วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 29.3 ระบบต่อมไร้ท่อ

โภชนาการที่เหมาะกับแมวป่วยด้วยโรคเบาหวาน

เผยแพร่แล้ว 20/12/2021

เขียนโดย Veerle Vandendriessche

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Română , Español และ English

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายสัตว์อย่างมาก การเลือกอาหารให้เหมาะสมและการปรับวิธีการใช้ชีวิตสามารถช่วยให้ควบคุมความอาการของโรคได้ สัตวแพทย์ Veerle Vandendriessche อธิบายถึงหลักที่จะช่วยให้เข้าถึงสัตว์ป่วยและเจ้าของเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายโดยใช้หลักอย่างง่ายในบทความนี้ (แปลโดย น.สพ. พีระ มานิตยกุล)

Nutrition for the diabetic cat

ประเด็นสำคัญ

โรคเบาหวานชนิดที่สองในแมวพบได้ค่อนข้างบ่อย การรักษาที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องใช้ทั้งอินซูลินและการปรับอาหาร


อาหารที่เหมาะสมควรทำให้แมวมีน้ำหนักลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป รู้สึกอิ่มและคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี


บทนำ

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)เ ป็นโรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อในแมวที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบชนิดที่สองมากกว่าขนิดที่หนึ่งคิดเป็นร้อยละ 95 ของแมวป่วยด้วยโรคเบาหวาน แมวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานถือเป็นความท้าทายต่อทั้งสัตวแพทย์และนักโภชนาการเพราะมีปัจจัยที่ต้องควบคุมมากมายเพื่อให้ได้ภาวะ euglycemia และเพิ่มคุณภาพชีวิตรวมถึงยืดอายุขัยแมวออกไป

การรักษาที่ถูกต้องไม่ใช่เพียงการให้อินซูลินเท่านั้นแต่ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนทางโภชนาการ การจัดการแมวป่วยโดยรวมเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะลดขนาดของอินซูลินและทำให้แมวมีน้ำหนักที่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของและแมวเพื่อให้ประสบความสำเร็จโดยสัตวแพทย์ Veerle Vandendriessche ได้ให้คำแนะนำในการบรรลุเป้าหมายนี้ในฐานะสัตวแพทย์และนักโภชนาการ

โรคอ้วนและอาหาร

แมวหลายตัวที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่สองมักประสบปัญหาโรคอ้วนในระดับหนึ่ง (รูป 1) การเปลี่ยนอาหารเพื่อลดน้ำหนักจึงเป็นสิ่งจำเป็นแต่สิ่งสำคัญคือการลดน้ำหนักนั้นต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้แมวมีสุขภาพดี อาหารจะต้องทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด (glycemic load) ไม่สูงเกินไป มีปริมาณพลังงานพอเหมาะ มีปริมาณเส้นใยอาหารและโปรตีนสูง มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้น้อย นอกจากนี้ควรมีสารต้านอนุมูลอิสระและแอลคาร์นิทีน อาหารที่มีพลังงานต่ำจะทำให้เจ้าของสามารถให้อาหารสัตว์ได้ในปริมาณที่มากขึ้นร่วมกับเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำจะลดความหิวระหว่างมื้ออาหารได้ ในขณะที่เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จะทำหน้าที่ลดปริมาณน้ำตาลในเลือดโดยการชะลอการดูดซึมของลำไส้ อาหารยังต้องมีโปรตีนปริมาณสูงเพื่อป้องกันการสลายกล้ามเนื้อจากการที่ได้รับอาหารที่มีพลังงานน้อยลง ปริมาณโปรตีนที่เพิ่มขึ้นเมื่อควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมของแมวที่มากขึ้นจะส่งผลให้มีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น สารต้านอนุมูลอิสระในอาหารจะช่วยลดผลเสียของการอักเสบเรื้อรังที่เป็นผลจากความอ้วน และแอลคาร์นิทีนจะช่วยให้ร่างกายนำไขมันไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น

ตัวเลือกระหว่างอาหารเม็ดและอาหารเปียกควรตัดสินใจโดยการปรึกษากับเจ้าของแมวและพิจารณาถึงความชอบของแมวด้วย อาหารเปียกสามารถทำให้แมวรู้สึกอิ่มได้ง่ายกว่าอาหารแห้ง หากแมวไม่ขอบเนื้อสัมผัสของอาหารซองหรืออาหารกระป๋องสามารถใช้อาหารเม็ดแช่น้ำได้ ข้อดีอีกประการของอาหารเปียกคือช่วยในการทำงานของระบบปัสสาวะเพราะแมวที่เป็นโรคอ้วนและ/หรือเป็นโรคเบาหวานมักมีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดกลับมาเป็นซ้ำบ่อย สิ่งสำคัญอีกประการในการเลือกชนิดอาหารคือแมวควรกินได้อย่างสม่ำเสมอซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้อาหารชนิดเม็ดในแมวบางตัว

