วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 31.2 Other Scientific

เจ้าของสุนัขกับโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปี

เผยแพร่แล้ว 02/09/2022

เขียนโดย Pascal Prélaud

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español , English และ 한국어

สัตวแพทย์ Pascal Prélaud ได้อธิบายในบทความเกี่ยวกับความสำคัญในการให้เจ้าของสุนัขได้มีส่วนร่วมในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปีในสุนัขซึ่งมีความท้าทายเทียบเท่ากับกระบวนการรักษาโรค

© Shutterstock

Regular, clear and honest communication between the owner and the veterinary surgeon is a keystone for successful management of the atopic dog.

ประเด็นสำคัญ

การสื่อสารที่ดีและรักษาความสัมพันธ์กับเจ้าของสุนัขเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปี


สถานพยาบาลสัตว์ต้องสร้างมาตรการในการเข้าถึงสัตว์ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปีอย่างทั่วถึง


บทนำ

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปีในสุนัข(canine atopic dermatitis ; CAD) เป็นอาการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลระยะยาวจากสัตวแพทย์รวมถึงมีสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าของสุนัข CAD มีความแตกต่างจากโรคเรื้อรังชนิดอื่นจากการที่ไม่มีวิธีการในกาารเฝ้าติดตามโรคที่เห็นพ้องต้องกันว่าดีที่สุด แต่มีความเห็นว่าการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าของสัตว์ป่วยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัยของวิธีการรักษาหากเจ้าของสัตว์ได้รับข้อมูลและมีส่วนร่วมมากพอ สิ่งสำคัญในการรักษา CAD ระยะยาวคือการสื่อสารอย่างเหมาะสมเพราะ CAD จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของเจ้าของสัตว์และสัตว์ป่วย 12 ข้อมูลที่ได้จากการทำแบบสอบถามปริมาณมากของสุนัขที่ป่วยด้วยโรค CAD (ผลงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์ของผู้เขียนบทความ,2013) แสดงให้เห็นว่าเจ้าของสุนัขส่วนมากไม่ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ(มีเพียงร้อยละ 4 ที่ทราบว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง) และพบข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยรักษาของสัตวแพทย์ได้บ่อย(มีสัตวแพทย์ร้อยละ 15 ทำการทดลองอาหาร และร้อยละ 6 ใช้ cyclosporine ในการรักษา)

ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับ CAD คือการวินิจฉัยโรคให้สำเร็จและทำให้เจ้าของสุนัขเข้าใจถึงธรรมชาติของโรคที่มีลักษณะเรื้อรังก่อนที่จะเริ่มทำการรักษาและติดตามอาการของผิวหนัง อย่างไรก็ตามมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้มากขณะทำการรักษา จากการศึกษาหนึ่งพบว่ามีความผิดพลาดพื้นฐาน 7 ประการที่ควรหลีกเลี่ยงในการจัดการโรคผิวหนังเรื้อรัง(ตารางที่ 1) 3 บทความนี้จะอธิบายอย่างสั้นเกี่ยวกับวิธีการต่างๆที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับการวินิจฉัยและรักษาเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่าเจ้าของสุนัขที่ป่วยด้วยโรค atopic จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและมีส่วนร่วมในการรักษาอย่างเต็มที่

 

ตารางที่ 1 แสดงข้อผิดพลาดพื้นฐานในการจัดการกับโรคผิวหนังเรื้อรัง 3
ขาดการควบคุมอาการโรคผิวหนังที่ปะทุ
สัตวแพทย์ไม่ได้คำนึงถึงความคาดหวังของเจ้าของสัตว์
ขาดความเข้าใจถึงสถานการณ์ในแง่คุณภาพชีวิต
ไม่เลือกใช้ยาตามหลัก evidence-based
ประเมินผลของการให้ความร่วมมือในการรักษาต่ำเกินไป
ไม่นำเรื่องค่าใช้จ่ายมาพิจารณาในการเลือกวิธีการวินิจฉัยและรักษา
มองปัญหาโรคผิวหนังเป็นเรื่องน่ารำคาญ

 

