วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

หมายเลขหัวข้อ 32.1 ระบบทางเดินอาหาร

การปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในอุจจาระสำหรับสัตว์ที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร

เผยแพร่แล้ว 28/06/2023

เขียนโดย Linda Toresson

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Español , English และ 한국어

การปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระเริ่มเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษาปัญหาระบบทางเดินอาหาร ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังในสุนัข ดังที่คุณ Linda Toresson ได้กล่าวไว้ 

FMT given to a dog in a standing position

ประเด็นสำคัญ

การปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ (Fecal microbiota transplantation; FMT) ใช้เพื่อปรับปรุงความสามารถของเชื้อจุลชีพในลำไส้ในสัตว์รายที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร


FMT มีประสิทธิภาพในการเป็นแนวทางการรักษาร่วมในลูกสุนัขที่เกิดการติดเชื้อพาร์โวไวรัส (parvovirus infection) และประสบความสำเร็จในการรักษาสุนัขที่ปัญหาในระบบทางเดินอาหารแบบเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น


ในปัจจุบันมีประวัติการใช้ FMT ในแมวน้อยมาก


ข้อกำหนดที่ใช้ร่วมกันอ้างอิงตามหลักฐาน (Evidence-based protocols) ในการใช้ FMT ในทางสัตวแพทย์กำลังอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมร่วมกันโดยสมาคมระหว่างประเทศ


บทนำ

การปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ (Fecal microbiota transplantation; FMT) เป็นเทคนิคที่นำจุลชีพในลำไส้ของผู้บริจาค (donor) ปลูกถ่ายไปยังผู้รับที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เพื่อปรับปรุงจุลชีพในลำไส้ของผู้รับ และช่วยลดความรุนแรงของโรค การรักษาด้วยแนวทางนี้มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ฉุกเฉินของจีนตั้งแต่ปี ค.ศ.320 แต่ไม่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งมีการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุลชีพ (intestinal microbiome) และปัญหาความไม่สมดุลของจุลชีพ (dysbiosis) ภายในลำไส้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในศตวรรษนี้ การใช้ FMT ในการรักษาปัญหาสุขภาพของมนุษย์ มักใช้ในรายที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารมากที่สุด แต่ปัจจุบันมีการนำเทคนิคการรักษานี้ไปใช้ในการรักษาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติที่ตับ (hepatic disorders) กลุ่มอาการความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญพลังงาน (metabolic syndrome) การรักษาการติดเชื้อจุลชีพที่ดื้อยาปฏิชีวนะ (treatment of antibiotic-resistant microbes) ปัญหาทางจิตเวช (psychiatric disorders) และปัญหาโรคอ้วน (obesity) 1,2 ส่วนในสัตว์ได้มีการพิสูจน์การใช้ประโยชน์ในลูกสุนัขที่มีการติดเชื้อลำไส้อักเสบจากพาร์โวไวรัส (parvovirus enteritis) 3 และมีการนำไปใช้กับสุนัขที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง (chronic diarrhea) อีกด้วย 4,5 แต่ในแมวมีเพียงการศึกษาเดียวเท่านั้นที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ 6 ในขณะนี้ยังไม่มีคำแนะนำการใช้ที่อ้างอิงจากหลักฐาน หรือฉันทามติใดๆ เกี่ยวกับการคัดกรองผู้บริจาค ปริมาณการ FMT ที่เหมาะสม หรือแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน แต่เร็วๆนี้ เพิ่งมีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศขึ้นมา โดยมี Companion Animal Fecal Bank Consortium เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางดังกล่าวโดยจะออกข้อกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกันเร็วๆนี้ แม้จะไม่มีข้อตกลงร่วมกัน แต่ FMT ก็ถือเป็นแนวทางการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับสุนัขที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง และมีศักยภาพในการลดความรุนแรงของโรคได้ ในบทความนี้จะนำเสนอรายงานต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ FMT ในสุนัขที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร พร้อมกับอธิบายขั้นตอน และถกปัญหาเกี่ยวกับกรณีตัวอย่าง (clinical cases)

การปลูกถ่ายจุลชีพ (FMT) สำหรับความผิดปกติระบบทางเดินอาหาร

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ FMT ในการรักษามีประโยชน์มากมาย หนึ่งในการศึกษาในลูกสุนัขที่มีการติดเชื้อลำไส้อักเสบจากไวรัสพาร์โว (parvovirus enteritis) 3 โดยมีตัวอย่างลูกสุนัขจำนวน 66 ตัว จากโรงพยาบาลสัตว์จำนวน 2 แห่งที่มีการติดเชื้อพาร์โวไวรัส โดยแบ่งสุนัขออกเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม แล้วดำเนินการรักษาด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ได้แก่ การรักษาด้วยวิธีมาตรฐานเพียงอย่างเดียว และรักษาด้วยวิธีมาตรฐานร่วมกับการใช้ FMT จากผลการทดสอบพบว่าการรักษาร่วมกับการใช้ FMT สามารถลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล และระยะเวลาการฟื้นฟูร่างกายได้อย่างมีนัยยะสำคัญ (ระยะเวลาเฉลี่ย 3 วัน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ต้องใช้เวลา 6 วัน) และมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นในสุนัขกลุ่มที่ได้รับ FMT คิดจากสุนัขจำนวน 26 ตัวจากทั้งหมด 33 ตัว คิดเป็นร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นซึ่งรอดชีวิตจำนวน 21 ตัวจากทั้งหมด 33 ตัว คิดเป็นร้อยละ 64 แต่ความแตกต่างนี้ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ ในอีกการศึกษาหนึ่งทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระจากสุนัขที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลัน (acute diarrhea) จำนวน 18 ตัว ให้การรักษาด้วยการใช้ FMT เพียงอย่างเดียวพบว่าในการประเมินวันที่ 7 สามารถช่วยเพิ่มคะแนนอุจจาระ (fecal scores) ให้ดีขึ้นได้เทียบเท่ากับการใช้ยา metronidazole ในการรักษา และจนถึงการประเมินวันที่ 28 พบว่าสุนัขที่ได้รับการรักษาด้วย FMT ลักษณะของอุจจาระมีความสม่ำเสมอมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา metronidazole อย่างมีนัยยะสำคัญ 7 นอกจากนี้ FMT ยังช่วยในเรื่องการฟื้นฟูจุลชีพภายในลำไส้ให้กลับมาสู่ระดับที่ดีและเหมาะสมได้ ณ วันที่ 28 ในขณะที่สุนัขกลุ่มที่ได้รับยา metronidazole พบว่ายังมีการขาดสมดุลจุลชีพในลำไส้อยู่ (dysbiosis) เมื่อเทียบกับสุนัขสุขภาพดี และสุนัขกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย FMT เพียงอย่างเดียว แต่ทั้งนี้การศึกษาการรักษาด้วยการใช้ยาหลอกในสุนัขที่มีปัญหาท้องเสียเป็นเลือดแบบเฉียบพลันจำนวน 8 ตัว ไม่พบประโยชน์ในทางคลินิกจากการใช้ FMT เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก 8

