อุบัติการณ์ของโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดในลูกสุนัข
การมีลูกสุนัขเพิ่มมาเป็นสมาชิกในบ้านเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าตื่นเต้นสำหรับคนในครอบครัว ...
หมายเลขหัวข้อ 26.1 ระบบทางเดินอาหาร
เผยแพร่แล้ว 28/02/2023
สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Română , Español และ English
โรคระบบทางเดินอาหารเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในสุนัข โดยลูกสุนัขจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาท้องเสียได้มากกว่าสุนัขที่โตเต็มวัยแล้ว อีกทั้งยังพบว่าลูกสุนัขร้อยละ 10-25 จะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารในช่วงอายุ 1 ปีแรก
อาการท้องเสียช่วงหย่านม (weaning diarrhea) เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกิดได้จากหลายปัจจัย (multi-factorial origins) สาเหตุของอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ (infectious) และไม่ติดเชื้อ (non-infectious) นั้นอาจเกิดขึ้นได้พร้อมกัน เมื่อสาเหตุทั้ง 2 อย่างมีการเสริมฤทธิ์กัน (synergy) สามารถทำลายสุขภาพของระบบทางเดินอาหารได้
พาร์โวไวรัสประเภทที่ 2 ในสุนัข (type-2 canine parvovirus) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องเสียช่วงหย่านม (weaning diarrhea) ถึงแม้ว่าไวรัสชนิดนี้สามารถทำให้เกิดอาการแสดงทางระบบที่รุนแรงได้ แต่ก็อาจทำให้คุณภาพอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปได้เช่นกัน
การป้องกันอาการท้องเสียช่วงหย่านมจำเป็นต้องใช้การป้องกันทางการแพทย์ (medical prophylaxis) และการใช้ข้อกำหนดด้านการจัดการ (management protocols) ที่ออกแบบมาเพื่อรักษาสุขภาพของสัตว์
เชื้อก่อโรค | อายุของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา | จำนวนลูกสุนัขที่ทำการศึกษา | ความชุก (ร้อยละ) |
เชื้อพาร์โวไวรัสประเภทที่ 2 ในสุนัข | อายุ 5-8 สัปดาห์ | 266 | 14.7 |
เชื้อโคโรนาไวรัสในสุนัข | อายุ 5-8 สัปดาห์ | 266 | 20.3 |
Toxocara canis | อายุ 5-8 สัปดาห์
ช่วงอายุหลากหลาย* อายุน้อยกว่า 3 เดือน |
266 143 2661 |
22.2 12 12 |
Cystoisospora ohioensis complex | อายุ 5-8 สัปดาห์ อายุน้อยกว่า 3 เดือน |
266 2661 |
25.6 15.6 |
Cystoisospora canis | อายุ 5-8 สัปดาห์ อายุน้อยกว่า 3 เดือน |
266 2661 |
13.2 11.8 |
Cystoisospora spp. | ช่วงอายุหลากหลาย* | 143 | 9 |
Giardia duodenalis | อายุ 5-8 สัปดาห์ ช่วงอายุหลากหลาย* อายุน้อยกว่า 3 เดือน |
266 143 2661 |
41 34 37.5 |
Cryptosporidium parvum | อายุ 5-8 สัปดาห์ | 266 | 25.9 |
*ลูกสุนัขจากร้านขายสัตว์เลี้ยง ดังนั้นจึงมีช่วงอายุที่หลากหลาย
