การคำนวณปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์
สาเหตุที่ปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์มีความสำคัญเป็นเพราะ...
หมายเลขหัวข้อ 24.3 Other Scientific
เผยแพร่แล้ว 20/12/2021
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Polski , Română , Español และ English
โรคอ้วนเป็นภาวะทุพโภชนาการที่สำคัญในสุนัขและแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยง มีรายงานว่าสุนัขและแมวเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมากถึงร้อยละ 35 ประสบปัญหาน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน โรคเรื้อรังหลายชนิดมีความเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนทั้งในสุนัขและแมวเช่น ข้ออักเสบ (osteoarthritis) โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน รวมถึงภาวะ hypothyroidism ในสุนัข (แปลโดย น.สพ. พีมะ มานิตยกุล)
โรคอ้วนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการที่ควรระวังในสุนัขและแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยง มีรายงานว่าสุนัขและแมวโตในประเทศสหรัฐอเมริการ้อยละ 35 ประสบปัญหาน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน 1234 โรคเรื้อรังบางชนิดมีความเกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในสุนัขและแมวเช่นข้ออักเสบ โรคหัวใจ รวมถึงภาวะไฮโปไทรอยด์ในสุนัข 56 การวิเคราะห์ประชากรนี้ทำเพื่อประเมินความเจ็บป่วยที่เกิดร่วมกับภาวะโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินของประชากรสัตว์เลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการรักษาของสุนัขและแมวที่เป็นสัตว์ป่วยใน (in-patient) ช่วงปี 2013 จากสถานพยาบาลสัตว์มากกว่า 850 แห่งในเครือ Banfield Pet Hospital ถูกใช้เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ body condition score (มีคะแนน 1-5 โดย 1หมายถึงผอมแห้ง 3 หมายถึงรูปร่างเหมาะสม และ 5 หมายถึงภาวะโรคอ้วน) เพศ (รวมถึงสถานะการทำหมัน) และการถูกวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางชนิดที่สนใจว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินได้แก่ เบาหวาน โรคหัวใจ(กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หัวใจวาย ลิ้นหัวใจรั่ว) ข้ออักเสบ และภาวะไฮโปไทรอยด์ (เฉพาะในสุนัข) ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk)คำนวณโดยใช้ prevalence ratio เปรียบเทียบความน่าจะเป็นของภาวะน้ำหนักเกินระหว่างสัตว์ที่มีโรคเรื้อรังและไม่มีโรคเรื้อรัง มีช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) อยู่ที่ 95 เปอร์เซ็นต์ผ่านการคำนวณสำหรับโรคแต่ละชนิดโดยมีการปรับสำหรับสถานะการทำหมันหรือไม่ทำหมัน
แมวมากกว่า 463,000 ตัวและสุนัขมากกว่า 2,281,000 ตัว เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลสัตว์ในเครือ Banfield Hospital ในปี 2013 การกระจายตัวด้านเพศและสถานะการทำหมันในประชากรแมวมีดังนี้ เพศเมีย ไม่ทำหมัน ร้อยละ 6.5 เพศผู้ ไม่ทำหมันร้อยละ 5.5 เพศเมีย ทำหมันร้อยละ 43.6 และเพศผู้ ทำหมันร้อยละ 44.4 การกระจายตัวด้านเพศและสถานะการทำหมันในประชากรสุนัขมีดังนี้ เพศเมีย ไม่ทำหมัน ร้อยละ 10.7 เพศผู้ ไม่ทำหมันร้อยละ 14.3 เพศเมีย ทำหมันร้อยละ 37.4 และเพศผู้ ทำหมันร้อยละ 37.6 ในประชากรแมวประกอบด้วยแมวเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือนร้อยละ 23.1 แมวรุ่นอายุ1-3ปี ร้อยละ 20.9 แมวโตอายุ 3-10 ปีร้อยละ 37.2 และแมวชราอายุ 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 18.8 ในประชากรสุนัขประกอบด้วยสุนัขเด็กร้อยละ 22.0 สุนัขรุ่นอายุ1-3ปี ร้อยละ 23.3 สุนัขโตอายุ 3-10 ปีร้อยละ 44.6 และสุนัขชราอายุ 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 10.1
