montreal Instrument for Cat Arthritis Testing อาจใช้เพื่อติดตามประสิทธิผลของการรักษา 8.
ยังคงมีคำถามว่าเมื่อใดจึงควรเริ่มใช้ Feline MiPSC เป็นเครื่องมือคัดกรอง แม้ว่าจะมีการพิสูจน์แล้วว่าโรคข้อเสื่อมในแมวจะเพิ่มสูงขึ้นตามวัย 12, . แต่แน่นอนว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสัตว์ป่วยที่มีอายุมากเท่านั้น มีการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่งพบว่าแมวอายุเฉลี่ย 6.5 ปี ร้อยละ 34 จะมีอาการทางรังสีวิทยาของโรคข้อเสื่อม 13, และแมวที่อายุเพียง 1 ปีก็มีหลักฐานทางรังสีวิทยาของการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องมือคัดกรองนี้มีศักยภาพที่ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสามารถของสัตวแพทย์ในการคัดกรองโรคข้อเสื่อมเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคข้อเสื่อมในหมู่เจ้าของแมวอีกด้วย ผู้เขียนบทความจึงมีความเห็นว่า Feline MiPSC ควรเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพแมวทุกครั้ง ไม่ว่าแมวจะอายุเท่าใดก็ตาม การศึกษาพบว่ามีช่องว่างที่กว้างระหว่างการตอบสนองของเจ้าของที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อมและเจ้าของที่ไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อม 8.เนื่องจากแมวมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมปกติที่บ้านมากกว่าในสภาพแวดล้อมของคลินิก การปรับปรุงการให้ความรู้แก่เจ้าของและการมีส่วนร่วมผ่านการใช้ Feline MiPSC อาจทำให้เจ้าของมีแนวโน้มที่จะตรวจพบพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปที่บ้านมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สัตวแพทย์วินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
Lauren M. Meneghetti
การตรวจทางออร์โธปิดิกส์และการตรวจวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อ
แม้ว่าการประเมินการเดิน (gait assessment) และการตรวจทางออร์โธปิดิกส์อาจเป็นเรื่องท้าทายสำหรับแมวบางตัว แต่หากมีความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมของแมวเป็นอย่างดีและมีทักษะในการจัดการที่ดีก็จะสามารถใช้ลักษณะเฉพาะตัวของแมวเพื่อเพิ่มการให้ความร่วมมือได้ คำอธิบายฉบับเต็มของการตรวจทางออร์โธปิดิกส์ของแมวนั้นจะอยู่นอกขอบเขตของบทความนี้ อย่างไรก็ตามจะมีการเน้นประเด็นสำคัญบางประเด็นที่อาจช่วยให้สัตวแพทย์วินิจฉัยได้ในระยะแรกเริ่ม
การมีเสียงกระดูกดังกรอบแกรบ (crepitus) ภาวะข้อบวมน้ำ (joint effusion) ภาวะข้อหนาตัว (joint thickening) และการตอบสนองต่อความเจ็บปวดระหว่างการคลำตรวจ (palpation) จะเพิ่มโอกาสที่ข้อจะแสดงหลักฐานทางรังสีวิทยาของโรคข้อเสื่อม 14. อย่างไรก็ตามความไวและค่าทำนายเมื่อผลเป็นบวกที่เกี่ยวกับการทดสอบเหล่านี้ค่อนข้างต่ำซึ่งหมายความว่าสัตวแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมจากภาพทางรังสีวิทยา (radiographic OA) ได้จากการจับคลำเพียงอย่างเดียว และที่น่าสนใจก็คือความจำเพาะและค่าทำนายเมื่อผลเป็นลบของการทดสอบเหล่านี้สูงกว่าซึ่งบ่งชี้ว่าหากไม่พบเสียงกระดูกดังกรอบแกรบ ภาวะข้อบวมน้ำและภาวะข้อหนาตัวเมื่อทำการตรวจทางออร์โธปิดิกส์ก็จะสามารถนำมาใช้เพื่อแยกโรคข้อเสื่อมออกได้ด้วยความมั่นใจที่สูง (high degree of certainty) 14.อายุนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าส่งผลต่อความไวและความจำเพาะของการทดสอบเหล่านี้ โดยเมื่อแมวมีอายุมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างการพบผลการตรวจเหล่านี้กับการมีโรคข้อเสื่อมจากภาพทางรังสีวิทยาก็จะยิ่งมีมากขึ้น น่าเสียดายที่การทดสอบเหล่านี้มีประโยชน์น้อยสำหรับการตรวจพบโรคข้อเสื่อมในระยะแรกเริ่ม