ประการที่ 2 การที่ลูกสุนัขได้รับเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร (enteropathogen) ตัวเดียวกันนั้นไม่ได้โน้มนำให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกแบบเดียวกันเสมอไป ความสามารถในการก่อโรค (pathogenicity) ของเชื้อก่อโรค (infectious agent) และอาการแสดงทางคลินิกนั้นจะขึ้นอยู่กับอายุและภูมิต้านทานโรค (immune status) ของลูกสุนัข รวมไปถึงสายพันธุ์ (strain) ของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารนั้นๆด้วย 12 13 ยกตัวอย่างเช่น เชื้อพาร์โวไวรัสในสุนัข (canine parvovirus; CPV) ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสุนัขมีอาการท้องเสียแล้วโน้มนำไปสู่อาการแสดงทั่วร่างกายอย่างรุนแรง (severe systemic signs) ได้แก่ อาเจียน (vomit) เบื่ออาหาร (anorexia) อาการปวดท้อง (prostration) ภาวะแห้งน้ำ (dehydration) และในบางกรณีลูกสุนัขอาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามในลูกสุนัขบางตัว ไวรัสอาจจะเปลี่ยนแปลงแค่คุณภาพของอุจจาระ (alter the stool quality) โดยไม่ส่งผลต่อสุขภาพทั่วไปของสัตว์หรืออาจไม่มีอาการแสดงทางคลินิกอื่นๆเลยก็ได้ 5 ในทำนองเดียวกัน ไวรัสโคโรนานั้นสามารถทำให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกได้หลากหลายและได้มีการระบุสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสชนิดนี้คือ pantropic coronavitus ซึ่งดูเหมือนว่าจะก่อให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกที่รุนแรงกว่าเดิมมาก รวมถึงอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ในบางกรณี โรคบิด (coccidiosis) นั้นสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารได้แต่มีความรุนแรงที่แตกต่างกันไป โดย Cystoisospora ohioensis complex อาจรบกวนการย่อยอาหารในลูกสัตว์อายุน้อย (อายุน้อยกว่า 7 วัน) แต่ไม่ส่งผลต่อลูกสุนัขที่หย่านมแล้ว ในขณะที่ Cystoisospora canis นั้นมักก่อให้เกิดอาการแสดงทางคลินิกในลูกสุนัขที่หย่านมแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีความเครียด เช่น ตอนย้ายบ้าน 14
ประการที่ 3 การติดเชื้อร่วม (co-infections) และปฏิกิริยา (interactions) ระหว่างเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร (enteropathogens) นั้นสามารถพบได้บ่อยครั้ง มีการศึกษาหนึ่งที่ศึกษาในลูกสุนัข 316 ตัวที่มีอาการท้องเสีย พบว่าร้อยละ 75 ของลูกสุนัขทั้งหมดนั้นมักจะมีเชื้อก่อโรคมากกว่า 1 ชนิด (รูปภาพที่ 2) 5 นอกจากนี้เชื้อก่อโรคบางชนิดยังสามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองและเพิ่มความรุนแรงของอาการแสดงทางคลินิกได้ด้วย เช่น ไวรัสโคโรนาจะทำให้มีอาการแสดงทางคลินิกที่รุนแรงมากขึ้นหากมีการติดเชื้อพาร์โวไวรัสประเภทที่ 2 ร่วมด้วย (co-infection with type 2 CPV) 15
สุดท้ายนี้ ในปัจจุบันยังมีการค้นพบเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารชนิดใหม่อยู่เรื่อยๆ มีเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารในสุนัขและปรสิตที่พึ่งค้นพบล่าสุด เช่น แอสโตรไวรัส (astrovirus) 16 โนโรไวรัส (norovirus) 17 และทริโคโมแนส (trichomonads) 18 19 ทั้งนี้แม้ว่าจะมีความชุกสูงในลูกสุนัข (อยู่ระหว่างร้อยละ 5-23 ขึ้นอยู่กับเชื้อก่อโรคและแหล่งที่อยู่ของสัตว์) แต่บทบาทของเชื้อก่อโรคเหล่านี้ต่ออาการท้องเสียช่วงหย่านมนั้นยังไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัด 16 18 20 อีกทั้งการศึกษาส่วนใหญ่ที่พิจารณาถึงเชื้อก่อโรคเหล่านี้ก็ยังไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการติดเชื้อร่วม (co-infections) อีกด้วย