ขั้นตอนแรกคือการเตรียมการ

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปีหรือ atopy เป็นโอกาสที่ดีของสัตวแพทย์ทั้งในแง่ของเหตุผลทางการแพทย์ ทางวิชาการและมนุษยสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือการเข้าใจโรคอย่างถ่องแท้เพื่อทราบถึงทางเลือกในการวินิจฉัยและการรักษาที่มีส่งผลให้เกิดการสื่อสารกับเจ้าของสุนัขได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัตวแพทย์สามารถเพิ่มพูนความรู้ได้จากบทความทางวิชาการและเว็บไซต์ต่างๆเช่น www.icada.org 4 เตรียมเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการตรวจผิวหนังเช่นกล้องจุลทรรศน์ และ otoscope อุปกรณ์เสริมเพื่อให้การซักประวัติและการให้คำปรึกษาเป็นไปอย่างราบรื่นเช่นรายชื่อคำถาม หรือแผนภาพเปรียบเทียบ 567 ข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์สำหรับเจ้าของสุนัขเพื่อทำความเข้าใจ พึงระวังว่าข้อมูลในเว็บไซต์ทั่วไปเกี่ยวกับอะโทปีในสุนัขอาจเต็มไปด้วยศัพท์เฉพาะทาง มีความเจาะจงต่อผลิตภัณฑ์หรืออาหารยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งมากเกินไป ทางสถานพยาบาลควรจัดทำเว็บไซต์ของตนเองเพื่อให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่เจ้าของสุนัขที่เป็นโรคอะโทปี การนัดตรวจอาการต่อเนื่องควรทำโดยสัตวแพทย์คนเดิมและส่งต่อสุนัขไปยังผู้เชี่ยวชาญกรณีที่โรคมีความซับซ้อน

กระบวนการให้คำปรึกษาและการวินิจฉัย

ปัจจัยบางประการเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารกับลูกค้าที่ดีและสถานพยาบาลสัตว์จำเป็นต้องมีขั้นตอนที่เหมาะสมในการสื่อสารกับกรณีโรคผิวหนัง(ตารางที่ 2) การให้คำปรึกษาในครั้งแรกไม่ควรนานเกินไปเพราะไม่เกิดประโยชน์และไม่มีความจำเป็น ช่วงเวลาให้คำปรึกษาที่กระชับจะเกิดประสิทธิภาพที่สูงกว่าและควรเน้นที่ประเด็นสำคัญบางจุด สัตวแพทย์ต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาทั้งในอดีตและปัจจุบันที่สุนัขได้รับ จากนั้นเน้นที่ความคาดหวังของเจ้าของสุนัขรวมถึงข้อจำกัดต่างๆในการรักษา การอธิบายและอาจต้องมีการสาธิตการใช้ยาโดยเฉพาะเหตุผลของการใช้ยาและผลที่คาดว่าจะได้รับจากยาหรือการรักษานั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นสุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น CAD ซึ่งมาด้วยการปะทุของโรคผิวหนังเช่น otitis externa และ Malassezia pododermatitis การรักษาในครั้งแรกควรเน้นไปที่การจัดการเชื้อยีสต์ ยาหยอดหู และความง่ายในการรักษา หลีกเลี่ยงการพยายามอธิบายถึงการแพ้ กลไกการตอบสนองของภูมิคุ้มกันหรือเกราะตามธรรมชาติของผิวหนัง ควรทำการนัดหมายเพื่อติดตามผลการรักษาและพูดคุยหัวข้อเหล่านี้ในครั้งถัดไปตามความเหมาะสม

 

ตารางที่ 2 หลักสำคัญในการสื่อสารที่ดี
มีการฝึกฝนสำหรับสัตวแพทย์และผู้ช่วยสัตวแพทย์อย่างเหมาะสม
ภายในสถานพยาบาลสัตว์ต้องมีการเข้าถึงสัตว์ป่วยอย่างมีแบบแผน
การให้คำปรึกษาในครั้งแรกควรเน้นไปที่อาการโรคผิวหนังที่ปะทุขึ้นมา
ติดตามอาการของสุนัขทางโทรศัพท์ภายใน 48 ชั่วโมง
ปรับเปลี่ยนการรักษาตามความเหมาะสม
ใช้เครื่องมือที่ง่ายต่อการเฝ้าติดตามอาการ
นัดตรวจเพื่อติดตามอาการ