ในส่วนที่เกี่ยวกับสุนัขที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง และ/หรือ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เรื้อรัง มีการเผยแพร่รายงานผู้ป่วย (case report) และรายงานกลุ่มผู้ป่วย (case series) ประเภทละ 1 รายงาน แสดงผลความสำเร็จเกี่ยวกับการรักษาด้วย FMT รวมถึงเผยแพร่บทคัดย่อทางวิทยาศาสตร์อีก 2 บท 4,5,9,10 ในรายงานกลุ่มผู้ป่วย สุนัขจำนวน 9 ตัวเป็นโรคลําไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease; IBD) ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการทดสอบด้วยอาหาร(to food trials) ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) หรือยาไซโคลสปอรีน (cyclosporine) 4.พบว่าภายหลังจากรักษาด้วยการใช้ FMT สุนัขมีอาการของ IBD (canine inflammatory bowel disease activity index; CIBDAI 11) ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ (แสดงในกล่องข้อความที่ 1) โดยพบว่าสุนัขจำนวน 7 ตัว จากทั้งหมด 9 ตัวที่เคยมี Fusobacterium spp. ในอุจจาระลดลงเมื่อเทียบกับอุจจาระของสุนัขที่เป็นผู้บริจาค FMT พบว่าภายหลังมีการเพิ่มขึ้นของ Fusobacterium spp. ในอุจจาระอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่ง Fusobacterium spp. เป็นจุลชีพที่เป็นตัวหลักในสร้างกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acids; SCFA) และสำคัญเป็นอย่างมากในลำไส้ของสุนัขที่มีสุขภาพดี หากสุนัขมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้แบบเรื้อรัง (chronic canine enteropathies) (แสดงในกล่องข้อความที่ 2) มักเกิดความผิดปกติของสมดุลจุลชีพ และมีการสร้าง SCFA ลดลง 12 ในการศึกษาสุนัขที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง จำนวน 16 ตัว พบว่าการเสียสมดุลของจุลชีพในลำไส้ จึงให้การรักษาด้วย FMT ภายหลังจากการรักษา 1 สัปดาห์ สุนัขมี fecal dysbiosis index* ในระดับที่ดีขึ้น 10 ส่วนการศึกษาย้อนหลังจากบทคัดย่ออื่นๆ 5,9 จะกล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนถัดไป

กล่องข้อความที่ 1 ระบบคะแนน canine inflammatory bowel disease activity index หรือ CIBDAI ประกอบด้วย 6 พารามิเตอร์ ให้คะแนนตั้งแต่ 0-3 จากนั้นจึงนำคะแนนมารวมกัน

โดยกำหนดให้

0 หมายถึง มีความปกติ

1 หมายถึง มีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

2 หมายถึง มีความเปลี่ยนแปลงเล็กปานกลาง

3 หมายถึง มีความเปลี่ยนแปลงมากอย่างรุนแรง

  • ท่าทาง/กิจกรรม 
  • ความอยากกินอาหาร 
  • การอาเจียน  
     
  • ลักษณะของอุจจาระ 
  • ความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระ 
  • น้ำหนักตัวที่ลดลง 
     
คะแนนโดยรวมแสดงถึงระดับความรุนแรงของ IBD 
0-3 4-5 6-8 9 or above
ไม่มีนัยสําคัญทางคลินิก  ลำไส้อักเสบเล็กน้อย  ลำไส้อักเสบปานกลาง  ลำไส้อักเสบรุนแรง 


กล่องข้อความที่ 2 กรดไขมันสายสั้น (SCFA) คืออะไร? 

กลุ่มแบคทีเรีย Faecalibacterium, Fusobacterium Blautia และ Turicibacter เป็นกลุ่มที่สำคัญในการสร้างกรดไขมันสายสั้น (short chain fatty acids; SCFAs) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในลําไส้ ให้พลังงานแก่เยื่อบุผิวลำไส้ (colonocytes) ช่วยเพิ่มการทำงานของเยื่อบุผิวกั้น (epithelial barrier) และเสริมความแข็งแรงให้รอยต่อระหว่างเซลล์ (tight junctions) และช่วยเคลื่อนไหวของลําไส้ (gut motility) ให้เป็นไปตามปกติ ในสุนัขที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เรื้อรังจะมีระดับปริมาณจุลชีพในลำไส้ที่ผลิต SCFA ลดลง รวมถึง Clostridium hiranonis ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกรดน้ำดีปฐมภูมิ (primary bile acids) ไปเป็นกรดน้ำดีทุติยภูมิ (secondary bile acids) ในลำไส้ 12

 

การใช้ FMT ในแมวมีข้อมูลอย่างจำกัดในปัจจุบัน (แสดงในรูปภาพที่ 1) ปัจจุบันมีเพียงหนึ่งการรายงานการใช้ และตอบสนองต่อ FMT ในแมวที่มีปัญหาลำไส้ใหญ่อักเสบและเป็นแผล ชนิดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (non-responsive ulcerative colitis)  6

5.5-year-old spayed female Norwegian Forest cat

รูปภาพที่ 1 แสดงภาพแมวอายุ 5 ปี 6 เดือน เพศหญิง ทำหมันแล้ว พันธุ์ Norwegian Forest cat ที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เรื้อรัง มีการปรับปรุงลักษณะของอุจจาระในทางที่ดีขึ้น ภายหลังจากได้รับ Fecal Microbiota Transplantations (FMT’s) จำนวน 3 ครั้ง ภายในระยะเวลาห่าง 10-14 วันในแต่ละครั้ง © Linda Toresson

การทำ FMT สำหรับ ภาวะลําไส้อักเสบเรื้อรังที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่ดี (poorly responsive chronic enteropathies)

ประสิทธิภาพของการทำ FMT ในกรณีโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Chronic enteropathy, CE) แสดงให้เห็นได้จากการศึกษาต่อไปนี้ หัวข้อนี้เกี่ยวข้องกับการทบทวนข้อมูลย้อนหลัง (retrospective data review) จากกลุ่มสุนัขภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง (CE) จำนวน 36 ตัว (อายุ 0.6-13 ปี มัธยฐาน 6.3) โดยสุนัขเหล่านี้ มีการทำ FMT เป็นการรักษาเสริมในโรงพยาบาลของผู้เขียนระหว่างปีค.ศ. 2019 - 2021 5 สุนัขที่ได้รับการรักษานั้นแสดงผลการรักษาทั้งที่ไม่ดี หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามหลักฐานเชิงประจักษ์มาตรฐาน และต้องมีระยะเวลาติดตามผลอย่างน้อย 3 เดือนหลัง FMT เพื่อรวมเข้าด้วยกัน เกณฑ์การคัดออกคือ (i) หากปริมาณการบำบัดแบบคงสภาพในปัจจุบันเพิ่มขึ้นในระหว่างช่วงเวลาที่ทบทวน (ii) ปรสิตในลำไส้ (intestinal parasites) หรือ (iii) เริ่มต้นการรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive treatment) หรือการรับประทานอาหารใหม่ควบคู่ไปกับการทำ FMT โดยการทำ FMT ที่เป็นมาตรฐานในการทดลองนั้น ใช้สุนัขผู้บริจาคสองตัวที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งสองตัวมีดัชนีดิสไบโอซิส* ต่ำกว่า -2 (normobiosis) 12