อาการท้องเสียช่วงหย่านม (weaning diarrhea) นั้นเป็นปรากฏการณ์ทางชีววิทยาที่มีความซับซ้อน (complex biological phenomenon) ซึ่งจะแตกต่างจากความผิดปกติอื่นๆที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างง่ายดาย ( เช่น เชื้อก่อโรค 1 ชนิด = 1 โรค) และแนวทางในการจัดการกับปัญหานี้อย่างเป็นระบบ (systemic approach) นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โดยอาการท้องเสียช่วงหย่านมพื้นฐานแล้วจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้แนวทางการจัดการแบบสหวิทยาการ (disciplinary approach) โดยการประเมินปัจจัยหลักทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ โภชนาการ (nutrition) เชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่เป็นสาเหตุ (causal enteropathogens) และสิ่งแวดล้อม (environment) (รูปภาพที่ 3)
การประเมินคุณค่าทางโภชนาการ
จากมุมมองทางโภชนาการ การซักประวัติสัตว์ป่วยที่สมบูรณ์นั้นมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมาก โดยสัตวแพทย์ควรสอบถามเจ้าของเกี่ยวกับ
การประเมินเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร
เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระบุให้ได้ว่าสัตว์กำลังขับเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร 1 ชนิดหรือมากกว่านั้นออกมากับอุจจาระหรือไม่และขับออกมาในปริมาณเท่าใด โดยสีของอุจจาระอาจจะช่วยบ่งบอกถึงเชื้อก่อโรคที่ทำให้สัตว์มีอาการท้องเสียได้ เช่น การติดเชื้อไกอาเดีย (giardiasis) นั้นอาจจะทำให้วิลไลในลำไส้เล็ก (intestinal villi) ฝ่อลงบางส่วน (partial atrophy) อีกทั้งยังทำให้การทำงานของเอนไซม์ disaccharidase ลดลงจนส่งผลให้เกิดการดูดซึมอาหารลดลงและเกิดภาวะถ่ายอุจจาระเป็นมัน (steatorrhea) โดยเราอาจพบว่าอุจจาระมีสีเหลือง (รูปภาพที่ 4) และอาจสังเกตเห็นพฤติกรรมที่สุนัขกินอุจจาระของตัวเอง (coprophagia) ได้ (เนื่องจากปริมาณไขมันที่เพิ่มขึ้นทำให้อุจจาระมีความน่ากินสูง) ส่วนอุจจาระที่ไม่เป็นรูปทรง (unformed) มีมูกและเลือดปนนั้นก็อาจบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อบิด (coccidiosis) (รูปภาพที่ 5) หรือเราอาจมองเห็นพยาธิในอุจจาระได้ด้วยตาเปล่าเลยก็เป็นได้ (รูปภาพที่ 6)
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทั้งหมดเหล่านี้ไม่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยยืนยัน (definitive diagnosis) ได้ และยังจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบอื่นๆเพิ่มเติม โดยตัวเลือกในการทดสอบอื่นๆที่มีประโยชน์ เช่น การส่องกล้องจุลทรรศน์ การทำ ELISA หรือ PCR นั้นควรเลือกทดสอบตามสถานะทางการเงินของเจ้าของสัตว์และประสบการณ์ของสัตวแพทย์ รวมไปถึงข้อสงสัยทางคลินิก (clinical suspicions) การประเมินอุจจาระด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์นั้นจะมีประโยชน์หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อปรสิต แต่ตัวอย่างอุจจาระที่นำมาใช้ทดสอบนั้นจะต้องสดใหม่และไม่เหลวจนเกินไป (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการหาเชื้อโปรโตซัว) กรณีที่ผลทดสอบจากตัวอย่างอุจจาระเพียง 