การตรวจทางออร์โธปิดิกส์ด้านหนึ่งที่มักถูกมองข้ามคือการตรวจวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อ (goniometry) การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความเสื่อม (degenerative changes) ภายในข้อนั้นจะยับยั้งพิสัยการเคลื่อนที่ปกติ (range of motion (ROM)) เพราะฉะนั้นการวัดพิสัยการเคลื่อนที่ผ่านการตรวจวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อจึงสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมและติดตามการลุกลาม (progression) ของโรคได้ การตรวจวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อ (รูปภาพที่ 2) นั้นสามารถทำได้ง่ายไม่พบความแตกต่างทางคลินิกที่สำคัญระหว่างการวัดในแมวที่อยู่ภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกกับแมวที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึก 14,15. ตารางที่ 1 อธิบายตำแหน่งของเครื่องวัดมุม (โกนิโอมิเตอร์) (goniometer) และพิสัยการเคลื่อนที่ปกติของข้อต่อแต่ละข้อ (ค่าเฉลี่ยระหว่างการวัดแบบไม่วางยาสลบและแบบวางยาสลบ) 15. แมวที่มีพิสัยการเคลื่อนที่สูงขึ้นจะมีความเกี่ยวข้องกับโอกาสการเกิดโรคข้อเสื่อมจากภาพทางรังสีวิทยาที่ลดลงซึ่งบ่งชี้ว่าพิสัยการเคลื่อนที่ปกติอาจมีค่าในการแยกแยะการมีอยู่ของโรคข้อเสื่อมออกไป ในทางกลับกันพิสัยการเคลื่อนที่ที่ลดลงจะมีความเกี่ยวข้องกับการมีอยู่ของโรคข้อเสื่อมจากภาพทางรังสีวิทยา 14. การใช้โกนิโอมิเตอร์มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในระยะแรกเริ่ม เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างพิสัยการเคลื่อนที่และการมีโรคข้อเสื่อมจากภาพทางรังสีวิทยาดูเหมือนจะไม่ได้รับผลกระทบจากอายุ 14.
ตารางที่ 1 รายละเอียดเกี่ยวกับการวางโกนิโอมิเตอร์เพื่อพิสัยการเคลื่อนที่ของข้อบริเวณกระดูกข้อมือ (carpus) ข้อศอก (elbow) ไหล่ (shoulder) กระดูกข้อเท้า (tarsus) ข้อเข่า (stifle) และข้อสะโพก (coxofemoral joint) นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดพิสัยการเคลื่อนที่ปกติของข้อต่อแต่ละข้อ (ค่าเฉลี่ยระหว่างการวัดแบบไม่วางยาสลบและแบบวางยาสลบ) 15.
ข้อต่อและการวางโกนิโอมิเตอร์ |
มุมในการงอ (Angle in flexion) (ค่าเฉลี่ยช่วงความเชื่อมั่น 95% (Mean (95% CI))) |
มุมในการเหยียด (Angle in extension) (ค่าเฉลี่ยช่วงความเชื่อมั่น 95% (Mean (95% CI))) |
---|---|---|
กระดูกข้อมือ (carpus):Long axis of metacarpal bones III/IV และ longitudinal axis of the antebrachium | 22˚ (21-23) | 198˚ (196-199) |
ข้อศอก (elbow): Longitudinal axis of the antebrachium และ longitudinal axis of the humerus | 22˚ (22-23) | 164˚ (162-165) |
ไหล่ (shoulder): Longitudinal axis of the humerus และ spine of the scapula | 32˚ (31-32) | 165˚ (162-168) |
กระดูกข้อเท้า (tarsus): Long axis of metatarsal bones III/IV และ longitudinal axis of the tibia |
21.5˚ (21-22) | 167.5˚ (166-170) |
ข้อเข่า (stifle): Longitudinal axis of the tibia และ longitudinal axis of the femur | 24˚ (24-25) | 164˚ (163-165) |
ข้อสะโพก (coxofemoral joint): Longitudinal axis of the femur และ a line parallel to a line joining the tuber sacrale และ tuber ischiadicum over the greater trochanter