โดยสุนัขทั้ง 36 ตัวได้รับการรักษาภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง (CE) เป็นเวลาระหว่าง 1-110 เดือน (ค่าเฉลี่ย 21) เมื่อรวมเข้าด้วยกัน โดยข้อร้องเรียนหลักคือท้องเสีย (28/36) ความอ่อนล้า (15/36) และผลข้างเคียงต่างๆ ของยา (10/36 ). สุนัข 34/36 ตัวได้รับการรักษาด้วยคอร์ติโคสเตอรอยด์และ 20/36 ตัวได้รับยากดภูมิคุ้มกันทางเลือกที่สอง ซึ่งรวมถึง ยาไมโคฟีโนเลต ยาคลอแรมบูซิล ยาไซโคลสปอริน หรือยาอะซาไธโอพรีน สุนัข 26/36 ตัวได้รับอาหารไฮโดรไลซ์ สุนัข 8/36 ได้รับอาหาร Single protein  และสุนัข 2 ตัวได้รับอาหารที่ย่อยได้สูง 

สุนัข 34 ตัวได้รับการทำ FMT ระหว่าง 2 ถึง 5 ครั้ง โดยส่วนใหญ่ (สุนัข 26 ตัว) ได้รับการทำ FMT 3 ครั้ง และพบว่าสุนัข 2 ตัวที่ไม่พบการตอบสนองในการทำ FMT โดยอาการทางคลีนิกนั้นได้ใช้ CIBDAI ในการวิเคราะห์ พบว่าสุนัข 75% (27/36) หลังการรักษา พบบ่อยที่สุดคือระดับกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น (20/36), คะแนนอุจจาระดีขึ้น (19/36) และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและ/หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหาร (10/36) โดยกลุ่มหลังนี้เคยแสดงความไม่อยากอาหาร และ/หรือคะแนนหุ่นไม่ปกติ โดยสามารถลดระดับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในสุนัข 6 ตัวให้อยู่ในระดับที่ต่ำลงก่อน FMT สุนัขตัวหนึ่งซึ่งก่อนหน้านี้มีอาการท้องเสียบ่อยครั้งซึ่งจะตอบสนองต่อยาไทโลซินเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 21 เดือนหลังจากทำ FMT ครั้งที่สาม (กรณีที่ 2# ในส่วนถัดไป) และสุนัขอีกตัวหนึ่งที่ก่อนหน้านี้ได้รับการรักษาด้วยยาเมโทรนิดาโซลและยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน สามารถหยุดยาเมโทรนิดาโซลหลังการทำ FMT 

CIBDAI ที่รวมไว้คือ 2-17 (ค่ามัธยฐาน 6) และลดลงอย่างมีนัยสำคัญเป็น 1-9 (ค่ามัธยฐาน 2) ในช่วงเดือนแรกหลังจากการทำ FMT ครั้งล่าสุด ตัวอย่างอุจจาระเพื่อการวิเคราะห์ดัชนีดิสไบโอซิส* (ช่วงอ้างอิง ≤ 0) มีให้จากสุนัข 23 ตัวที่รวมไว้ โดยสุนัขที่ไม่ตอบสนองต่อ FMT ให้ผลลัพธ์ที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสุนัขที่ตอบสนองได้ดี และพบว่าก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า dysbiosis index สูง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่ลดลงโดยมีแบคทีเรียน้อยลง (ในคน ความหลากหลายของจุลินทรียจะมีระดับต่ำก่อนจะทำ FMT เป็นปัจจัยการพยากรณ์โรคเชิงลบสำหรับการตอบสนองต่อการทำ FMT 13) ผลข้างเคียงไม่รุนแรงและผิดปกติ สุนัข 6/36 ตัว (ตอบสนอง 3 ตัว และไม่ตอบสนอง 3 ตัว) มีอาการท้องเสียภายใน 48 ชั่วโมงหลังการทำ FMT โดยสุนัขสองตัวในจำนวนนี้แสดงอาการทางคลินิกของอาการปวดท้องหรือ rectal pain ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังการทำ FMT 

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัดหลายประการ เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) โดยไม่ได้ติดตามไมโครไบโอม (microbiome) และเมตาโบโลม (metabolome) และในการศึกษาครั้งนี้ยังไม่มีกลุ่มควบคุม (Control group) อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่า FMT สามารถใช้เป็นการรักษาทางเลือกในสุนัขที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรังที่ตอบสนองการรักษาไม่ดี (poorly responsive CE)

Linda Toresson

FMT ก็ถือเป็นแนวทางการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับสุนัขที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง และมีศักยภาพในการลดความรุนแรงของโรคได้

Linda Toresson

 ขั้นตอนการใช้ FMT 

 

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางที่ใช้ร่วมกันในการคัดกรองผู้บริจาค หรือระเบียบการใช้งาน FMT ที่ดีที่สุด 14 ดังนั้น คำแนะนำต่อไปนี้จะขึ้นจะอยู่กับประสบการณ์ทางคลินิกส่วนตัวของคุณ Linda Toresson และงานศึกษาวิจัย 5,7

การตรวจคัดกรองสุนัขผู้บริจาค

สุนัขผู้บริจาค จะต้องมีสุขภาพแข็งแรง มีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (body condition score) อยู่ในระดับปกติ และมีคะแนน CIBDAI อยู่ในช่วง 0-3 คะแนน (ตัวอย่างเช่น ต้องไม่มีอาการทางคลินิกของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารแบบเรื้อรัง) 11 ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจุดมุ่งหมายสำคัญ คือการหาสุนัขผู้บริจาคที่มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์มาก และจะต้องไม่มีเชื้อก่อโรคในอุจจาระ นอกจากนี้สุนัขผู้บริจาคจะต้องไม่ได้รับอาหารสด (raw food diet) ต้องไม่มีการใช้ยาต่อเนื่องในระยะยาว และจะต้องไม่ได้รับยาปฏิชีวนะใดอย่างน้อย 6 เดือนก่อนการบริจาค สำหรับแมวผู้บริจาคจะต้องเป็นเลี้ยงระบบปิดเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับปรสิตจากสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก หรือจากแหล่งอื่น รวมถึงปรสิตภายในลำไส้ ยกตัวอย่างเช่น Giardia intestinalis เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับจุลชีพที่มีประโยชน์ เช่น Clostridium hiranonis หรือแบคทีเรียอื่นๆ ที่ทำหน้าที่สร้างกรดไขมันสายสั้น ดังนั้นสุนัข หรือแมวที่เป็นผู้บริจาคควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วย the canine or feline dysbiosis index* 12 สำหรับสุนัขที่มาบริจาคอุจจาระที่โรงพยาบาลสัตว์ของผู้เขียนจะต้องปราศจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella spp., Campylobacter jejuni, Clostridioides difficile and Clostridium perfringens enterotoxinogen, และ Clostridium perfringens netF-toxin อย่างไรก็ตามการคัดกรองผู้บริจาคอย่างละเอียดดังกล่าวอาจไม่มีความจําเป็น สิ่งที่สำคัญคือการคัดกรองปรสิตในลำไส้ออก และจำเป็นต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และคุณภาพจำนวนมาก เนื่องจากความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการปลูกถ่ายจุลินทรีย์จากผู้ให้ไปสู่ผู้รับในการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบร่วมกับเป็นแผลในมนุษย์ 13 นอกจากนี้ยังมีรายงานในผู้ที่ได้รับ FMT ที่มีการตอบสนองดี พบว่ามีความหลากลายของจุลชีพในอุจจาระเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบระหว่างก่อนและหลังจากได้รับ FMT เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) และกรดน้ำดีชนิดทุติยภูมิ (secondary bile acids) ในอุจจาระภายหลังจากได้รับ FMT ด้วยเช่นกัน 