1 ตัวอย่างให้ผลเป็นลบนั้นแปลผลอะไรไม่ได้มาก เนื่องจากเชื้อก่อโรคนั้นสามารถถูกกำจัดได้เป็นช่วงๆ (eliminated intermittently) เพราะฉะนั้นจึงควรทำการทดสอบซ้ำเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน โดยหากลูกสุนัขครอกเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันมีอาการท้องเสีย สัตวแพทย์สามารถนำตัวอย่างอุจจาระแบบรวมตัวอย่าง (pooled fecal samples) มาทำการทดสอบได้ซึ่งจะช่วยลดการเกิดผลลบลวง (false negative) ที่เกี่ยวข้องกับระยะฟักตัว (pre-patent period) และการขับพยาธิออกเป็นช่วงๆ (intermittent parasitic excretion) ในปัจจุบันมีชุดตรวจสำเร็จรูป (commercial test kit) สำหรับระบุปรสิตบางชนิด (เช่น เชื้อไกอาเดีย) วางจำหน่ายอยู่มากมาย ชุดตรวจเหล่านี้นอกจากจะมีราคาถูกแล้ว ยังสามารถให้ผลทดสอบได้อย่างรวดเร็วและไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอย่างที่มีความจำเพาะเจาะจง (specific sample material) แต่อย่างไรก็ตามชุดตรวจเหล่านั้นสามารถระบุเชื้อก่อโรคได้แค่ครั้งละ 1 ชนิดเท่านั้นซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดหากสัตว์ป่วยมีเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารหลายชนิด
การติดเชื้อพาร์โวไวรัสในสุนัข (CPV) นั้นมักจะถูกสงสัยในกรณีลูกสุนัขเกิดอาการท้องเสียช่วงหย่านมหรือมีการเสียชีวิตกระทันหันในลูกสุนัข สัตวแพทย์จึงจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อไวรัสโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงการฉีดวัคซีนของลูกสัตว์เหล่านั้น การทดสอบโดยใช้ชุดตรวจ ELISA นั้นเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว มีความจำเพาะสูง (ร้อยละ 18-82) 24 25 26 โดยขึ้นกับปริมาณเชื้อไวรัสที่ถูกขับออกในอุจจาระ (viral load excreted) ทั้งนี้ชุดตรวจอาจให้ผลลบลวง (false negative) ได้ในกรณีที่มีปริมาณเชื้อไวรัสที่ถูกขับออกในอุจจาระน้อย แต่ผลทดสอบที่เป็นลบไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตัดข้อสงสัยการติดเชื้อพาร์โวไวรัสออกไปได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลบวกลวง (false positive) ได้หากทำการทดสอบภายหลังจากการฉีดวัคซีนไม่กี่วัน ถึงแม้ว่าผลทดสอบที่ได้จะไม่ค่อยชัดเจนเท่ากับผลทดสอบที่ได้จากสัตว์ป่วยที่มีการติดเชื้อพาร์โวไวรัสจริงก็ตาม การทดสอบด้วยวิธี Real-time PCR นั้นมีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สูงกว่าวิธีอื่นๆและเป็นวิธีทดสอบที่เหมาะสมที่สุด (method of choice) สำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในสุนัข (CPV) เนื่องจากวิธีนี้สามารถแยกการขับไวรัสหลังจากฉีดวัคซีน (post-vaccine excretion) (มีปริมาณไวรัสต่ำถึงต่ำมาก) ออกจากการติดเชื้อจริงๆ (มีปริมาณไวรัสสูงถึงสูงมาก) ได้
การเพาะเชื้อแบคทีเรียจากอุจจาระ (fecal bacterial culture) นั้นไม่ค่อยมีประโยชน์ในการประเมินอาการท้องเสียช่วงหย่านม ในความเป็นจริงนั้นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียมักจะ isolate ได้จากสัตว์ที่มีอาการแสดงทางคลินิกเป็นปกติเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สัตวแพทย์สงสัยว่ามีแบคทีเรียก่อโรคที่มีความจำเพาะ (specific pathogenic bacteria) ก็อาจเพาะเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้ ( เช่น Salmonella spp., Campylobacter jejuni, Clostridium perfringens และ C. difficile)