|
33˚ (32-33) | 165˚ (163-167) |
การถ่ายภาพรังสี
เนื่องจากความพร้อมในการจำหน่ายและใช้งาน (availability) ในวงกว้างและความคุ้มค่าของต้นทุนต่อประสิทธิผล (cost effectiveness) ทำให้การถ่ายภาพรังสีเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมวถึงแม้ว่าจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าสามารถตรวจพบโรคข้อเสื่อมที่รุนแรงหรือลุกลามมากได้เท่านั้น 16. การเปลี่ยนแปลงทางรังสีวิทยา (Radiographic changes) ที่พบได้ในการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมวนั้นได้แก่ การมีกระดูกงอก (osteophytes) การขาวขึ้นของกระดูกที่อยู่ใต้ผิวข้อ (increased subchondral bone opacity) การสะสมของแร่ธาตุในเนื้อเยื่ออ่อนและภายในข้อ (soft tissue and intra-articular mineralizations) เนื้อเยื่ออ่อนหนาตัวขึ้น (soft tissue thickening) และมีน้ำไขข้อมาก (synovial effusion) (รูปภาพที่ 3) เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความเสื่อมในภาพถ่ายรังสีร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความเสื่อมทางจุลพยาธิวิทยาก็จะช่วยยืนยันการมีอยู่ของโรคข้อเสื่อมด้วยความจำเพาะที่สูงมาก 16.
การถ่ายภาพรังสีเป็นวิธีการสร้างภาพสองมิติซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงใดใดที่ไม่ได้อยู่บนหรือใกล้กับขอบของโครงกระดูกอาจจะรวมเข้ากับโครงกระดูกอื่นๆและอาจมองไม่เห็นได้ 16. นอกจากนี้ภาพถ่ายรังสียังไม่สามารถสร้างภาพกระดูกอ่อน (cartilage) ได้และผลจากภาพถ่ายรังสีเองก็ไม่สัมพันธ์กับความเสื่อมของกระดูกอ่อน (cartilage degeneration) การศึกษาฉบับหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าร้อยละ 71 ของข้อเข่าแมวที่มีหลักฐานของโรคข้อเสื่อมจากการตรวจด้วยตาเปล่า (macroscopic evidence) ไม่มีรอยโรคที่เกี่ยวข้องในภาพถ่ายรังสี 17. จุดอ่อนเหล่านี้จึงจำกัดประโยชน์ของการถ่ายภาพรังสีในการตรวจหาโรคข้อเสื่อมระยะแรกเริ่มหรือระยะที่อาการยังไม่รุนแรง อันที่จริงแล้วมีการศึกษาล่าสุดที่รายงานว่าการถ่ายภาพรังสีนั้นไม่สามารถตรวจพบข้อใดใดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเสื่อมที่ได้รับการวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยาว่าเป็นโรคข้อเสื่อมระยะไม่รุนแรง 16.
ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดเหล่านี้ การถ่ายภาพรังสีก็มักป็นวิธีถ่ายภาพทางการแพทย์ (imaging modality) เพียงวิธีเดียวที่มีอยู่ ดังนั้นการแปลผลจึงต้องได้รับการทำอย่างเหมาะสม การทราบว่าต้องดูที่ไหนและต้องดูอะไรจะช่วยให้วินิจฉัยในระยะแรกเริ่มได้ ทั้งนี้การเกิดกระดูกงอกในแมวอาจช้ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสุนัข 2,4 นอกจากนี้ลักษณะทางรังสีวิทยา (radiographic features) อื่นๆรวมถึงการสร้างกระดูกใหม่ (new bone formation) รูปแบบอื่นๆก็อาจมีความสำคัญมากกว่า 17. ทั้งนี้กระดูกงอกมักถือเป็นลักษณะทางรังสีวิทยาที่สำคัญของโรคข้อเสื่อม อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าจะพบแค่ในเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับข้อสะโพกของแมวเท่านั้น 17,18. ส่วนข้อศอก ข้อเท้าและข้อเข่านั้น ลักษณะทางรังสีวิทยาที่พบได้บ่อยที่สุดจริงๆแล้วก็คือการสะสมของแร่ธาตุ (mineralizations) ที่เกี่ยวข้องกับข้อ การขยายตัวด้านบนของกระดูกข้อต่อทาร์โสเมตาทาร์สัล (tarsometatarsal dorsal bone proliferation) และการสะสมของแร่ธาตุภายในข้อตามลำดับ 17. ควรประเมินภาพถ่ายรังสีของข้อต่อของแมวอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการสร้างกระดูกรอบข้อใหม่ (new periarticular bone) กับการประเมินการสร้างกระดูกงอก (osteophyte formation) นอกจากนี้ยังควรพิจารณาข้อจำกัดของการถ่ายภาพรังสีในการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในระยะแรกเริ่มอยู่เสมอ หากสงสัยว่าเป็นโรคข้อเสื่อมแต่ไม่มีลักษณะทางรังสีวิทยาก็ควรเลือกใช้วิธีการวินิจฉัยอื่นๆที่มีความไวกว่านี้