ปริมาณการใช้ และขั้นตอนการใช้ FMT 

ปริมาณอุจจาระของสุนัขที่ใช้สำหรับการทำ FMT มีความแตกต่างกันอย่างมาก 14 สำหรับผู้เขียนมักใช้อุจจาระ 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมของผู้รับ สำหรับแมว และสุนัขที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 30 กิโลกรัม แต่ในสุนัขผู้รับที่มีน้ำหนักเกิน 30 กิโลกรัม จะใช้อุจจาระของผู้ให้ปริมาณ 2-3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถึงแม้ว่าจะเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมากแต่เป็นปริมาณที่มีความเหมาะสมกับผลลัพธ์ที่ดีในสุนัขส่วนใหญ่ที่มีปัญหาลำไส้อักเสบเรื้อรัง 5 สำหรับสุนัขที่ได้รับบริจาค (recipient) จะต้องงดอาหารก่อนการบริจาค 6 ชั่วโมง แต่ยังสามารถกินน้ำได้ ก่อนทำการปลูกถ่ายควรให้สุนัขเดินเล่นเป็นเวลา 30-40 นาที หลังจากสุนัขพร้อมแล้วจะใช้ยา acepromazine ในขนาดต่ำ (0.1 มก./กก. ให้ทางใต้ผิวหนัง) ล่วงหน้าก่อน 15 นาที เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นใด ในสัตวแพทย์บางท่านอาจข้ามขั้นตอนนี้ไปหากสุนัขสงบ และไม่ดื้อ แต่การใช้ยา premedication มักทำให้สุนัขมีความผ่อนคลาย และได้พักผ่อนภายหลังจากการทำหัตถการ รวมถึงช่วยให้อุจจาระและเยื่อบุลำไส้มีโอกาสได้สัมผัสกันนานขึ้น จากประสบการณ์ของผู้เขียน ในแมวจำเป็นต้องได้รับยาสลบก่อนการให้ FMT 

การปลูกถ่ายอุจจาระสามารถส่งผ่านได้ทั้งทางเดินอาหารส่วนต้น หรือส่วนปลาย ในมนุษย์ช่องทางการให้ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น การติดเชื้อ Clostridioides difficile ซ้ำ ลำไส้อักเสบร่วมกับการเป็นแผล และการเกิดโรค Crohn’s disease 15,16,17, แต่ในรายงานการศึกษาสำหรับการทำ FMT ในสุนัขมักทำผ่านทางช่องทวาร (rectal route) โดยการสวน (retention enema) หรือการใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)

ในการทำ FMT สามารถใช้อุจจาระสด (fresh) หรือแช่แข็ง (frozen) ได้ หากเป็นอุจจาระแช่แข็งควรละลายข้ามคืนในช่องแช่เย็นก่อนนำมาใช้ (สำหรับในมนุษย์ที่มีการติดเชื้อ Clostridioides difficile-infection ซ้ำ ทำ FMT ด้วยการใช้อุจจาระแช่แข็ง พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับการใช้อุจจาระสด 18) ควรผสมอุจจาระ กับน้ำเกลือปราศจากเชื้อ (sterile saline) ปริมาณ 20-120 มล. จนกว่าจะได้เนื้อสัมผัสที่ต้องการก่อนนำไปกรองผ่านตะแกรง จากนั้นถูกสารละลายที่กรองแล้วด้วยกระบอกฉีดยาสะอาด (sterile syringe) ปริมาณ 60 มล. แล้วทิ้งไว้ ณ อุณหภูมิห้อง หรืออุ่นที่ที่อุณหภูมิร่างกายในอ่างน้ำร้อน (water bath) ก่อนใช้งาน การปลูกถ่ายจะทำผ่านทางทวารด้วยสายสวนขนาด 12-16 FG 7 สายสวนจะต้องมีการหล่อลื่นก่อนสอดใส่เข้าไปทางทวาร โดยสอดเข้าไปลึกในระดับที่ปลายสายอยู่บริเวณตำแหน่งซี่โครงซี่สุดท้าย (แสดงในรูปภาพที่ 2) สามารถทำ FMT ได้ในขณะที่สุนัขอยู่ในท่ายืน นอนหมอบ หรือนอนตะแคงข้างก็ได้ (แสดงในรูปที่ 3) จากนั้นเจ้าของจะได้รับคำสั่งให้จำกัดการเคลื่อนไหวของสุนัขเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มเวลาสัมผัสระหว่างเยื่อบุลําไส้และอุจจาระที่ปลูกถ่าย และควรงดอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากการมีอาหารในกระเพาะจะไปกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัว ที่โรงพยาบาลสัตว์ของผู้เขียนมีการกำหนดเรียบการปฏิบัติร่วมกัน (แสดงในกล่องข้อความที่ 3) สำหรับสุนัขที่มีปัญหาลำไส้อักเสบ จะได้รับ FMT จำนวน 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะใช้เวลาห่างกัน 10-20 วัน จากประสบการณ์พบว่าการรักษาเพียงครั้งเดียวมักไม่ได้ผลในการลดอาการทางคลินิกในสุนัข อย่างไรก็ตามหากไม่พบประโยชน์ หรือการพัฒนาอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นหลังจากการให้ FMT สองครั้ง จะไม่มีการให้ครั้งที่ 3 ต่อ 5

กล่องข้อความที่ 3 ระเบียบและวิธีการปฏิบัติที่แนะนำ FMT ของผู้เขียน 

  1. ใช้อุจจาระสด หรืออุจจาระแช่แข็งที่ผ่านการละลายแล้ว ปริมาณ 5 g/kg ของน้ำหนักตัวผู้รับที่ไม่เกิน 30 kg หากสุนัขมีน้ำหนักมากกว่า 30 kg จะใช้อุจจาระปริมาณ 2-3 g/kg
  2. นำหญ้าที่มองเห็นได้ หรือสิ่งอื่นๆ ออก จากนั้นผสมกับน้ำเกลือสะอาดเพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่เหมาะสม 
  3. กรองผ่านตะแกรง และดูดสารละลายด้วยหลอดฉีดยา ปริมาณ 60 มล. 
  4. สัตว์ตัวรับ (recipient) ควรเดินเป็นเวลา 30 นาทีก่อนการปลูกถ่าย 
  5. สัตว์ตัวรับ (recipient) ต้องงดอาหาร 6-8 ชั่วใมงก่อนการปลูกถ่าย 
  6. บริหารยา acepromazine ขนาดต่ำ  (แล้วแต่ดุลยพินิจของสัตวแพทย์) 
  7. เทียบความยาวสายสวนให้ปลายต่ออยู่บริเวณซี่โครงซี่สุดท้าย
  8. หล่อลื่นปลายท่อ สอดผ่านทวาร และทำการการปลูกถ่าย 
  9. แนะนําให้เจ้าของขับรถกลับบ้านช้าๆ สุนัขไม่ควรเดิน และกินอาหาร ประมาณ 2-3 ชั่วโมง 
Measure the rectal catheter before inserting it