ปริมาณอาหารที่ให้ควรคำนวณจากน้ำหนักแมวที่เหมาะสม (Ideal bodyweight) โดยเริ่มจากปริมาณพลังงาน 293 kJ หรือ 70 kcal ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แมวควรมีน้ำหนักลดลงร้อยละ 0.5 ถึง 2 ของน้ำหนักเริ่มต้นในแต่ละสัปดาห์หลังเปลี่ยนอาหาร สัตวแพทย์ต้องบันทึกการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวเมื่อทำการนัดตรวจติดตามอาการ (รูป 2) และปรับปรมาณอาหารให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว

Most cats with type 2 diabetes are at least mildly obese, and it is essential to ensure that they are offered a diet which is specifically designed to help them lose weight.

รูป 1 แมวส่วนมากที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีภาวะอ้วนร่วมด้วย การให้อาหารที่ช่วยในการลดน้ำหนักจึงมีความจำเป็น © Shutterstock

All diabetic cats should be subject to regular weight checks, and the diet adjusted if necessary.

รูป 2 แมวที่เป็นโรคเบาหวานควรได้รับการชั่งน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม © Shutterstock

 

แนวทางการให้อาหาร

 

An automatic feeder allows a cat to be fed multiple small meals throughout the day, which will mimic its natural feeding behavior.

รูป 3 เครื่องให้อาหารอัตโนมัติช่วยให้แมวได้กินอาหารมื้อเล็กหลายมื้อในแต่ละวันซึ่งเลียนแบบพฤติกรรมการกินตามธรรมชาติ © Shutterstock

การควบคุมอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลสัตว์ป่วยโรคเบาหวานและมื้ออาหารควรสอดคล้องกับการฉีดอินซูลิน ในทางปฏิบัติควรให้อาหารมื้อใหญ่ 2 มื้อ โดยแต่ละมื้อคิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณอาหารที่แมวต้องได้รับต่อวันห่างกัน 12 ชั่วโมง ฉีดอินซูลินหลังแมวกินอาหารมื้อใหญ่ ปริมาณอาหารที่เหลือจากมื้อใหญ่นำมาให้ระหว่างวันเป็นมื้อเล็กหลายมื้อ

ในกรณีที่แมวกินอาหารเปียกจะส่งผลให้กิจวัตรของเจ้าของมีผลอย่างมากต่อการให้อาหารเนื่องจากอาหารเปียกจะสูญเสียความสดใหม่ แต่หากแมวกินอาหารเม็ด เจ้าของแมวต้องซื้อเครื่องให้อาหารอัตโนมัติหนึ่งเครื่องหรือมากกว่านั้นเพื่อที่แมวจะได้กินอาหารมื้อเล็กหลายมื้อในแต่ละวันสอดคล้องกับพฤติกรรมการกินตามธรรมชาติ (รูป 3) ข้อดีของการมีเครื่องให้อาหารอัตโนมัติมากกว่าหนึ่งเครื่องคือช่วยให้แมวได้ออกกำลังมากขึ้น แมวต้องเดินไปมาระหว่างเครื่องเพื่อกินอาหาร นอกจากนี้ยังควรตั้งรูปแบบการให้อาหารในแต่ละวันแตกต่างกันไปเพื่อที่แมวจะได้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะได้กินอาหารที่จุดใดมิฉะนั้นแมวจะนั่งเฝ้าหน้าเครื่องให้อาหารด้วยความเคยชิน

กระตุ้นการออกกำลังและการทำกิจกรรม

Veerle Vandendriessche

การเลือกระหว่างอาหารเม็ดและอาหารเปียกควรปรึกษากับเจ้าของแมวโดยยึดเอาความชอบและพฤติกรรมของแมวเป็นสำคัญ

Veerle Vandendriessche

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการกระตุ้นให้แมวได้ออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็น ในหลายกรณีการเพิ่มระดับการทำกิจกรรมของแมวสามารถทำได้ง่ายโดยการเปลี่ยนรูปแบบการให้อาหารดังต่อไปนี้