การประเมินสิ่งแวดล้อม
เมื่อสัตวแพทย์เจอกับปัญหาท้องเสียในช่วงหย่านมที่สถานเพาะพันธุ์สัตว์ (breeding establishment) สัตวแพทย์จำเป็นที่จะต้องเข้าไปตรวจเยี่ยมสถานเพาะพันธุ์สัตว์นั้นๆด้วย ทั้งนี้จะต้องตระหนักไว้เสมอว่าในกรณีที่มีสุนัขหลายๆกลุ่มมีปัญหาท้องเสียแบบเดียวกัน การรักษาเพียงครั้งเดียวอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด และในบางครั้งก็ควรแก้ไขปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ (contributory factors) มากกว่าการแก้ไขที่เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุ (causative agents) โดยตรง การไปตรวจเยี่ยมสถานที่เพาะพันธุ์สัตว์จะช่วยให้สัตวแพทย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่อย่างครบถ้วน โดยแนะนำให้สัตวแพทย์มุ่งความสนใจไปยัง
สถานการณ์ที่ 1: ลูกสุนัขที่มีอาการท้องเสียแต่ไม่มีอาการแสดงทางคลินิกอื่นๆ
สถานการณ์ที่ 3 : ลูกสุนัขในสถานเพาะพันธุ์สัตว์
ในสถานการณ์แบบนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดการกับภาวะท้องเสียเท่าที่จำเป็น (ตามที่เคยระบุไว้ในข้างต้น) ร่วมกับการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงของสัตว์ตัวอื่นๆ โดยต้องใช้ทั้งมาตรการทางการแพทย์และมาตรการทางสุขอนามัย
การรักษาทางยา (medical treatment) นั้นประกอบไปด้วยการให้ยาถ่ายพยาธิและการทำวัคซีน โดยการถ่ายพยาธินั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิที่เจอในสถานเพาะพันธุ์สัตว์ การประเมินอุจจาระประจำปีโดยใช้ตัวอย่างอุจจาระแบบรวมตัวอย่าง (pooled fecal samples) (เก็บอุจจาระจากสุนัข 3-5 ตัว) นั้นมีประโยชน์อย่างมาก แนะนำให้เก็บตัวอย่างอุจจาระจากประชากรสุนัข 3 กลุ่มที่แตกต่างกัน ได้แก่ สุนัขตัวผู้และเมียที่ไม่เป็นสัด สุนัขตัวเมียที่ตั้งท้องและให้นมลูกอยู่ และลูกสุนัขที่อยู่ในช่วงหย่านม (อายุ 4-8 สัปดาห์) ในกรณีที่มีลูกสุนัขหลายครอกที่อายุต่างกันในเวลาเดียวกัน สัตวแพทย์อาจจะทำการตรวจอุจจาระแบบรวมตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยใช้ตัวอย่างจากลูกสุนัขที่อายุ 4-6 สัปดาห์ และอีกตัวอย่างจากลูกสุนัขที่อายุระหว่าง 6-9 สัปดาห์ การรักษาด้วยยาต้านปรสิต (anti-parasite treatment) ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับยาที่เลือกใช้ โดยต้องดูขอบเขตของการออกฤทธิ์ของยา (spectrum of action) ช่วงเวลาที่ยาออกฤทธิ์ (treatment duration) ความถี่ในการใช้ (frequency) ความสะดวกในการให้ยา (ease of administration) และราคา (cost) ทั้งนี้จะแนะนำให้ถ่ายพยาธิ Toxocara canis เป็นประจำเนื่องจากพยาธิชนิดนี้ความชุกสูง ลูกสุนัขสามารถถ่ายพยาธิทุก 15 วันตั้งแต่อายุได้ 2 สัปดาห์จนถึงอายุ 2 เดือน จากนั้นค่อยปรับเป็นถ่ายพยาธิรายเดือนจนถึงอายุ 6 เดือน ทั้งนี้ควรให้ยาถ่ายพยาธิกับแม่สุนัขไปพร้อมๆกับลูกสุนัขด้วย