รูปภาพที่ 2 ภาพขณะวัดความยาวท่อสวนก่อนการสอดใส่ วัดให้ปลายท่อควรอยู่บริเวณซี่โครงซี่สุดท้าย © Linda Toresson

FMT given to a dog in a standing position

รูปภาพที่ 3 ให้ FMT แก่สุนัขในท่ายืน สุนัขส่วนใหญ่สามารถยืนอยู่ในขั้นตอนนี้ได้ อาจไม่มีความจำเป็นต้องจับบังคับ © Linda Toresson

กรณีตัวอย่างที่ 1 – “Alma” 

สุนัขชื่อ Alma (แสดงในรูปภาพที่ 4)  สายพันธุ์ Golden Retriever เพศเมีย ทำหมันแล้ว เมื่ออายุ 3 ปีเกิดภาวะลำไส้อักเสบ ชนิดมีการตอบสนองต่อสเตียรอยด์ (steroid-responsive CE) ทานยา Methylprednisolone ขนาดยา 0.4 mg/kg วันเว้นวัน และทานอาหารที่ได้จากกระบวนการ hydrolysis ผลผลิตจากถั่วเหลือง (a hydrolyzed, soy-based diet) ต่อเนื่องจนถึงอายุ 5 ปี ซึ่งสามารถควบคุมอาการทางคลินิกได้ในระดับหนึ่ง แต่ Alma ยังคงมีอาการอ่อนเพลีย (lethargy) แสดงอาการปวดท้อง (signs of abdominal pain) มีการอาเจียนบ้างเป็นครั้งคราว (occasional vomiting) ท้องเสีย (diarrhea) และมีคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายที่น้อยกว่าอุดมคติ 15% (BCS 3.5/9) และกล้ามเนื้อลีบเล็กน้อยถึงปานกลาง สัตวแพทย์พยายามลดปริมาณยา methylprednisolone แต่ทุกครั้งแต่ลดปริมาณยาอาการทางคลินิกจะแย่ลง ในการรักษามีการใช้ยา mycophenolate เพื่อหวังให้กดการทำงานของภูมิคุ้มกัน แต่ก็ไม่สามารถช่วยลดขนาดยา methylprednisolone ที่ใช้อยู่ได้ เจ้าของตัดสินใจใช้ FMT ในการรักษาร่วม โดยการให้ผ่านการสวนทวาร (rectal retention enema) จำนวน 3 ครั้ง ทุก 10-14 วัน  Alma แสดงการตอบสนองต่อทางคลินิกในเชิงบวกอย่างรวดเร็ว มีการกระตือรือร้น และความตื่นตัวมากขึ้น และเล่นกับสุนัขตัวอื่นมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มน้ำหนักตัวได้ถึง 2 กิโลกรัม จึงสามารถค่อยๆ ลดขนาดยา methylprednisolone จะเหลือ 0.2 mg/kg ทานวันเว้นวัน การวิเคราะห์อุจจาระของ Alma พบว่ามี dysbiosis index* อยู่ที่ -1.2 จากระดับพื้นฐาน จัดอยู่ในระดับสมดุลจุลชีพปกติ (normobiosis) แต่มีความเปลี่ยนแปลงของปริมาณไขมันในอุจจาระ (fecal lipid profiles) เช่น สเตอรอล (sterols) กรดไขมัน (fatty acids) และความผิดปกติที่โดดเด่นที่สุด คือ ความเข้มข้นของ coprostanol ที่มากกว่าสุนัขปกติถึง 24 เท่า ในลำไส้แบคทีเรียจะเผาผลาญ Cholesterol ไปเป็น coprostanol ซึ่งดูดซึมได้ไม่ดีจากลำไส้ 19 ดังนั้น Alma จึงมีการเปลี่ยนแปลง Cholesterol ไปเป็น coprostanol มากเกินความเป็นจริง สองสัปดาห์หลังจาก FMT ครั้งที่ 1 ไขมันในอุจจาระก็กลับมาอยู่ในระดับปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับ BCS ที่กลับมาอยู่ในระดับอุดมคติ ผลในเชิงบวกของ FMT คงอยู่ได้นานถึง 7 เดือน แต่แล้ว Alma ก็กลับมาเซื่องซึม และน้ำหนักลดอีกครั้ง อย่างไรก็ตามการให้ FMT อีกครั้ง และการเพิ่มขนาดยา methylprednisolone ชั่วคราวก็สามารถช่วยลดอาการทางคลินิกลงได้ 

6-year-old spayed female Golden Retriever

รูปภาพที่ 4 สายพันธุ์ Golden Retriever อายุ 6 ปี เพศเมีย ทำหมันแล้ว มาทำการตรวจติดตามสุขภาพภายหลังจากการทำ FMT ชุดที่ 2  © Linda Toresson

กรณีศึกษาที่ 2 – “Moltas”

สุนัข ชื่อ Moltas เพศผู้ ยังไม่ทำหมัน สายพันธุ์ German Shepherd มีความทุกข์ทรมานจากอาการท้องเสียเรื้อรัง เป็นๆหายๆ มาตลอดชีวิต รวมถึงมีโรคภูมิแพ้ผิวหนัง การกลับมาเป็น pyoderma ซ้ำ และหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง  

เมื่อตอนอายุ 1 ปีครึ่ง Moltas ค่อนข้างมีความคงที่ของอาการทางคลินิก ด้วยการใช้ยา prednisolone ในปริมาณสูงทุกวัน แต่มี BCS เพียง 3/9 แต่เมื่อลดปริมาณยา prednisolone ก็ทำให้อาการทางคลินิกแย่ลง มีการลองใช้ยา Azathioprine แต่ก็ไม่ได้ผล และมีการทดสอบภูมิแพ้อาหารอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่ย่อยได้สูง และการทดสอบที่มาของแหล่งโปรตีนที่แตกต่างกัน ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการทำให้อาการดีขึ้น ในช่วงที่อาการท้องเสียแย่ที่สุด Moltas มีการตอบสนองต่อยา tylosin หรือ metronidazole และถูกส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลของผู้เขียน หลังจากนั้นสัตวแพทย์ให้เริ่มต้นกินอาหารจากไฮโรไลซ์โปรตีนชนิดใหม่ที่ไม่เคยได้รับมาก่อน (hydrolyzed novel protein diet) ร่วมกับการใช้ยา cyclosporine ซึ่งมีผลบางอย่างที่จะช่วยลดขนาดยา prednisolone ลงได้  

เมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง มีการเปลี่ยนยาจาก cyclosporine ไปเป็น chlorambucil ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงอาการทางคลินิกในทางที่ดีขึ้น และสามารถเพิ่มน้ำหนักให้ BCS อยู่ในระดับอุดมคติได้ ในระหว่างการใช้ chlorambucil ยา prednisolone จะถูกแทนที่ด้วย budesonide 3 มก. วันเว้นวัน (EOD) ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่า Moltas ได้รับการรักษาภูมิแพ้ด้วย allergen-specific immunotherapy อาบน้ำด้วย chlorhexidine เป็นประจำ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และทาน methylprednisolone ขนาด 4 มก วันเว้นวัน (EOD) เพื่อการบำรุง และรักษาปัญหาผิวหนัง

ในช่วง 2.5 ปีต่อมา Moltas มีอาการทางคลินิกค่อนข้างคงที่ แต่ยังมีอาการท้องร่วงกำเริบอยู่บ้างทุกสองสามเดือน ในช่วงที่อาการกำเริบจะควบคุมด้วยการเพิ่มปริมาณยา budesonide ชั่วคราว เป็น 3 mg เป็นประจำทุกวัน ระยะเวลา 3-10 วัน และมีการกลับมาของอาการทางคลินิกอย่างรุนแรงทุกๆ  6 เดือน ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน สัตวแพทย์จึงใช้ยา tylosin ขนาดยา 25 mg/kg ทุกวัน วันละครั้ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน เพื่อควบคุมอาการ

จนเมื่ออายุ 5 ปี อาการทางคลินิกของระบบทางเดินอาหารมีการแสดงมากขึ้น เช่น มีอาการท้องเสีย การสำรอกอาหาร และง่วงซึมทุกเดือน ซึ่งจำเป็นต้องมีการให้ยาร่วมกันหลายตัวบ่อยมากขึ้นในการควบคุมโรค ด้วยการใช้ tylosin alongside budesonide ขนาดยา 3 mg ทานวันเว้นวัน methylprednisolone ขนาด 4 mg ทานวันเว้นวัน chlorambucil ขนาด 3 mg ทานวันเว้นวัน และ cobalamin ขนาด 1 mg ทานสัปดาห์ละครั้ง 

สำหรับการตรวจร่างกายเบื้องต้น พบว่าสุนัขแสดงอาการปวดท้องเมื่อคลำตรวจ ส่วนการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการตรวจวิเคราะห์ซีรัม พบภาวะอัลบูมินต่ำเล็กน้อย (mild hypoalbuminemia) ตรวจวัดได้ 28 g/L โดยมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ 30-45 g/L และมีโปรตีนในซีรัมต่ำเล็กน้อยถึงปานกลาง (mild-moderate decrease in total protein) วัดได้ 51 g/L โดยมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ 61-75 g/L ซึ่งเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ซีรัมเมื่อ 6 เดือนก่อนค่าเหล่านี้ยังอยู่ในระดับปกติ รวมไปถึงค่าความเข้มข้นโคบาลามินในซีรัม (Serum cobalamin concentrations) ก็ลดลงอย่างมีนัยะสำคัญ ปัจจุบันเหลือเพียง 221 pmol/L เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานที่ 180-708 pmol/L ถึงแม้จะมีการบำรุงเป็นประจำทุกสัปดาห์ และตรวจไม่พบปรสิตในอุจจาระ 

เสริม cobalamin ให้ Moltas ด้วยการกิน 1mg วันเว้นวัน และทำ FMT รอบที่ 3 ผ่านการสวนทวาร 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 14 วัน หลังจากการให้ FMT ครั้งที่ 1 สามารถช่วยหยุดอาการสำรอกได้ และหลังจากการให้ FMT ครั้งที่ 2 มีคุณภาพของอุจจาระดีขึ้น มีความกระฉับกระเฉงและขี้เล่นมากกว่าเดิม (แสดงในรูปภาพที่ 5) หลังจากการให้ FMT ครั้งที่ 3 ไม่พบอาการท้องเสีย และเมื่อคลำตรวจท้องก็ไม่แสดงอาการปวดแล้ว นอกจากนี้ค่าอัลบูมินซีรัม และโปรตีนในซีรัมก็กลับมาอยู่ในช่วงค่ามาตรฐาน หลังจากนั้น 21 เดือนถัดมา Moltas มีอาการทางคลินิกคงที่มากขึ้น ถึงแม้อาจยังมีอาการท้องเสียอยู่บ้างทุก 3 เดือน ครั้งละ 1-2 วัน และสามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่หลังจากนั้นคุณภาพของอุจจาระก็แย่ลงเรื่อยๆ และเกิดอาการเป็นๆหายๆ อย่างรุนแรง การรักษาด้วยการเพิ่มขนาดยา corticosteroids แต่ก็ยังมีช่วยได้เพียงเล็กน้อย จึงดำเนินการให้ยา tylosin สัปดาห์ละครั้ง และให้ FMT อีกรอบหนึ่ง จำนวน 3 ครั้ง ทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้นเหมือนการรักษาก่อนหน้า 

5-year-old intact German Shepherd

รูปภาพที่ 5 สุนัข สายพันธุ์ German Shepherd อายุ 5 ปี มีอาการท้องเสียเป็นๆหายๆ หลังจากการให้ FMT รอบ 2 มีคุณภาพอุจจาระดีขึ้น สุนัขมีความกระชับกระเฉง และร่าเริงมากขึ้น © Linda Toresson

กรณีศึกษาที่ 3 – ”Harold” 

