วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 25.3 Other Scientific

การประเมินความเจ็บปวดในสุนัขด้วย Glasgow Pain Scale

เผยแพร่แล้ว 21/04/2021

เขียนโดย Jacqueline Reid

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español , English และ Українська

ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ที่สร้างความไม่พึงพอใจ ประกอบไปด้วย 3 มิติ เชิงประสาทสัมผัส-ใช้ในการบรรยายลักษณะเช่นตำแหน่ง ความรุนแรง คุณภาพ ระยะเวลา และเชิงอารมณ์-ใช้ในการพรรณนาความรู้สึกที่เกิดขึ้น (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

 

Pain assessment in the dog: the Glasgow Pain Scale

ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ที่สร้างความไม่พอใจแบ่งออกได้เป็น 3 มิติ 1:

  • เชิงประสาทรับรู้ (sensory)– บรรยายลักษณะของความเจ็บปวดเช่นตำแหน่ง ความรุนแรง คุณภาพ ระยะเวลา 
  • เชิงอารมณ์(motivational) – บรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากความเจ็บปวด 
  • เชิงการรับรู้(cognitive) – ผลของการรับรู้ต่อความเจ็บปวด

ความรู้สึกเจ็บปวดนั้นเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายของกระบวนการจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนของระบบประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการรับส่งกระแสประสาทระหว่างระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ความเจ็บปวดเชิงสรีระเพื่อการปรับตัว(adaptive physiological pain)เช่นการที่นิ้วหัวแม่โป้งเหยียบของแหลม มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างรวดเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดมากขึ้นแต่ความเจ็บปวดทางคลินิกที่ไม่ใช่เพื่อการปรับตัว(maladaptive clinical pain) เป็นผลมาจากความผิดปกติในการสื่อสารของระบบประสาทที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการจัดการที่ดีจะนำไปสู่ความไม่สบายตัวรวมไปถึงผลไม่พึงประสงค์เช่นการหายของแผลหรืออาการเจ็บป่วยที่ช้าลง ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ไมได้รับการจัดการส่งผลให้แผลหายช้า เพิ่มอัตราการเจ็บป่วย และโอกาสการพัฒนาไปสู่ความเจ็บปวดเรื้อรังที่รักษาได้ยาก ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนจึงมีความสำคัญมาก การจัดการความเจ็บปวดอย่างได้ผลต้องอาศัยการประเมินความเจ็บปวดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาหลังการผ่าตัดรวมถึงก่อนและหลังการให้ยาระงับความเจ็บปวดเพื่อประเมินผลของยา

แบบฟอร์มอย่างสั้นของ Glasgow Composite Measure Pain Scale (CMPS–SF) ได้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานในการตัดสินใจเพื่อการจัดการความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลันในสุนัข สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ง่ายและมีความน่าเชื่อถือในสถานการณ์จริง ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อซึ่งรวมถึงการเคลื่อนไหวและมีลักษณะที่ตรวจพบทั้งหมด 30 ข้อ ภายในแต่ละหัวข้อจะมีคะแนนสำหรับลักษณะที่ตรวจพบซึ่งสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเจ็บปวด ผู้ประเมินจะเลือกลักษณะที่ตรวจพบที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมหรืออาการของสุนัขมากที่สุด ควรจดผลการประเมินลงเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง

ระดับคะแนนความเจ็บปวดหาได้โดยนำคำแนนแต่ละหัวข้อมารวมกันซึ่งจะสูงสุดได้ที่ 24 (20 หากไม่สามารถประเมินการเคลื่อนไหวได้) คะแนนรวมมีประโยชน์ในการบอกถึงความจำเป็นในการใช้ยาระงับความเจ็บปวด ระดับคะแนนที่แนะนำให้เริ่มใช้ยาระงับความเจ็บปวดคือ 6/24 หรือ 5/20 การวัดระดับความเจ็บปวดควรทำเมื่อสุนัขมีสติรับรู้และเคลื่อนไหวได้เอง(ยกเว้นกรณีมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว) ดังนั้นจึงควรรออย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังถอดท่อ endotracheal tube ก่อนทำการประเมินทั้งนี้ควรพิจารณาเป็นรายตัวเพื่อทำการประเมินตามความเหมาะสม จากการที่ขั้นตอนในการประเมินจำเป็นต้องมีการคลำบริเวณแผลผ่าตัดและสังเกตการเคลื่อนไหว(ยกเว้นในกรณีที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้) จึงไม่ควรประเมินเกิน 1 ครั้งต่อชั่วโมงในช่วงแรกหลังการผ่าตัดเพื่อลดความเครียดที่ไม่จำเป็นต่อสุนัขและลดผลที่เกิดจากการรบกวนสุนัขบ่อยเกิน