  • แนะนำให้เจ้าของให้อาหารแมวบนที่สูงแทนที่จะเป็นบนพื้นเพื่อที่แมวจะต้องกระโดดขึ้นไปกินอาหาร (รูป 4) ทั้งนี้ขึ้นกับความสามารถของแมวในการกระโดดด้วย สถานที่ให้อาหารควรปรับเปลี่ยนตามน้ำหนักแมว เมื่อแมวมีน้ำหนักลดลงควรทำให้ความยากในการกระโดดมากขึ้น
  • แบ่งอาหารออกเป็นหลายภาชนะแทนที่การใส่อาหารไว้ในภาชนะเดียวแล้ววางให้แมวกิน เจ้าของสามารถวางภาชนะได้ทั่วบริเวณที่แมวอยู่อาศัย วิธีนี้สามารถใช้ได้กับทั้งอาหารเม็ดและอาหารเปียก
  • แนะนำให้เจ้าของใช้ของเล่นฝึกอาหารเพื่อที่แมวจะต้องออกแรงมากขึ้นในการกิน (รูป 5)
  • ตกแต่งสถานที่อยู่อาศัยของแมวเท่าที่จะทำได้เพื่อจูงใจให้แมวออกสำรวจเป็นการกระตุ้นอย่างดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ (รูป 6)
Owner should provide the food on a raised area so that the cat has to jump to feed. This will help the cat expend more energy getting to its food.

รูป 4 การให้อาหารบนที่สูงทำให้แมวต้องกระโดดขึ้นมากินเป็นการกระตุ้นให้แมวใช้พลังงานมากขึ้น © Shutterstock

Feeding toys not only ensure that a cat expends energy in obtaining its food, they also provide mental stimulation.

รูป 5 ของเล่นฝึกหาอาหารไม่เพียงช่วยให้แมวได้ออกกำลังแต่ยังกระตุ้นการทำงานของสมองด้วย © Ingrid Johnson

Diabetic cats should be encouraged to maintain their activity levels; both physical activity and loss of body fat can contribute to remission of the diabetic state. By enriching a cat’s environment with things such as boxes, tunnels and climbing frames, the cat will be encouraged to explore its surroundings.

รูป 6 แมวที่เป็นโรคเบาหวานควรได้รับการกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆตามปกติ การออกกำลังและปริมาณไขมันในร่างกายที่ลดลงช่วยบรรเทาภาวะเบาหวานได้ การเติมเต็มสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัยด้วยกล่อง อุโมงค์ ต้นไม้สำหรับแมวปีนจะกระตุ้นให้แมวออกสำรวจมากขึ้น © Shutterstock

แมวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สองควรปรับเปลี่ยนแนวทางการให้อาหาร อาหารที่เหมาะสมต้องทำให้แมวมีน้ำหนักลดลงอย่างสุขภาพดี ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดเวลาในการเข้าถึงภาวะ euglycemia การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมของแมวโดยวิธีที่ง่ายดายจะช่วยให้แมวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีน้ำหนักลดลง

พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำแบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ได้ที่นี่

ทำแบบทดสอบ VET-CE

อ่านเพิ่มเติม

  1. Larsen JA. Risk of obesity in the neutered cat. J Feline Med Surg2017;19(8):779-783.

  2. Gottlieb S, Rand JS. Managing feline diabetes: current perspectives. Vet Med Res Reports 2018;9:33-42.

  3. de Godoy MRC, Shoveller AK. Overweight adult cats have significantly lower voluntary physical activity than adult lean cats. J Feline Med Surg2017;19(12):1267-1273.

  4. Gottlieb S, Rand JS, Marshall R, et al. Glycemic Status and Predictors of Relapse for Diabetic Cats in Remission. J Vet Intern Med 2015;29:184-192.

  5. Roomp K, Rand JS. Management of Diabetic Cats with Long-acting Insulin. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2013;43:251-266.

  6. Zoran DL, Rand JS. The Role of Diet in the Prevention and Management of Feline Diabetes. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2013;43:233-243.

Veerle Vandendriessche

Veerle Vandendriessche

A 2005 graduate of the Ghent University Faculty of Veterinary Medicine, Dr. Vandendriessche worked in private mixed practices for 8 years before completing a อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 29.3 เผยแพร่แล้ว 20/12/2021

โภชนาการที่เหมาะกับแมวป่วยด้วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายสัตว์อย่างมาก การ...

โดย Veerle Vandendriessche

หมายเลขหัวข้อ 29.3 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

โรคตับอ่อนทำงานบกพร่องในสุนัข

โรคตับอ่อนทำงานบกพร่องในสุนัขเป็นโรคที่ทำให้สภาพร่างกายทรุดโทรมและมักไม่ได้รับการวินิจฉัยในสุนัข...

โดย María-Dolores Tabar Rodríguez

หมายเลขหัวข้อ 29.3 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังในสุนัข

โรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัขและอาจะถูกมองข้าม..

โดย Cynthia RL Webster

หมายเลขหัวข้อ 29.3 เผยแพร่แล้ว 20/11/2021

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบในแมว

ภาวะดีซ่านในแมวไม่ได้เป็นเพียงแค่...

โดย Craig B. Webb