แมวร้อยละ 30.3 และสุนัขร้อยละ 26.3 มีการบันทึกว่ามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน(มีค่า BCS เท่ากับ 4 หรือ 5) สัตว์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่สงสัยในการศึกษานี้มักมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนโดยความชุกของโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินจะสูงในสัตว์ที่มีโรคเรื้อรังเมื่อเทียบกับสัตว์ที่ไม่มีโรคเรื้อรัง (ตาราง 1) สัตว์ที่ทำหมันแล้วมีแนวโน้มจะพบทุกความผิดปกติได้มากกว่าสัตว์ที่ยังไม่ทำหมัน (P < 0.0001 สำหรับแต่ละการเปรียบเทียบในตาราง 2) มีค่า prevalence ratio ในแมวสูงกว่าในสุนัขอย่างเห็นได้ชัด ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินในสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้แก่ ข้ออักเสบ โรคหัวใจ และเบาหวาน เทียบกับไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในแมวมีค่าเท่ากับ 1.39 1.05 และ 1.79 ตามลำดับ ในขณที่สุนัขมีค่าเท่ากับ 1.97 1.55 และ 2.09 ตามลำดับ ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของภาวะไฮโปไทรอยด์ในสุนัขเท่ากับ 2.73 จากการที่ภาวะการทำหมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินจึงได้มีการปรับโดยเพิ่มค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของการเป็นโรคอ้วนร่วมกับโรคที่สนใจในประชากรสัตว์ที่ทำหมันแล้วและในประชากรสัตว์ที่ยังไม่ทำหมัน จากนั้นจึงนำค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ได้จากประชากรสองกลุ่มมาคำนวณอีกครั้งจะได้ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ปรับแล้ว ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก(weighted average) ของกลุ่มเสี่ยงสองกลุ่มทำให้ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ระหว่างโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินและโรคเรื้อรังแต่ละชนิดลดลง ยกเว้นในกรณีโรคหัวใจในแมว (p = 0.75) ที่มีโอกาสพบได้สูงพอกันทั้งกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินและไม่มีภาวะน้ำหนักเกิน (P < 0.0001)
โรคเรื้อรัง |
ความชุก โดยรวม ในประชากร แมว |
ร้อยละ ของแมว ที่ป่วยด้วย โรคเรื้อรัง ร่วมกับภาวะ น้ำหนักเกิน |
ร้อยละ ของแมว ที่ป่วยด้วย โรคเรื้อรัง โดยไม่มี ภาวะ น้ำหนักเกิน |
ความชุก โดยรวม ในประชากร สุนัข |
ร้อยละ ของสุนัข ที่ป่วยด้วย โรคเรื้อรัง ร่วมกับภาวะ น้ำหนักเกิน |
ร้อยละ ของสุนัข ที่ป่วยด้วย โรคเรื้อรัง โดยไม่มี ภาวะ น้ำหนักเกิน |
---|---|---|---|---|---|---|
โรคข้ออักเสบ |
0,7 % |
41,9 % |
30,2 % |
3,0 % |
50,2 % |
25,5 % |
โรคหัวใจ |
0,1 % |
31,8 % |
30,3 % |
0,3 % |
40,6 % |
26,3 % |
โรคเบาหวาน |
0,9 % |
54,0 % |
30,0 % |
0,3 % |
54,7 % |
26,2 % |
ภาวะไฮโปไทรอยด์ |
--- |
--- |
--- |
0,6 % |
71,0 % |
26,0 % |
โรคเรื้อรัง |
แมว
(n = 463,802) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ ของการตรวจพบ การป่วยเรื้อรัง แบ่งตามการทำหมัน (ทำหมัน หรือไม่ทำหมัน) |
แมว