รูปภาพที่ 3 รูปภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงทางรังสีวิทยาที่มักเกิดขึ้นกับโรคข้อเสื่อมในแมว เมื่อมองสะโพกในท่านอนหงาย (a) จะพบการสร้างกระดูกงอกที่ขอบของเบ้าสะโพก (acetabulum) ด้าน craniodorsal นอกเหนือจากการปรับรูปกระดูก (remodeling) ของหัวกระดูกสะโพก (femoral head) เมื่อมองข้อศอกในท่า mediolateral view (b) จะพบการขาวขึ้นของกระดูกที่อยู่ใต้ผิวข้อที่บริเวณรอบปุ่มส่วนปลายของกระดูกต้นแขน (peritrochlear region) นอกเหนือจากการสร้างกระดูกงอกรอบข้อ และเมื่อมองข้อเข่าในท่า mediolateral view (c) จะพบการสะสมของแร่ธาตุภายในข้อและภาวะน้ำไขข้อมาก (synovial effusion)
© Karen Perry
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT)) นั้นมีข้อได้เปรียบที่สำคัญเหนือการถ่ายภาพรังสีในการประเมินโรคข้อเสื่อมเนื่องจากลักษณะสามมิติหลายระนาบ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความปรารถนาของสัตวแพทย์ที่ต้องการจะวินิจฉัยในระยะแรกเริ่มและประเมินการเปลี่ยนแปลงของโรคข้อเสื่อมที่รุนแรงเล็กน้อย การศึกษา 2 ฉบับล่าสุดได้ยืนยันว่าสิ่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมบริเวณข้อศอกและข้อสะโพกในแมวโดยเฉพาะ 16,18;โดยอันที่จริงแล้วการตรวจด้วยเครื่อง CT สามารถตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่มได้ดีมากถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนในระดับมหภาคด็ตาม 18. การตรวจทางจุลพยาธิวิทยายืนยันว่าโรคข้อเสื่อมได้รับการยืนยันในทุกบริเวณที่พบรอยโรคบน CT ซึ่งบ่งชี้ถึงความจำเพาะสูงสำหรับความแม่นยำในการวินิจฉัย 18. นอกจากนี้ลักษณะของกระดูกงอกที่สังเกตได้จาก CT อาจช่วยในการระบุความเรื้อรังของโรคได้; โดยกระดูกงอกที่มีรูปร่างโค้งมนอาจเกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อมที่รุนแรงหรือเรื้อรัง ในขณะที่กระดูกงอกที่มีรูปร่างคล้ายเดือยและมีลักษณะแหลมอาจบ่งชี้ถึงโรคข้อเสื่อมในระยะเริ่มต้น 18.
ดังที่กล่าวไว้ในข้างต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพรังสี การมองหาผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง (specific findings) อาจส่งผลให้วินิจฉัยได้เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการประเมินแบบสแกนทั้งหมด การศึกษาล่าสุดที่ประเมินข้อศอกของแมวแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่าการสแกน CT จะเพิ่มความไวและความจำเพาะในการตรวจหาโรคข้อเสื่อมเมื่อเปรียบเทียบกับการถ่ายภาพรังสี แต่การให้คะแนนโดยอัตวิสัย (subjective grading) เพียงอย่างเดียวก็ยังส่งผลให้ความไวในการตรวจหาโรคข้อเสื่อมที่ไม่รุนแรงทางจุลพยาธิวิทยาลดต่ำลง 16. อย่างไรก็ตามการวัดเดือยหรือ spur ที่ขอบด้านข้าง (lateral margin) ของ anconeal process ใน CT (รูปภาพที่ 4) และการใช้เกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 มิลลิเมตร สำหรับการวัดเหล่านี้ จะช่วยให้ความไวสูงขึ้นปานกลางและความจำเพาะสูงขึ้นมาก 16.