การนัดตรวจเพื่อติดตามอาการควรทำอย่างมีระเบียบแบบแผนเช่นเดียวกัน การติดตามอาการทางโทรศัพท์หรือวีดีโอคอลภายใน 48 ชั่วโมงหลังการเข้ารับคำปรึกษาครั้งแรกจะช่วยคงความสัมพันธ์ในเชิงบวกและสร้างความต่อเนื่องในการดูแลสัตว์ป่วย สัตวแพทย์ยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการติดตามประสิทธิภาพของการรักษา ความร่วมมือในการให้ยา และผลข้างเคียงอื่นๆ(รูป 1)

To maintain a positive relationship with the client, and ensure case continuity, a telephone or video call within 48 hours of the initial consult.

รูป 1 การติดตามอาการทางโทรศัพท์หรือวีดีโอคอลภายใน 48 ชั่วโมงหลังการเข้ารับคำปรึกษาครั้งแรกจะช่วยคงความสัมพันธ์ในเชิงบวกและสร้างความต่อเนื่องในการดูแลสัตว์ป่วย © Shutterstock

การตรวจร่างกายในอีก 2-3 สัปดาห์ถัดมาเป็นการติดตามผลของการรักษาอาการทางผิวหนังที่สุนัขมาพบสัตวแพทย์ในครั้งแรกและยังเป็นโอกาสในการพูดคุยเพื่อวางแผนการดูแลรักษาในระยะยาว สัตวแพทย์อาจใช้ระดับคะแนนคุณภาพชีวิต(quality-of-life scale) 8 ที่จะช่วยระบุปัจจัยที่สำคัญในการเลือกวิธีการรักษา(ตารางที่ 3) ข้อมูลต่างๆควรแจ้งเจ้าของอย่างเป็นขั้นตอน การให้คำปรึกษาในแต่ละครั้งควรเน้นไปที่ปัจจัยที่ให้ความสำคัญที่สุดก่อนเพื่อปรับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

ตารางที่ 3 แบบสอบถามคุณภาพชีวิตจะช่วยให้ระบุปัจจัยสำคัญที่ควรได้รับการดูแลก่อนเมื่อพบกับสุนัขที่ป่วยด้วยโรค CAD 8 การให้คะแนนในแต่ละปัจจัยจะอยู่ที่ 1-5
ปัจจัยจากสุนัข ปัจจัยจากเจ้าของ
ความรุนแรงของโรค
พฤติกรรม/อารมณ์
การนอนหลับ
พฤติกรรมการกิน
การเล่น/ทำกิจกรรม/play
ความสัมพันธ์ทางสังคม
การเปลี่ยนแปลทางพฤติกรรม
การรักษา
การเสียเวลา
ความเหนื่อยล้า
การทำกิจกรรมในครอบครัว
Cost
ความเครียดทางอารมณ์
ความไม่สบายกาย
ความสัมพันธ์ในครอบครัว

 

นอกเหนือจากการให้คำปรึกษา

ระดับคะแนนคุณภาพชีวิตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการติดตามอาการ 6

8 ซึ่งสามารถกรอกทางออนไลน์ ผ่านวีดีโอคอลหรือแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนได้ วิธีนี้มีประโยชน์มากกว่าการใช้แผนภาพรอยโรคหรือระดับอาการคันจากความเห็นของผู้เขียนบทความ การติดต่อกับเจ้าของสุนัขอย่างต่อเนื่องนั้นมีความสำคัญต่อการรักษา ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การวางแผนการรักษา (care contracts) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเฝ้าติดตามโรคเรื้อรังซึ่งเหมาะสมกับสุนัขที่เป็น CAD โปรแกรมนี้จะช่วยวางแผนการเงินในแต่ละเดือนโดยการแจกแจงค่าใช้จ่ายทำให้เจ้าของสุนัขได้มีส่วนร่วมและตรวจพบการปะทุของโรคผิวหนังหรืออาการแทรกซ้อนได้อย่างรวดเร็ว