ขั้นตอนแนะนำในการประเมินสุนัขหลังผ่าตัดด้วย CMPS–SF เป็นดังนี้ : 
 
  • ประเมินสุนัขหลังจากที่ฟื้นจากการวางยาสลบเต็มที่แล้ว(ระดับคะแนนอาจได้รับผลกระทบจากยาซึมและยาสลบที่เหลืออยู่)
  • หากคะแนนที่ประเมินได้มากกว่า 5/20 หรือ 6/24 แนะนำให้ใช้ยาระงับความเจ็บปวด
  • หลังให้ยาระงับความเจ็บปวดแล้วควรให้เวลายาออกฤทฺธิ์อีก 1 ชั่วโมงจึงทำการประเมินซ้ำ หากคะแนนที่ได้ลดลงกว่าระดับที่ควรให้ยา ให้ประเมินซ้ำในอีก 2 ชั่วโมงแต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นให้พิจารณาเพิ่มยาระงับควาเจ็บปวด
  • หลังจากนั้นทำการประเมินทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้นตามความเหมาะสม(ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของขั้นตอนการผ่าตัดและชนิด/วิธีการบริหาร/ระยะเวลาในการออกฤทธ์ของยาระงับความเจ็บปวด)และหลังการให้ยาระงับความเจ็บปวดแต่ละครั้ง
  • คะแนนที่ได้แนะนำให้ใช้ร่วมกับการตรวจร่างกายโดยไม่ควรละเว้นการให้ยาระงับความเจ็บปวดเพียงเพราะอ้างอิงจากผลคะแนนเพียงอย่างเดียว
 

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 15 ต.ค. - 15 ธ.ค. 2022


ทำแบบทดสอบ VET-CE

แบบฟอร์มอย่างสั้นของ Glasgow Composite Measure Pain Scale

แหล่งอ้างอิง

  1. Melzack R, Casey KL. Sensory, motivational and central control determinants of chronic pain: A new conceptual model. In: Kenshalo, DL (ed). The Skin Senses. Springfield, Illinois. Thomas;1968;423-443.
Jacqueline Reid

Jacqueline Reid

Jacqueline Reid, NewMetrica,กลาสโกลว์, สกอตแลนด์ อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 25.3 เผยแพร่แล้ว 15/06/2022

การประเมินความเจ็บปวดในสุนัขด้วย Glasgow Pain Scale

ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ที่สร้างความไม่พึงพอใจ ประกอบไปด้วย 3 มิติ เชิงประสาทสัมผัส-ใช้ในการบรรยายลักษณะเช่นตำแหน่ง ความรุนแรง คุณภาพ ระยะเวลา และเชิงอารมณ์-ใช้ในการพรรณนาความรู้สึกที่เกิดขึ้น ...

โดย Jacqueline Reid

หมายเลขหัวข้อ 25.3 เผยแพร่แล้ว 20/01/2022

การบาดเจ็บที่ศีรษะในแมว

ความสามารถในการจำแนกอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทมีความสำคัญในการจัดการแมวที่ได้รับการบาดเจ็บ...

โดย Simon Platt

หมายเลขหัวข้อ 25.3 เผยแพร่แล้ว 01/08/2021

การจัดการแผล 1: การจัดการภาวะฉุกเฉินกรณีกระดูกหักแบบเปิด

กระดูกหักแบบเปิดหมายถึงกระดูกแตกหักที่เปิดรับการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งมีสาเหตุมาจาก...

โดย James Roush

หมายเลขหัวข้อ 25.3 เผยแพร่แล้ว 01/08/2021

การจัดการแผล 2: แผลทะลุในสุนัข

แผลทะลุมักดูไม่อันตรายจากภายนอกแต่ภายใต้รูขนาดเล็กบนผิวหนังจะมีเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายโดยแรงมหาศาล...

โดย Bonnie Campbell