สุนัขชื่อ Harold พันธุ์ French Bulldog เพศผู้ ยังไม่ทำหมัน (แสดงในรูปภาพที่ 6) มีการติดเชื้อโปรโตซัว Giardia intestinalis อย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่วัยเด็ก หลังจากกำจัดเชื้อได้แล้ว สุนัขยังมีอาการท้องเสีย (diarrhea) ถ่ายเป็นเลือด (melena) และน้ำหนักลด (weight loss) สัตวแพทย์ดำเนินการรักษา Harold ด้วยการใช้ยา metronidazole และ corticosteroids ซึ่งช่วยให้อาการทางคลินิกดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อตอน Harold อายุ 1 ปี สัตวแพทย์ทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ (full-thickness surgical biopsies) จากลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ จากผลตรวจวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยา พบ granulomatous colitis และ moderate lymphocytic-plasmacytic enteritis moderate lacteal dilation สัตวแพทย์จึงเริ่มให้ยา Sulfasalazine แล้วส่งตัวไปรักษาคลินิกพิเศษเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารที่โรงพยาบาลของผู้เขียน เมื่อตอน Harold อายุ 1 ปีครึ่ง ร่วมกับเริ่มมีอาการซึม และคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (BCS) อยู่ที่ 3/9 จึงเริ่มต้นการรักษาด้วยคอร์สการใช้ยา enrofloxacin จนครบกำหนดเวลาเวลา 6 สัปดาห์ เพื่อรักษาอาการ granulomatous colitis ซึ่งช่วยปรับปรุงอาการทางคลินิกให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเพิ่มน้ำหนักด้วย หลังจากจบคอร์สการรักษามีการนัดตรวจติดตามผล Harold มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีคะแนน BCS อยู่ที่ 4/9 และไม่มีการแสดงอาการทางคลินิก จากนั้น 3 สัปดาห์ถัดมาสุนัขกลับมาแสดงอาการท้องเสีย (ลักษณะจากลำไส้ใหญ่อักเสบ) และอาเจียนอีกครั้ง เนื่องจากตอนที่มีการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อลำไส้ใหญ่ไม่ได้ส่งไปเพาะเชื้อ และทดสอบการดื้อยา จึงไม่ทราบว่าสุนัขมีเชื้อแบคทีเรีย กลุ่ม multidrug-resistant E. coli ก่อนการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ enrofloxacin ซึ่งในระหว่างการรักษา พบการดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolones อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าอาจมีเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม multidrug-resistant E. coli เป็นหนึ่งในจุลชีพที่มีอยู่ในลำไส้ 20 มีการรายงานว่า สุนัข พันธุ์ Boxer ที่มีภาวะ granulomatous colitis มักมีกลุ่มแบคทีเรีย E. coli  ที่ดื้อยากลุ่ม fluoroquinolone (fluoroquinolone-resistant E. coli) สัมพันธ์กับความล้มเหลวในการตอบสนองการรักษาด้วยยา enrofloxacin ร่วมกับดื้อต่อยาปฏิชีวนะ chloramphenicol rifampicin และ trimethoprim-sulfa 20, ซึ่งการดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิดนำไปสู่ความล้มเหลวในการรักษา และอาจมีความจำเป็นต้องการุณยฆาตตามมา ยา Carbapenem ได้รับรายงานว่าเป็นยาปฏิชีวนะทางเลือกใช้ในสุนัขที่มีอาการ granulomatous colitis และมีเชื้อ fluoroquinolone-resistant E. coli 21 แต่เป็นยาปฏิชีวนะประเภทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแพทย์ของมนุษย์ และห้ามใช้ในทางสัตวแพทย์ในหลายประเทศ 

ต่อมาเจ้าของยินดีที่จะลองรักษาด้วย FMT ในช่วงแรกหลักจากการให้ FMT สุนัขมีอาการท้องอืด อุจจาระมีกลิ่นเหม็น และมีการอาเจียนเล็กน้อย ถึงแม้ว่าคุณภาพของอุจจาระจะดีขึ้นเล็กน้อย แต่อาการท้องเสียก็กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งหลังจากผ่านไป 14 วัน หลังจากนั้นให้ FMT ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 16 วัน สุนัขมีอาการคล้ายกับการให้ครั้งแต่ แต่ครั้งนี้คุณภาพอุจจาระที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ร่วมกับการให้ multi-strain probiotic และหลังจากการให้ FMT ครั้ง 3 สุนัขไม่แสดงผลข้างเคียง และลักษณะอุจจาระปกติ Harold มีความตื่นตัว และกระตือรือร้นมากขึ้น ในการสุขภาพครั้งล่าสุด (ภายหลังจากการให้ FMT ครั้งที่ 3) Harold มีการใช้ multi-strain probiotic อย่างต่อเนื่อง เว้นวันเว้น ร่วมกับการทานอาหารสูตร hydrolyzed protein ซึ่งพบว่าสุนัขไม่มีการแสดงความผิดปกติอีกโดยสมบูรณ์

Granulomatous colitis is mostly seen in Boxer dogs or French Bulldogs

รูปภาพที่ 6 ภาวะ Granulomatous colitis มักพบในสุนัขพันธุ์ Boxer หรือ French Bulldogs © Shutterstock

กรณีศึกษาที่ 4 – Ina

สุนัขชื่อ Ina สายพันธุ์ German Shepherd เพศเมีย ยังไม่ทำหมัน แสดงอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังตั้งแต่อายุ 1 ปี ซึ่งมีการตอบสนองต่อการใช้อาหารสูตร hydrolyzed protein และเสริมด้วย multi-strain probiotic  เมื่ออายุ 2 ปี Ina มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และเข้ารับการรักษาในคลินิกใกล้บ้าน ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ (ไม่ทราบตัวยา) ภายหลังจากการใช้ยาปฏิชีวนะสุนัขมีอาการท้องอืด (flatulent) ซึม (lethargic) และเบื่ออาหาร (hyporectic) ซึ่งอาการคล้ายกับตอนเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรังครั้งแรกๆ จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นการเสียสมดุลจุลชีพในลำไส้ (Intestinal dysbiosis) ภายหลังจากการให้ยาปฏิชีวนะ และจากการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอุจจาระ พบว่า dysbiosis index อยู่ที่ 6.2 (แสดงในรูปภาพที่ 7) แสดงให้เห็นถึงการเสียสมดุลจุลชีพภายในลำไส้อย่างรุนแรง (severe dysbiosis) Ina ยังคงมีอาการซึม และเบื่ออาหารต่อเนื่อง 6 สัปดาห์หลังจากสิ้นสุดการใช้ยาปฏิชีวนะ และมีกำหนดการให้ FMT ต่อไป ภายหลังจากการให้ FMT ครั้งแรก สุนัขมีอาการทางคลินิกดีขึ้นและกลับมาเป็นซ้ำอีก ก่อนการให้ FMT ครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามหลังจากการรักษาด้วย FMT อีกสองครั้ง สุนัขมีอาการตื่นตัวอย่างมาก และมีความอยากอาหารปกติ รวมถึงดัชนี dysbiosis index ก็เปลี่ยนจากระดับรุนแรงเป็นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ภายหลังจากการให้ FMT ครั้งที่ 1 และตามด้วยสมดุลชีพปกติ (normobiosis) หลังจาก FMT ครั้งที่ 2 (แสดงในรูปที่ 7) 

Dysbiosis index of a 2-year-old intact female German Shepherd dog with food-responsive enteropathy

รูปภาพที่ 7 แสดง Dysbiosis index ของสุนัขอายุ 2 ปี เพศเมีย ยังไม่ทำหมัน สายพันธุ์ German Shepherd ที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ที่มีการตอบสนองต่ออาการ สุนัขแสดงอาการเบื่ออาการ ซึม และมีการเสียสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ภายหลังจากการได้รับการรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วยยาปฏิชีวนะ จากรูปแสดงให้เห็นว่าภายหลังจากการได้รับ FMT ครั้งที่ 2 ระดับความสมดุลจุลชีพในลำไส้กลับมาสู่ระดับปกติ (normobiosis) โดยดูได้จากแถบสีเทาที่แสดงถึงมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลจุลชีพในลำไส้เล็กน้อย (mild dysbiosis) © Linda Toresson/redrawn by Sandrine Fontègne