เอกสารอ้างอิงล่าสุดและประสบการณ์ทางคลินิกของผู้เขียนบทความระบุว่าสามารถใช้ CT เพื่อวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในระยะเริ่มต้นและระยะที่อาการยังไม่รุนแรงได้ อีกทั้งยังควรพิจารณาใช้วิธีนี้ในกรณีที่การถ่ายภาพรังสีไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน โดยแนะนำให้ประเมิน CT อย่างรอบคอบและเป็นระบบ รวมถึงใช้การวัดเฉพาะเพื่อเพิ่มการไวของวิธีถ่ายภาพทางการแพทย์นี้ นอกจากนี้แม้ว่าการถ่ายภาพรังสีจะถือว่าคุ้มต้นทุนมากกว่าการสแกน CT แต่การสแกน CT ทั้งร่างกายในแมวนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเนื่องจากมีขนาดเล็ก จึงทำให้สามารถตรวจข้อต่อได้ทุกข้อซึ่งอาจถือว่ามีประโยชน์สำหรับสัตว์ป่วยที่ข้อต่อหลายข้อมีปัญหาจากการตรวจทางออร์โธปิดิกส์หรือในกรณีที่ตำแหน่งของสัตว์ป่วยอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมทำให้ไม่สามารถตรวจทางออร์โธปิดิกส์ได้อย่างครอบคลุมส่งผลให้ไม่สามารถระบุตำแหน่งของความเจ็บปวดได้
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ Magnetic resonance imaging (MRI) ได้รับการศึกษาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคทางออร์โธปิดิกส์ เนื่องจากการตรวจนี้มีความสามารถที่เหนือกว่าในการประเมินโครงสร้างของเนื้อเยื่ออ่อน เช่น กระดูกอ่อน โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าความเสียหายของกระดูกอ่อนจะเกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงของกระดูก เช่น การเกิดกระดูกงอก (osteophytosis) และกระดูกแข็ง (sclerosis) ซึ่งมักได้รับการประเมินโดยใช้ภาพถ่ายรังสีและ CT ในสัตว์ป่วยโรคข้อเสื่อม 19.ในทางทฤษฎี ความสามารถในการระบุรอยโรคในกระดูกอ่อนก่อนที่กระดูกจะมีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ MRI เป็นเครื่องมือวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในอุดมคติในแง่ของการอำนวยความสะดวกในการวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น ทั้งในสุนัข ม้าและมนุษย์ MRI นั้นมีความไวมากกว่าภาพถ่ายรังสีในการประเมินการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโรคข้อเสื่อมรวมถึงรอยโรคในกระดูกอ่อน การเกิดกระดูกงอก ภาวะข้อต่อบวมน้ำ (joint effusion) และภาวะเยื่อหุ้มข้อหนา (synovial thickening)
นอกจากนี้มีการศึกษาเบื้องต้น (pilot study) ที่แสดงให้เห็นว่า MRI ถูกใช้เพื่อตรวจสอบโรคข้อสะโพกเสื่อม (hip dysplasia) และโรคข้อเสื่อมในแมว 20. แม้ว่าจะพบกระดูกงอกและกระดูกแข็งเมื่อใช้การถ่ายภาพรังสีและ MRI 1.5 เทสลา โดยมีแมวตัวหนึ่งที่ไม่มีสัญญาณใดใดที่ตรวจพบได้ด้วยภาพถ่ายรังสีแต่กลับพบรอยโรคข้อเสื่อมหลายจุดใน MRI รวมทั้งกระดูกงอกทั้งสองข้าง (bilateral osteophytosis) ภาวะข้อต่อบวมน้ำ และกระดูกอ่อนผิวข้อบางลง (thinning of the articular cartilage) 20. นอกจากนี้ในแมว 2 ตัวที่มีโรคข้อเสื่อมนั้นการวินิจฉัยด้วย MRI ได้แสดงให้เห็นรอยโรคในไขกระดูก (bone marrow lesions) ที่บริเวณหัวกระดูกสะโพก (femoral head) ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการถ่ายภาพรังสี 20. มีการศึกษาเพิ่มเติมที่ได้ตรวจบริเวณข้อสะโพกปกติในแมวด้วย MRI ที่มีระดับความเข้มของสนามแม่เหล็กสูง (4.7 เทสลา) และสรุปได้ว่าแม้จะมองเห็นกระดูกที่อยู่ใต้ผิวข้อของหัวกระดูกสะโพกกับเบ้าสะโพก (femoral and acetabular subchondral bone) ได้อย่างชัดเจน แต่การประเมินกระดูกอ่อนผิวข้อนั้นยากกว่า ซึ่งอาจจำกัดประโยชน์ของการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจหาโรคข้อเสื่อมในระยะแรกเริ่ม 21. การตรวจสอบเพิ่มเติมนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นไปได้ที่ตำแหน่งของสัตว์ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปหรือลำดับทางเลือกอื่นอาจช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการวินิจฉัยด้วยเทคนิคนี้ แต่ในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและความจำเป็นในการวางยาสลบซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจ MRI นั้นดูเหมือนยยากทการตรวจสอบเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นไปได้ที่ตำแหน่งของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปหรือลำดับทางเลือกอื่นอาจ ปรับปรุงศักยภาพในการวินิจฉัยของเทคนิคนี้ แต่ในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและความต้องการสำหรับการดมยาสลบที่เกี่ยวข้องกับวิธีการถ่ายภาพนี้ดูเหมือนจะพิสูจน์ได้ยาก
Karen L. Perry
การใช้กล้องส่องข้อ (arthroscopy) เป็นที่นิยมใช้ในมนุษย์ สุนัขและม้า เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคข้อต่างๆ แต่การนำมาใช้ในแมวนั้นช้ากว่า เนื่องจากความยากลำบากทางเทคนิคที่เพิ่มมากขึ้นขณะทำการส่องกล้องเข้าข้อเล็กๆในแมว ความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อความเสียหายจากการรักษา ราคาและความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ที่จำเป็น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการใช้กล้องส่องข้อในแมวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประสบการณ์ในการใช้กล้องส่องข้อเพิ่มมากขึ้นและเครื่องมือที่มีขนาดเล็กลง โดยมีรายงานความสำเร็จที่ไม่เป็นทางการจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ยังคงมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กล้องส่องข้อในเอกสารทางสัตวแพทย์ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงพอ
การใช้กล้องส่องข้อถือเป็นเครื่องมือวินิจฉัยมาตรฐานสูงสุด (the gold standard diagnostic tool) สำหรับการประเมินกระดูกอ่อนข้อ (joint cartilage) ซึ่งพิสูจน์ได้จากความไวที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการภาพถ่ายรังสี CT และ MRI นอกจากนี้การใช้กล้องส่องข้อยังสามารถใช้เพื่อการรักษาได้นอกเหนือจากการวินิจฉัย โดยมีรายงานผลลัพธ์ที่ดีในแมวหลังจากทำการส่องกล้องเพื่อขูดเอารอยโรคภาวะกระดูกชั้นใต้กระดูกอ่อนร่อน (osteochondritis dissecans lesions) ที่บริเวณ femoral condyle ออก 22 และหลังจากเอาแร่ธาตุที่สะสมอยู่ภายในข้อศอกออก 23.ทั้งนี้แม้ว่าเทคนิคการสร้างภาพดังกล่าวจะรุกรานร่างกายมากกว่า แต่การพัฒนากล้องส่องข้อแบบเข็มขนาดเล็ก (small diameter needle arthroscopes) ซึ่งสามารถใช้ในสัตว์ป่วยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกได้นั้นก็อาจส่งผลให้มีการใช้เครื่องมือนี้ในการวินิจฉัยโรคมากขึ้น การมองเห็นกระดูกอ่อนผิวข้อได้ดีกว่าจากการใช้กล้องส่องข้ออาจช่วยให้วินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมวได้เร็วขึ้นในอนาคต
ทิศทางในอนาคต
ประเด็นอื่นๆที่น่าสนใจในความพยายามที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมของแมวตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ได้แก่ การทดสอบทางประสาทสัมผัสเชิงปริมาณ (quantitative sensory testing), การวัดการเคลื่อนไหวข้อขณะเดิน (accelerometry) การวิเคราะห์วัดแรงกดฝ่าเท้า (force-plate analysis), การวัด serum cytokines และการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกัน (differential gene expression) 24,25,26,27. ในปัจจุบัน การทดสอบต่างๆเหล่านี้ให้ค่าที่จำกัดในบริบททางคลินิกสำหรับการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม โดยแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างแมวปกติและแมวที่มีอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อม แต่การทดสอบเหล่านี้ยังขาดค่าจุดตัด (cut-off values) และความพร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์นั้นค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทำให้การทดสอบเหล่านี้มีประโยชน์ทั้งในการวินิจฉัยและการติดตามประสิทธิผลของการรักษาในอนาคต