โปรแกรมวัคซีน (vaccination regime) นั้นจะขึ้นกับสถานการณ์ของสุนัขแต่ละตัว ในกรณีที่มีสัตว์อยู่ร่วมกันหลายๆตัวในบ้านเดียวกัน โปรแกรมการทำวัคซีนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็น หากมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในสุนัข (CPV) มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนพาร์โวไวรัสจากเชื้อชนิดเดียว (monovalent CPV vaccine) ให้กับลูกสุนัขที่มีอายุ 4 สัปดาห์ ลูกสุนัขร้อยละ 80 จะมีระดับแอนติบอดีไตเตอร์หลังรับวัคซีน (seroconversion) สูงกว่าระดับแอนติบอดีไตเตอร์ปกติที่ป้องกันโรคได้ (protective threshold) 29 เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนในลูกสุนัขตั้งแต่เนิ่นๆเป็นประจำอาจช่วยลดผลกระทบด้านลบของไวรัสนี้ในสถานเพาะพันธุ์สัตว์ได้
สัตวแพทย์ควรใช้มาตรการทางสุขอนามัยต่างๆเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อและลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อซ้ำ โดยควรสร้างและบำรุงรักษาบริเวณเฉพาะที่แยกออกจากกันภายในสถานเพาะพันธุ์สัตว์ ได้แก่ บริเวณคลอดและเลี้ยงลูก (maternity/nursery unit) บริเวณกักโรคสำหรับสัตว์ที่นำเข้ามาใหม่ (quarantine section) บริเวณสำหรับสัตว์โตเต็มวัย และบริเวณสำหรับแยกสัตว์ป่วยที่มีอาการแสดงของโรค สิ่งที่สำคัญคือการเน้นย้ำให้เจ้าของสถานเพาะพันธุ์สัตว์เข้าใจถึงความสำคัญของความสะอาดและการฆ่าเชื้อของแต่ละบริเวณรวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ต่างๆ ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกความแตกต่างระหว่าง 2 อย่างนี้อย่างชัดเจน โดยการทำความสะอาดที่มีการใช้สารเคมีและอุปกรณ์ทำความสะอาด (การขัดถูหรือการใช้เครื่องล้างแรงดันสูงร่วมกับสารทำความสะอาด) เพื่อกำจัดสารอินทรีย์ คราบส่วนใหญ่นั้นเป็นสารอินทรีย์ในธรรมชาติและมีความเป็นกรด (อุจจาระ) ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้สารทำความสะอาดที่มีความเป็นด่าง 6 วันใน 7 วัน แล้วค่อยใช้สารทำความสะอาดที่มีความเป็นกรดสัปดาห์ละครั้งเพื่อกำจัดคราบแร่ธาตุ (แคลเซียม) เราควรใช้สารฆ่าเชื้อเมื่อพื้นผิวทั้งหมดได้รับการทำความสะอาดและล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วเท่านั้นเนื่องจากสารฆ่าเชื้อส่วนใหญ่จะถูกทำให้หมดฤทธิ์ (inactivated) เมื่อมีสารอินทรีย์อยู่ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนั้นจะขึ้นกับสารก่อโรคที่ระบุได้หรือสงสัย ลักษณะพื้นผิวที่ต้องการทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อ ความสะดวกในการใช้ผลิตภัณฑ์ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่อผู้ใช้ ความคงตัวของสารฆ่าเชื้อก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางอย่างเช่น โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (sodium hypochlorite) หรือสารฟอกขาวที่ใช้ในครัวเรือนนั้นหลังจากเจือจางจะสูญเสียความคงตัวไป (unstable) จึงควรเตรียมสารนี้ไว้ก่อนจะใช้ทำความสะอาดเพียงไม่นาน แต่ทั้งนี้ไม่มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใดที่เหมาะสมใช้ได้กับทุกสถานการณ์
เมตาจีโนมิกส์กับเมตาโบโลมิกส์