บทสรุป

การปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในลำไส้จากอุจจาระ (Fecal microbiota transplantation; FMT) เป็นแนวทางการรักษาในสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหารโดยมีการศึกษาที่ตีพิมพ์รายงานผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์น้อยมาก ในปัจจุบันปริมาณการใช้ FMT หรือวิธีการใช้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสัตวแพทย์แต่ละท่าน ซึ่งแนวทางการรักษาที่ต้องใช้ร่วมกันกำลังอยู่ระหว่างการลงมติ การให้ FMT สามารถใช้ได้ในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นลูกสุนัขที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัส (parvovirus infection) และเป็นประโยชน์ต่อการรักษาสุนัขจำนวนมากที่มีภาวะลําไส้อักเสบเรื้อรังที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่ดี (poorly responsive chronic enteropathies) ซึ่งการรักษาด้วย FMT จะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในบางกรณี 

*Dysbiosis Index จัดทำโดยห้องปฏิบัติการเฉพาะทางระบบทางเดินอาหาร มหาวิทยาลัย Texas A&M University ประเทศสหรัฐอเมริกา

References

  1. Zhang Z, Mocanu V, Cai C, et al. Impact of fecal microbiota transplantation on obesity and metabolic syndrome – a systematic review. Nutrients 2019;11(10):E2291. DOI:10.3390/nu11102291

  2. Green JE, Davis JA, Berk M, et al. Efficacy and safety of fecal microbiota transplantation for the treatment of diseases other than Clostridium difficile infection: a systematic review and meta-analysis. Gut Microbes 2020;12(1):1-25. DOI:10.1080/19490976.2020.1854640

  3. Pereira GQ, Gomes LA, Santos IS, et al. Fecal microbiota transplantation in puppies with canine parvovirus infection. J. Vet. Intern. Med. 2018;32(2):707-711. DOI:10.1111/jvim.15072

  4. Niina A, Kibe R, Suzuki R, et al. Fecal microbiota transplantation as a new treatment for canine inflammatory bowel disease. Biosci. Microbiota Food Health 2021;40(2):98-104. DOI:10.12938/bmfh.2020-049

  5. Toresson L, Steiner JM, Lidbury JA, et al. Clinical effects of fecal microbiota transplantation in dogs with chronic enteropathy. J. Vet. Intern. Med. 2021;36(6):3090.

  6. Furmanski S, Mor T. First case report of fecal microbiota transplantation in a cat in Israel. Isr. J. Vet. Med. 2017;72(3):35-41.
  7. Chaitman J, Ziese AL, Pilla R, et al. Fecal microbial and metabolic profiles in dogs with acute diarrhoea receiving either fecal microbiota transplantation or oral metronidazole. Front. Vet. Sci. 2020;7:192. DOI:10.3389/fvets.2020.00192
  8. Gal A, Barko PC, Biggs PJ, et al. One dog’s waste is another dog’s wealth: A pilot study of fecal microbiota transplantation in dogs with acute hemorrhagic diarrhoea syndrome. PloS One. 2021;16(4):e0250344. DOI:10.1371/journal.pone.0250344
  9. Niina A, Kibe R, Suzuki R, et al. Improvement in clinical symptoms and fecal microbiome after fecal microbiota transplantation in a dog with inflammatory bowel disease. Vet. Med. Auckl. NZ. 2019;10:197-201. DOI:10.2147/VMRR.S230862
  10. Chaitman J, Guard BC, Sarwar F, et al. Fecal microbial transplantation decreases the dysbiosis index in dogs presenting with chronic diarrhoea (abstract). J. Vet. Intern. Med. 2017;31:1287.
  11. Jergens AE, Schreiner CA, Frank DE, et al. A Scoring Index for disease activity in canine inflammatory bowel disease. J. Vet. Intern. Med. 2003;17(3):291-297. DOI:10.1111/j.1939-1676.2003.tb02450.x
  12. AlShawaqfeh MK, Wajid B, Minamoto Y, et al. A dysbiosis index to assess microbial changes in fecal samples of dogs with chronic inflammatory enteropathy. FEMS Microbiol. Ecol. 2017;93(11). DOI:10.1093/femsec/fix136
  13. Paramsothy S, Nielsen S, Kamm MA, et al. Specific bacteria and metabolites associated with response to fecal microbiota transplantation in patients with ulcerative colitis. Gastroenterology 2019;156(5):1440-1454.e2. DOI:10.1053/j.gastro.2018.12.001
  14. Salavati Schmitz S. Observational study of small animal practitioners’ awareness, clinical practice and experience with fecal microbiota transplantation in dogs. Top. Comp. Anim. Med. 2022;47:100630. DOI:10.1016/j.tcam.2022.100630
  15. Chapman BC, Moore HB, Overbey DM, et al. Fecal microbiota transplant in patients with Clostridium difficile infection: A systematic review. J. Trauma Acute Care Surg. 2016;81(4):756-764. DOI:10.1097/TA.0000000000001195
  16. Imdad A, Nicholson MR, Tanner-Smith EE, et al. Fecal transplantation for treatment of inflammatory bowel disease. Cochrane Database Syst. Rev. 2018;11:CD012774. DOI:10.1002/14651858.CD012774.pub2
  17. Fehily SR, Basnayake C, Wright EK, et al. Fecal microbiota transplantation therapy in Crohn’s disease: Systematic review. J. Gastroenterol. Hepatol. 2021;36(10):2672-2686. DOI:10.1111/jgh.15598
  18. Tang G, Yin W, Liu W. Is frozen fecal microbiota transplantation as effective as fresh fecal microbiota transplantation in patients with recurrent or refractory Clostridium difficile infection: A meta-analysis? Diagn. Microbiol. Infect. Dis. 2017;88(4):322-329. DOI:10.1016/j.diagmicrobio.2017.05.007
  19. Kriaa A, Bourgin M, Mkaouar H, et al. Microbial reduction of cholesterol to coprostanol: an old concept and new insights. Catalysts 2019;9(2):167. DOI:10.3390/catal9020167
  20. Craven M, Dogan B, Schukken A, et al. Antimicrobial resistance impacts clinical outcome of granulomatous colitis in boxer dogs. J. Vet. Intern. Med. 2010;24(4):819-824. DOI:10.1111/j.1939-1676.2010.0527.x
  21. Manchester AC, Dogan B, Guo Y, et al. Escherichia coli-associated granulomatous colitis in dogs treated according to antimicrobial susceptibility profiling. J. Vet. Intern. Med. 2021;35(1):150-161. DOI:10.1111/jvim.15995
Linda Toresson

Linda Toresson

Dr. Toresson graduated from the Swedish University of Agricultural Science in 1995 and has worked at the Evidensia Specialist Animal Hospital in Helsingborg since 1996 อ่านเพิ่มเติม

บทความอื่นๆ ในประเด็นนี้

หมายเลขหัวข้อ 32.1 เผยแพร่แล้ว 21/06/2023

ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานน้อยผิดปกติในสุนัข

ต่อมหมวกไตทำงานน้อยกว่าปกติ (Hypoadreno-corticism) หรือ โรค Addison’s disease มักไม่ใช่โรคที่นึกถึงเมื่อทำการวินิจฉัยการป่วยในสุนัขที่มีอาการความผิดปกติในระบบทางเดินอาการ ซึ่งคุณ Romy Heilmann ผู้เขียนบทความนี้ ได้แนะนำว่าไม่ควรมองข้ามความเป็นไปได้นี้เช่นกัน

โดย Romy M. Heilmann