สัตวแพทย์จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานสองประการ ประการแรกคือยิ่งวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมวได้เร็วขึ้นเท่าไร ก็จะสามารถให้การรักษาที่เหมาะสมได้เร็วขึ้นเท่านั้น และประการที่สองคือการถ่ายภาพรังสีไม่ใช่ทางเลือกเดียวในการวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมในแมว แต่ยังมีทางเลือกอื่นๆที่มีความสามารถในการวินิจฉัยที่ดีกว่าด้วย เนื่องจากมีวิธีถ่ายภาพทางการแพทย์ต่างๆมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น CT, MRI และการใช้กล้องส่องข้อ เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะตรวจพบรอยโรคข้อเสื่อมในระยะแรกเริ่มได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังควรสนับสนุนให้ใช้แบบสอบถามร่วมกับการตรวจวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเพื่อช่วยในการวินิจฉัยด้วย
Lascelles BDX, Henry 3rd JB, Brown J, et al. Cross-sectional study of the prevalence of radiographic degenerative joint disease in domesticated cats. Vet. Surg. 2010;39:535-544.
Hardie EM, Roe SC, Martin FR. Radiographic evidence of degenerative joint disease in geriatric cats: 100 cases (1994-1997). J. Am. Vet. Med. Assoc. 2002;220:628-632.
Kimura T, Kimura S, Okada J, et al. Retrospective radiographic study of degenerative joint disease in cats: Prevalence based on orthogonal radiographs. Front. Vet. Sci. 2020;7:article 138.
Clarke SP, Bennett D. Feline osteoarthritis: a prospective study of 28 cases. J. Small Anim. Pract. 2006;47:439-445.
Cachon T, Frykman O, Innes JF, et al. Face validity of a proposed tool for staging canine osteoarthritis: Canine OsteoArthritis Staging Tool (COAST). Vet. J. 2018;125:1-8.
Freeman LM, Rodenberg C, Narayanan A, et al. Development and initial validation of the Cat Health and Wellbeing (CHEW) questionnaire: a generic health related quality of life instrument for cats. J. Feline Med. Surg. 2016;18(9):689-701.
Benito J, Hansen B, Depuy V, et al. Feline musculoskeletal pain index: responsiveness and testing of criterion validity. J. Vet. Intern. Med. 2013;27:474-482.
Enomoto M, Lascelles BDX, Gruen ME. Development of a checklist for the detection of degenerative joint disease-associated pain in cats. J. Feline Med. Surg. 2020;12:1137-1147.
Tatlock S, Gober M, Williamson N, et al. Development and preliminary psychometric evaluation of an owner-completed measure of feline quality of life. Vet. J. 2017;228:22-32.
Klinck MP, Gruen ME, del Castillo JRE, et al. Development and preliminary validity and reliability of the Montreal instrument for cat arthritis testing, for use by caretaker/owner, MI-CAT(C), via a randomised clinical trial. Appl. Anim. Behav. Sci. 2018;200:96-105.
Bennett D, Morton C. A study of owner observed behavioural and lifestyle changes in cats with musculoskeletal disease before and after analgesic therapy. J. Feline Med. Surg. 2009;11:997-1004.
Freire M, Meuten D, Lascelles D. Pathology of articular cartilage and synovial membrane from elbow joints with and without degenerative joint disease in domestic cats. Vet. Pathol. 2014;51:968-978.
Clarke SP, Mellor D, Clements DN, et al. Prevalence of radiographic signs of degenerative joint disease in a hospital population of cats. Vet. Rec. 2005;157:793-799.