นอกจากการศึกษาเหล่านี้ ยังมีรายงานการวิจัยใหม่ๆเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาระหว่างไมโครไบโอม (microbiome) กับโฮสต์ของมัน การวิเคราะห์เมตาบอไลท์ของแบคทีเรีย (bacterial metabolites) และเมตาบอไลท์ของโฮสต์ในของเหลวร่างกาย เช่น ซีรั่ม (serum) และปัสสาวะ (urine) ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่าเมตาโบโลมิกส์ (metabolomics) จะช่วยระบุปัญหาต่างๆรวมไปถึงปัญหาภาวะเสียสมดุลของชีวนิเวศจุลชีพในลำไส้ (intestinal dysbiosis) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสารเมตาบอไลท์ (metabolic profile) โดยรวมในสุนัขโตเต็มวัยที่มีอาการท้องเสียฉับพลัน (acute diarrhea) 30และการปรับเปลี่ยนไมโครไบโอมในสุนัขที่เป็นพาหะของเชื้อไกอาเดีย Giardia spp. ได้ 31 ถึงแม้ว่าเทคนิคดังกล่าวจะยังอยู่ในช่วงของการวิจัยแต่ในอนาคตการวิเคราะห์ไมโครไบโอมและเมตาโบโลมิกส์อาจจะเป็นประโยชน์ในการประเมินสุขภาพของระบบทางเดินอาหารของลูกสุนัขในช่วงหย่านมได้
คุณภาพของอุจจาระของสุนัขนั้นอาจได้รับอิทธิมาจากลักษณะของตัวสัตว์เอง (สายพันธุ์และอายุ) การติดเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร (enteropathogens) (ไวรัส พยาธิ แบคทีเรีย) และอาหาร (เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนอาหารหรือคุณภาพอาหาร) ดังนั้นอาการท้องเสียช่วงหย่านมนั้นจึงเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน เพราะเป็นผลมาจากอิทธิพลและปฏิกิริยาระหว่างปัจจัยต่างๆ รวมถึงการจัดการกับปัญหานี้ยังต้องอาศัยแนวทางที่ครอบคลุมทั้งด้านโภชนาการ การติดเชื้อและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาท้องเสียช่วงหย่านมคือต้องควบคุมโภชนาการด้วยความระมัดระวังเสมอ โดยควรให้อาหารที่สามารถย่อยได้ง่าย (highly digestible) และมีความชุ่มชื้นสูง (rehydratable) เพื่อให้มั่นใจว่าช่วงเปลี่ยนอาหารจากน้ำนมไปเป็นอาหารแข็งนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้การแบ่งอาหารออกเป็นส่วนๆก็มีความสำคัญในการช่วยหลีกเลี่ยงอาการท้องเสียจากการกินมากเกินไป (overconsumption) โดยปริมาณอาหารที่ควรได้รับภายใน 1 วันควรแบ่งออกเป็นมื้อเล็กๆประมาณ 4 มื้อเพื่อให้ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น
กิตติกรรมประกาศ: ผู้เขียนบทความขอขอบคุณศาสตราจารย์ Sylvie Chastant-Maillard สำหรับการการพิสูจน์อักษรให้กับบทความนี้
เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 15 ก.พ. - 15 เม.ย. 2023
ทำเเบบทดสอบ VET-CEAurélien Grellet
Aurélien Grellet, ศูนย์วิจัยและพัฒนา, Royal Canin, Aimargues, France อ่านเพิ่มเติม
การมีลูกสุนัขเพิ่มมาเป็นสมาชิกในบ้านเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าตื่นเต้นสำหรับคนในครอบครัว ...
ระยะแรกคลอดเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงในสุนัขเนื่องจากร้อยละ 20 ของลูกสุนัขจะเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุได้ 21 วันโดย...
การมีลูกสุนัขเพิ่มมาเป็นสมาชิกในบ้านเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าตื่นเต้นสำหรับคนในครอบครัว
โรคผิวหนังในลูกสุนัขมีมากมายและมีสาเหตุการเกิดโรคที่ต่างกันไป