(n = 463,802) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ ระหว่างโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน เมื่อตรวจพบ การป่วยเรื้อรัง โดยผ่านการ ปรับแต่งค่า ตามการทำหมัน |
สุนัข
(n = 2.281,039) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ ของการตรวจพบ การป่วยเรื้อรัง แบ่งตามการทำหมัน (ทำหมัน หรือไม่ทำหมัน) |
สุนัข
(n = 2.281,039) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ ระหว่างโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน เมื่อตรวจพบ การป่วยเรื้อรัง โดยผ่านการ ปรับแต่งค่า ตามการทำหมัน |
---|---|---|---|---|
โรคอ้วน/น้ำหนักเกิน | 5,60 (5,42 ; 5,79) | --- |
3,11 (3,09 ; 3,14)
|
--- |
โรคข้อเสื่อม | 8,60 (6,45 ;11,47) | 1,26 (1,21 ; 1,32) | 4,00 (3,89 ; 4,11) | 1,72 (1,70 ; 1,73) |
โรคหัวใจ | 3,10 (2,10 ; 4,60) | 0,98 (0,87 ; 1,10) | 1,72 (1,62 ; 1,83) | 1,44 (1,40 ; 1,48) |
โรคเบาหวาน | 5,03 (4,18 ; 6,05) | 1,65 (1,61 ; 1,70) | 3,50 (3,22 ; 3,81) | 1,84 (1,80 ; 1,88) |
ภาวะไฮโปไทรอยด์ |
--- |
--- |
4,32 (4,05 ; 4,60) |
2,38 (2,36 ; 2,41) |
สัตว์เลี้ยงที่ประสบปัญหาน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วนมีโอกาสที่จะเกิดโรคเรื้อรังบางชนิดได้ง่ายซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์และเจ้าของสัตว์ สัดส่วนสัตว์ป่วยที่เข้ารักษาที่สถานพยาบาลสัตว์ในเครือ Banfield Hospital ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางชนิดมีปริมาณน้อย ถึงแม้ว่าประชากรสัตว์ป่วยส่วนมากที่ทำการสำรวจจะมีอายุน้อยแต่ความชุกของโรคเรื้อรังที่พบไม่แตกต่างกับที่เคยทำการสำรวจ 1 2 3 7
การที่จะระบุความสัมพันธ์ระหว่างโรคเรื้อรังเหล่านี้กับโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินจำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร (multivariate analysis) ที่มีการควบคุมเพื่อลดตัวแปรกวน (confounder) รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นเช่นเพศ อายุ และสายพันธุ์ 1 2 5 6 การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์แบบตัดขวาง (cross-sectional study) จึงไม่สามารถบอกได้ว่าโรคเรื้อรังที่ทำการศึกษานั้นเกิดก่อน เกิดร่วมกัน หรือว่าเป็นผลตามมาจากภาวะโรคอ้วน อย่างไรก็ตามจากความเกี่ยวข้องที่พบได้ชัดจากสถิติทำให้การตรวจพบโรคเรื้อรังบางชนิดเป็นโอกาสที่สัตวแพทย์จะได้ให้ความรู้เจ้าของสัตว์เลี้ยงเกี่ยวกับความสำคัญของโภชนาการและการคุมน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่นที่มาพร้อมกับโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน
Emi Kate Saito
สัตวแพทย์หญิงไซโต สำเร็จการศึกษาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย ในปี 1997 เธอได้รับปริญญามหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุข จากมหาวิทยาลัยอีโมรีในปี 2001 อ่านเพิ่มเติม
สาเหตุที่ปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์มีความสำคัญเป็นเพราะ...
สัตวแพทย์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลสัตว์มักพบคำถามหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารสัตว์จากเจ้าของสัตว์เลี้ยงอยู่บ่อยครั้ง...
สาเหตุที่ปริมาณพลังงานในอาหารสัตว์มีความสำคัญเป็นเพราะ...
มนุษย์มีสัตว์เลี้ยงเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิทยา เช่น...