สรุป

การพูดคุยให้คำปรึกษาที่ใช้เวลานานและการพึ่งพาทรัพยากรภายนอกมากเกินไปอาจไม่เกิดผลดีในการจัดการกับ CAD ตรงข้ามกับการแสดงความเข้าอกเข้าใจในมุมมองของเจ้าของสุนัขซึ่งมีประโยชน์กว่ามากร่วมกับความเข้าใจในโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปี ความพยายามในการมอบทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสม การใช้วิธีการต่างๆเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าของสุนัขจะช่วยในการจัดการโรคนี้ได้


พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 15 ก.พ. - 15 เม.ย. 2023

ทำเเบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Spitznagel MB, Solc M, Chapman KR, et al. Caregiver burden in the veterinary dermatology client: comparison to healthy controls and relationship to quality of life. Vet Dermatol 2019;30(1):3-e2.

  2. Linek M, Favrot C. Impact of canine atopic dermatitis on the health-related quality of life of affected dogs and quality of life of their owners. Vet Dermatol 2010;21:456-462.

  3. Ackerman L. Seven common mistakes to avoid in achieving long-term success with dermatology patients. Vet Med Sci 2015;1(1):2-8.

  4. Olivry T, DeBoer DJ, Favrot C, et al. Treatment of canine atopic dermatitis: 2015 updated guidelines from the International Committee on Allergic Diseases of Animals (ICADA). BMC Vet Res 2015;11(1):210.

  5. Noli C. Assessing Quality of Life for pets with dermatologic disease and their owners. Vet Clin North Am Small Anim Pract 2019;49(1):83-93.

  6. Favrot C, Linek M, Mueller R, et al. Development of a questionnaire to assess the impact of atopic dermatitis on health-related quality of life of affected dogs and their owners. Vet Dermatol 2010;21(1):63-69.

  7. Prélaud P. Dermatite Atopique Canine. Paris: Masson-Elsevier; 2017;1-184.

  8. Noli C, Minafo G, Galzerano M. Quality of life of dogs with skin diseases and their owners; Part 1: development and validation of a questionnaire. Vet Dermatol 2011;22(4):335-343.

Pascal Prélaud

Pascal Prélaud

ADVETIA Centre Hospitalier Vétérinaire, Velizy-Villacoublay, France อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 31.2 เผยแพร่แล้ว 11/02/2023

การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยากลุ่ม Staphylococcus ที่ผิวหนัง

การจัดการกับการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยากลุ่ม Staphylococcus ทางสัตวแพทย์ถือว่ามีความยากในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาต่างๆนั้นสามารถจัดการได้อย่างเป็นขั้นตอนตามคำแนะนำในบทความนี้

โดย Eleanor K. Wyatt และ Laura M. Buckley

หมายเลขหัวข้อ 31.2 เผยแพร่แล้ว 08/02/2023

ภาพรวมของอาการไม่พึงประสงค์จากอาหารที่พบในสุนัข

อาการไม่พึงประสงค์จากอาหารนั้นมักจะคล้ายคลึงกับความผิดปกติทางผิวหนังอื่นๆ การมีความรู้ที่ดีเกี่ยวกับพยาธิวิทยาและตัวเลือกในการวินิจฉัยนั้นจะเป็นกุญแจที่นำไปสู่ความสำเร็จในการรักษาอาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร

โดย Elisa Maina

หมายเลขหัวข้อ 31.2 เผยแพร่แล้ว 04/10/2022

ความท้าทายในการวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปีในสุนัข

สัตวแพทย์ส่วนมากมักประสบปัญหาในการวินิจฉัยเมื่อพบกับสุนัขที่คาดว่าเป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อะโทปีหรือเรียกอย่างสั้นว่าอะโทปี

โดย Ana Rostaher

หมายเลขหัวข้อ 31.2 เผยแพร่แล้ว 07/09/2022

การรักษาโรคขี้เรื้อนเปียกในสุนัขด้วย isoxazolines

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีสารเคมีชนิดใหม่หลายชนิดถูกนำมาใช้เพื่อการป้องกันปรสิตภายภายนอก

โดย Vincent E. Defalque