Lascelles BDX, Dong Y-H, Marcellin-Little DJ, et al. Relationship of orthopedic examination, goniometric measurements, and radiographic signs of degenerative joint disease in cats. BMC Vet. Res. 2012;8:10.
Jaeger GH, Marcellin-Little DJ, DePuy V, et al. Validity of goniometric joint measurements in cats. Am. J. Vet. Res. 2007;68:822-826.
Ley CJ, Leijon A, Uhlhorn M, et al. Computed tomography is superior to radiography for detection of feline elbow osteoarthritis. Res. Vet. Sci. 2021;140:6-17.
Freire M, Robertson I, Bondell HD, et al. Radiographic evaluation of feline appendicular degenerative joint disease vs. macroscopic appearance of articular cartilage. Vet. Radiol. Ultrasound 2011;52:239-247.
Ley C, Ramer G, Leijon A, et al. Acetabular margin changes in feline hip joints – Implications for radiographic diagnosis and development of osteoarthritis. Res. Vet. Sci. 2021;137:243-251.
Libicher M, Ivancic M, Hoffmann M, et al. Early changes in experimental osteoarthritis using the Pond-Nuki dog model: technical procedure and initial results of in vivo MR imaging. Eur. Radiol. 2005;15:1504-1504.
Guillot M, Moreau M, d’Anjou MA, et al. Evaluation of osteoarthritis in cats: novel information from a pilot study. Vet. Surg. 2012;41:328-335.
Kamishina H, Miyabayashi T, Clemmons RM, et al. High field (4.7 T) magnetic resonance imaging of feline hip joints. J. Vet. Med. Sci. 2006;68:285-288.
Bright SR. Arthroscopic-assisted management of osteochondritis dissecans in the stifle of a cat. J. Small Anim. Pract. 2010;51:219-223.
Staiger BA, Beale B. Use of arthroscopy for debridement of the elbow joint in cats. J. Am. Vet. Med. Assoc. 2005;226(3):401-403.
Ashwell M, Freire M, O’Nan AT, et al. Characterization of gene expression in naturally occurring degenerative joint disease-associated pain. Vet. J. 2019;243:42-47.
Guillot M, Taylor PM, Rialland P, et al. Evoked temporal summation in cats to highlight central sensitization related to osteoarthritis-associated chronic pain: A preliminary study. PLoS One 2014; 9(5): e97347. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0097347
Gruen ME, Alfaro-Cordoba M, Thomson AE, et al. The use of functional data analysis to evaluate activity in a spontaneous model of degenerative joint disease associated pain in cats. PLoS One 2017;12(1): e0169576. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0169576
Gruen ME, Messenger KM, Thomson AE, et al. Evaluation of serum cytokines in cats with and without degenerative joint disease and associated pain. Vet. Immunol. Immunopathol. 2017;183:49-59.
Lauren M. Meneghetti
Dr. Meneghetti gained her Doctorate of Veterinary Medicine degree at the Cummings School of Veterinary Medicine at Tufts University in 2020 อ่านเพิ่มเติม
Karen L. Perry
Dr. Perry completed her residency in small animal surgery at The Royal (Dick) School of Veterinary Studies, Edinburgh in 2010 อ่านเพิ่มเติม
Insect contamination of petfoods is a potential problem in tropical countries; this paper offers an overview of the situation and how the risks can be minimized
ความผิดพลาดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคนในการปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ บทความนี้จะพิจารณาว่าผู้คนจะมีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อสิ่งต่างๆเกิดความผิดพลาดขึ้นและที่สำคัญคือเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับความผิดพลาดได้ดีที่สุด
โรคไขมันพอกตับในแมวเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีอันตรายถึงชีวิต แต่การวินิจฉัยและรักษาที่ดีจะทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวก
การอาเจียนเพียงอย่างเดียวหรือการอาเจียนที่เกิดร่วมกับอาการแสดงทางคลินิกอื่นๆถือเป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยที่ทำให้เจ้าของต้องพาสัตว์มาที่โรงพยาบาล (presenting complaint) ในบทความนี้ผู้เขียนได้แบ่งปันคำแนะนำสำหรับแนวทางทางคลินิกอย่างเป็นระบบสำหรับกรณีอาเจียนทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง