วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
วารสารเชิงวิชาการและการรักษาสัตวป่วยเพื่อผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์

โภชนาการ

การปรับสมดุลของระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสอย่างถูกต้อง

เผยแพร่แล้ว 25/05/2023

เขียนโดย Linda Böswald และ Britta Dobenecker

สามารถอ่านได้ใน Français , Deutsch , Italiano , Português , Română , Español และ English

สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าลูกสุนัขจะไม่ได้รับสารอาหารและแร่ธาตุบางชนิดมากหรือน้อยเกินไปในช่วงของการเจริญเติบโต แต่สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ในช่วงแรก ดังที่จะกล่าวถึงในบทความนี้

เพื่อช่วยในการฝึกแมกซ์ เจ้าของควรให้รางวัลแก่เขาด้วยอาหารเม็ดที่ได้จากการคำนวณเผื่อไว้ในแต่ละวันได้

ประเด็นสำคัญ

ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่เหมาะสม ทั้งในแบบสัมบูรณ์และแบบสัมพัทธ์ (absolute and relative) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาโครงร่างที่แข็งแรงของสุนัข


การชั่งน้ำหนักเป็นประจำและเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตที่แนะนำคือมาตรฐานหลักที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการตรวจสอบปริมาณพลังงานที่เหมาะสมในลูกสุนัข เนื่องจากการประเมินเพียงคะแนนสภาพร่างกาย( body condition score) อาจไม่เพียงพอ


ความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสำหรับสุนัขวัยกำลังโตนั้น ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวที่จะโตเต็มที่และอายุของแต่ละตัว


การได้รับโปรตีนที่มากเกินไปในลูกสุนัขไม่ใช่สาเหตุของการเกิดปัญหา แต่ควรมีการจำกัดปริมาณพลังงานร่วมด้วย เพื่อให้แน่ใจว่ามีอัตราการเติบโตที่เหมาะสมและช่วยหลีกเลี่ยงโรคเกี่ยวกับพัฒนาการทางกระดูก


บทนำ

กลุ่มโรคทางพัฒนาการของกระดูก (developmental orthopedic disease; DOD) เช่น osteochondrosis, joint dysplasia, osteodystrophy หรือ bone deformities สามารถพบได้บ่อยในสุนัข โดยเฉพาะ สุนัขสายพันธุ์ใหญ่และพันธุ์ยักษ์ที่จะโตเร็วจึงมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ ระยะโตเต็มวัย (maturation) เป็นระยะที่มีความสำคัญสำหรับสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์อายุน้อยที่โตเร็วและมีความเปราะบางของโครงร่างอย่างมากในช่วงเวลานี้ ซึ่งสุนัขก็ถูกจัดอยู่ในสัตว์ประเภทนี้ การจัดการอาหารอย่างสมดุลที่มีพลังงานและสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอ จึงเป็นพื้นฐานของการสร้างระบบกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง เนื่องจากหากขาดสารอาหารอาจส่งผลทำให้สภาวะกระดูกบางอย่างรุนแรงขึ้น ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักของสภาวะนั้นไม่ได้สัมพันธ์กับโภชนาการก็ตาม

อาการของ DOD อาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ มีอาการขาเจ็บเล็กน้อยและชั่วคราว (mild and transient lameness) ไปจนถึงการเคลื่อนไหวผิดปกติอย่างรุนแรง (severe movement disorders) และยังอาจเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดของแขนขาอย่างน้อยหนึ่งข้างและอาการบวมของข้อต่อ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) เพียงในช่วง 2-3 เดือนแรกของชีวิตสัตว์อาจส่งผลทำให้สุขภาพของสัตว์แย่ลงตลอดทั้งชีวิต

เท่าไหร่เรียกว่ามากเกินไป ?

ปัญหาหลักในการให้อาหารลูกสุนัขที่กำลังเติบโตคือการกำหนดปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกสุนัขแต่ละตัว การได้รับพลังงานที่มากเกินไปจากการบริโภคส่งผลทำให้สัตว์มีน้ำหนักเกินอย่างเฉียบพลัน (เช่น อัตราการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าที่แนะนำ) ซึ่งเพิ่มภาระให้กับโครงกระดูกที่กำลังเติบโต 1 แม้ว่าจะมีความผิดปกติของกระดูกบางอย่างที่มีพื้นฐานมาจากกรรมพันธุ์ เช่น ข้อสะโพกเคลื่อนผิดรูป (hip dysplasia) ( รูปที่ 1) การจำกัดพลังงานในระยะลูกสุนัขสามารถลดความชุกของภาวะเหล่านี้ได้ 2 เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าลูกสุนัขที่เติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากได้รับพลังงานมากเกินไปจะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ 3 ปัจจัยหลายอย่าง เช่น สายพันธุ์ ระดับกิจกรรม ที่อยู่อาศัยและสถานะสุขภาพ จะส่งผลต่อความต้องการพลังงานในแต่ละวัน ดังนั้นระดับแคลอรีที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงแตกต่างกันไปในแต่ละตัวสัตว์ ในสุนัขโตเต็มวัย วิธีที่แนะนำในการตรวจสอบว่าได้รับพลังงานมากเกินไปหรือไม่เพียงพอ คือการใช้การให้คะแนนสภาพร่างกาย (BCS) โดยสุนัขโตที่มี BCS สูงและไขมันในร่างกายเกินจะบ่งชี้ว่าอาหารของสัตว์นั้นมีปริมาณพลังงานสูงเกินสัดส่วน แต่หากเป็นกรณีลูกสุนัข อาหารที่มีแคลอรีสูงสามารถนำไปสู่การมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น และสุนัขอาจมีน้ำหนักเกินโดยไม่มีไขมันสะสมเพิ่มเติม ในความเป็นจริงแล้ว ลูกสุนัขอาจดูผอมและขาดสารอาหารแต่ก็ยังมีน้ำหนักมากเกินไป ดังในรูปที่ 2 ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการจัดหาพลังงานระหว่างการเจริญเติบโต สุนัขทั้งสองตัวมีคะแนนสภาพร่างกายเท่ากัน แต่สัตว์ทางด้านซ้ายซึ่งได้รับพลังงานสูงกว่าตั้งแต่อายุ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป มีขนาดตัวใหญ่กว่าอย่างชัดเจนแต่ยังคงมีรูปร่างผอมเพรียวอยู่

ภาพรังสีแสดงภาวะสะโพกเคลื่อนอย่างรุนแรงทั้งสองข้าง (severe bilateral hip dysplasia) ใน Hovawart อายุ 14 เดือน

รูปที่ 1 ภาพรังสีแสดงภาวะสะโพกเคลื่อนอย่างรุนแรงทั้งสองข้าง (severe bilateral hip dysplasia) ใน Hovawart อายุ 14 เดือน แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับกระดูกหลายอย่างในสุนัขอายุน้อยจะมีพื้นฐานมาจากกรรมพันธุ์ แต่การจำกัดปริมาณพลังงานที่ลูกสุนัขได้รับแสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยลดการเกิดภาวะดังกล่าวได้
เครดิต: Shutterstock

อัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ นำมาซึ่งแรงบีบบังคับที่เพิ่มขึ้นให้กับโครงกระดูกที่กำลังพัฒนา ดังนั้นมาตรฐานหลักที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางสำหรับการกำหนดอัตราการเติบโตที่เหมาะสมคือ การตรวจสอบน้ำหนักตัวของลูกสุนัขผ่านการชั่งน้ำหนักปกติเป็นประจำ (เช่น ทุกสัปดาห์) และเปรียบเทียบกับแผนภูมิการเจริญเติบโต 4 กราฟการเจริญเติบโต (Optimal growth curves) ที่เหมาะสมของแต่ละตัวจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับน้ำหนักในอุดมคติของสุนัขโตเต็มวัย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประมาณค่านี้ให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่า คำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารสัตว์เลี้ยงที่เกี่ยวกับการให้พลังงานในแต่ละวันนั้นจะค่อนข้างสูง นอกจากนี้ การคำนวณความต้องการแคลอรี่โดยใช้สมการปี 2006 จาก US National Research Council (NRC) 5 มักจะให้ค่าสูงเกินไป การศึกษาเมื่อไม่นานนี้ แสดงให้เห็นความต้องการพลังงานที่ลดลงอย่างมากทั้งในสุนัขวัยที่กำลังเติบโตและลูกสุนัข 4,6 และคำแนะนำที่ปรับปรุงล่าสุดก็นำสิ่งนี้มาพิจารณาด้วย * ความต้องการพลังงานเฉลี่ยต่อวัน (metabolizable energy, ME) สำหรับสุนัขที่กำลังเติบโตสามารถประมาณได้ดังนี้ 4:

ME intake [MJ] = (1.063-0.565 x [actual BW/expected mature BW]) x actual BW0.75

* https://europeanpetfood.org/pet-food-facts/fact-sheets/nutrition/nutritional-needs-of-cats-and-dogs/

ลูกผสมข้ามพันธุ์ Foxhound สองตัวที่กำลังเติบโต

ปที่ 2 ลูกผสมข้ามพันธุ์ Foxhound สองตัวที่กำลังเติบโต สุนัขเพศผู้ (ขวา) ได้รับการป้อนอาหารให้พลังงานเพื่อให้มีการเจริญเติบโตตามกราฟการเจริญเติบโตที่แนะนำ ในขณะที่สุนัขเพศเมีย (ซ้าย) ได้รับอาหารที่มีระดับพลังงานมากเกินไป โดยที่ BCS ในทั้งสองกรณี คือ 5/9
เครดิต: B. Dobenecker

แคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหาร

กระดูกประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 อย่าง ได้แก่ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่จำเป็นต้องพิจารณาคำนึงถึงร่วมกัน เนื่องจากมีการทำงานและการควบคุมสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน อัตราส่วนแร่ธาตุทั้งสอง ตามความต้องการที่แท้จริงของควรถูกคำนวณอย่างรอบคอบ (ช่วงที่แนะนำคือระหว่าง 1:1 และ 2:1) เนื่องจากหากมีแร่ธาตุหนึ่งหรือทั้งสองอย่างที่เกินหรือขาดไปในช่วงระยะการพัฒนาการ สามารถเป็นปัจจัยหลักในแง่โภชนาการที่กระตุ้นให้เกิด DODs ได้ จากการศึกษาก่อนหน้า ทีมจากมหาวิทยาลัย Ludwig-Maximilian พบว่าส่วนใหญ่สุนัขในวัยกำลังเติบโตที่พบสัญญาณอาการของ DOD มาจากการได้รับแคลเซียมและ/หรือฟอสฟอรัสมาก/ขาดเกินไป จากการสำรวจครั้งแรก (ในปี ค.ศ. 1998) พบว่า 61% ของลูกสุนัขที่ได้รับผลกระทบ มีประวัติเคยได้รับแคลเซียมเกิน และมีเพียง 20% เท่านั้นที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ 1 การสำรวจครั้งที่สองในปี ค.ศ. 2018 แสดงให้เห็นว่าสัตว์ป่วย DOD ส่วนใหญ่ (58%) ได้รับอาหารที่ขาดแคลเซียม โดยมีเพียง 21% ที่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปก่อนการวินิจฉัยโรคกระดูกและข้อ 7

อาจมีคำถามสงสัยตามมาว่าทำไมโภชนาการที่ไม่ดีจึงเป็นปัญหาสำหรับการเจริญเติบโตของสุนัข ในเมื่อปัญหานี้ในมนุษย์พบน้อยกว่ามาก คำอธิบายประการหนึ่งคือ สุนัขตรงกันข้ามกับมนุษย์ การโตเต็มวัยในสุนัขจะเกิดขึ้นเร็วกว่ามาก โดยระยะการเจริญเติบโตเกือบทั้งหมดของสุนัขจะเกิดขึ้นภายในปีเดียว ดังนั้น การให้สารอาหารไม่เพียงพอแม้ในช่วงเวลาจำกัดก็มีความเสี่ยงต่อลูกสุนัขมากกว่ามนุษย์ในช่วงเด็กและวัยรุ่น นอกจากนั้นความแตกต่างระหว่างสุนัขกับสัตว์อื่นๆ ก็ควรถูกคำนึงถึง เช่น มนุษย์ มีกลไกการปรับตัวเพื่อชดเชยปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ต่ำหรือมากเกินไป ซึ่งกลไกนี้แทบจะไม่มีอยู่ในสุนัข 8 ในกลไกควบคุมหลัก แทนที่ลำไส้จะดูดซึมแร่ธาตุทั้งสอง แต่ระบบโครงร่างจะถูกใช้เพื่อเก็บและสะสมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเท่าที่จำเป็น 9,10 หากมองจากแนวคิดที่ว่า สุนัขมีวิวัฒนาการมาให้เป็นฐานะผู้ล่าอาจสมเหตุสมผล เพราะอาจได้รับพลังงานและแร่ธาตุมากมายรวมถึงพลังงานและแร่ธาตุหายากจากเหยื่อ ทำให้พลังงานไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับกลไกการควบคุมการดูดซึมของลำไส้ ดังนั้นการควบคุมตามกลไกกระดูกนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาอาการทางคลินิกที่เชื่อมโยงกับภาวะขาดสารอาหารแคลเซียมและฟอสฟอรัสในสุนัขช่วงเจริญเติบโตและช่วงโตเต็มวัย

Britta Dobenecker

ปัจจัยหลายอย่าง เช่น สายพันธุ์ ระดับกิจกรรม ที่อยู่อาศัยและสถานะสุขภาพ มีอิทธิพลต่อความต้องการพลังงานในแต่ละวัน ดังนั้นระดับแคลอรีที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงแตกต่างกันไปในแต่ละตัวสัตว์

Britta Dobenecker

การได้รับแคลเซียมที่ไม่เพียงพอในช่วงการเจริญเติบโตอาจทำให้เกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperparathyroidism ) จากภาวะโภชนาการทุติยภูมิ โดยการสร้างกระดูกโดยรวมลดลง ส่งผลทำให้เกิดอาการทางคลินิกต่างๆ รวมถึงรอยโรคกระดูกหักจากการเคลื่อนไหวร่างกายตามปกติ 11ในบริบทนี้ สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าสุนัขมีการขับถ่ายของแห้งในอุจจาระที่เพิ่มขึ้น (เนื่องจากการย่อยอาหารได้ต่ำหรือจากการบริโภคอาหารในปริมาณมาก) ทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นในอุจจาระ 12,13,14 ดังนั้นความต้องการแร่ธาตุรายวันจึงมีเพิ่มขึ้น ตามที่ระบุไว้ข้างต้นว่ามีลูกสุนัขจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค DOD จากการได้รับอาหารที่มีแคลเซียมน้อย อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากการทดลองว่า การได้รับแคลเซียมมากเกินก็สามารถทำให้เกิด DOD ในการเจริญเติบโตของสุนัขสายพันธุ์ Great Danes ได้ 15,16 ดังนั้นความต้องการแร่ธาตุรายวันจึงมีเพิ่มขึ้น ตามที่ระบุไว้ข้างต้นว่ามีลูกสุนัขจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค DOD จากการได้รับอาหารที่มีแคลเซียมน้อย อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากการทดลองว่า การได้รับแคลเซียมมากเกินก็สามารถทำให้เกิด DOD ในการเจริญเติบโตของสุนัขสายพันธุ์ Great Danes ได้ 17 ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาที่ตรวจสอบผลกระทบของแคลเซียมส่วนเกินในอาหารเมื่อมีการให้ฟอสฟอรัสส่วนเกินด้วย (เพื่อลดความสามารถในการย่อยได้ของแร่ธาตุนี้) ในสุนัขสายพันธุ์กลางและใหญ่ โดยไม่มีอาการทางคลินิกของ DOD 18 ในทางตรงกันข้าม การบริโภคฟอสฟอรัสต่ำมีผลเสียอย่างมาก (แต่สามารถเปลี่ยนย้อนกลับได้) ต่อสุขภาพโครงร่าง 19,20 (รูปที่ 3) และความผิดปกติทางพัฒนาการอื่น ๆ ที่ถูกอธิบายไว้ในหลายเคส อาจเชื่อมโยงกับการขาดฟอสฟอรัสในอาหาร 21,22 นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ว่าการให้โปรตีนในอาหารในระดับที่สูงกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน มักถูกสงสัยว่ามีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อการพัฒนาโครงกระดูก แต่สิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริง เพราะจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าระดับโปรตีนที่ป้อนให้กับสุนัขที่กำลังเติบโตไม่มีผลต่อการพัฒนาโครงร่างของสัตว์ 23,24

 ลูกสุนัขพันธุ์ Foxhound หลังได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำเป็นเวลา 6.5 สัปดาห์ พบขาโก่งและอุ้งเท้ากาง

รูปที่ 3 ลูกสุนัขพันธุ์ Foxhound หลังได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำเป็นเวลา 6.5 สัปดาห์ พบขาโก่งและอุ้งเท้ากาง ความผิดปกตินี้ไม่เจ็บปวดและสามารถหายเป็นปกติได้หลังจากได้รับฟอสฟอรัสเพียงพอเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์
เครดิต: B. Dobenecker

ความต้องการสารอาหารต่อวันคำนวณอย่างไร?

แนวทางพื้นฐานคือ การกำหนดความต้องการสุทธิของสารอาหารแต่ละชนิดในช่วงชีวิตต่างๆ พร้อมกับการดูดซึมทางชีวภาพที่แตกต่างกันไปตามแหล่งที่มาของอาหาร ซึ่งมีหลายวิธีในการประมาณความต้องการนี้ การทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและผลกระทบของสารอาหารที่จำเพาะ สามารถอธิบายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับปริมาณสารอาหารที่ไม่เพียงพอ, เพียงพอ และมากเกินไป แต่การทดลองดังกล่าวจำเป็นต้องมีมาตรฐานสูง โดยเลือกตัวชี้วัดเป้าหมายที่เหมาะสม เพื่อประเมินผลของสารอาหารที่กำลังศึกษา สำหรับแคลเซียมและฟอสฟอรัสนั้น การกำหนดพารามิเตอร์ค่อนข้างยาก ในทางกลับกันอาจมีระยะเวลาแฝง (latency period ) ที่ยาวนานขึ้นระหว่างที่เริ่มมีอาการของภาวะทุพโภชนาการและลักษณะของอาการเฉพาะทางคลินิก สภาวะสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้นระดับความเข้มข้นในซีรั่มจึงจะคงอยู่เป็นเวลานาน แม้ในช่วงที่ร่างกายขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ในทางกลับกัน ปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราส่วนของแคลเซียมในอาหารต่อฟอสฟอรัส พลังงานที่ได้รับ อัตราการเจริญเติบโต และความเสี่ยงทางพันธุกรรมใดๆ ต่อโรคเกี่ยวกับโครงร่าง เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้อาการทางคลินิกรุนแรงขึ้น ความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสำหรับสุนัขที่กำลังเติบโตตามที่กำหนดโดย NRC 5 อ้างอิงจากการศึกษาวิจัยโดยใช้สุนัขสายพันธุ์ใหญ่และพันธุ์ยักษ์ และในลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นข้อมูลการทดลองจะอนุมานเพื่อให้ครอบคลุมช่วงการเจริญเติบโตทั้งหมดของสุนัข ทุกขนาด จุดประสงค์การทดลองคือ การ "ได้รับในปริมาณที่เหมาะสมหรือได้รับเกิน" ความต้องการของสุนัขที่กำลังเติบโตทั้งหมด ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะอนุมานคำแนะนำจากกลุ่มที่มีความต้องการสูงสุด เช่น ลูกสุนัขพันธุ์ยักษ์อายุน้อย อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างแต่ละตัวสัตว์ และช่วงเวลาวิกฤตของการเจริญเติบโตสูงสุดที่จะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาระหว่างสุนัขสายพันธุ์เล็กและสายพันธุ์ใหญ่ แม้ว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่และพันธุ์ยักษ์จะเติบโตได้ถึงอายุ 12-15 เดือน แต่สายพันธุ์เล็กอาจมีน้ำหนักตัวถึงน้ำหนักสุดท้ายภายใน 7-8 เดือน ดังนั้นการประมาณค่าข้อมูลจึงมีแนวโน้มที่จะประเมินค่าความต้องการของสุนัขพันธุ์เล็กสูงเกินไป มากไปกว่านั้น การอนุมานความต้องการด้วยข้อมูลจากช่วงการเติบโตในช่วงต้นจะประเมินความต้องการสูงเกินไปสำหรับช่วงการเติบโตช่วงท้าย ที่การเจริญเติบโตรายวันจะชะลอตัวช้าลง

Linda Böswald

ความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสำหรับสุนัขที่กำลังเติบโต ขึ้นอยู่กับการประเมินเทียบจากงานวิจัยที่ใช้สุนัขสายพันธุ์ใหญ่และยักษ์ และในลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 6 เดือน โดยข้อมูลที่ได้จากการทดลองจะถูกอนุมานเพื่อให้ครอบคลุมช่วงการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ของสุนัขทุกขนาด

Linda Böswald

การคำนวณทางโภชนาการ

กวิธีหนึ่งในการกำหนดปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวันคือการคำนวณตามสูตร factorial ซึ่งจะสามารถสรุปปริมาณความต้องการสำหรับการของการดำรงชีวิตพื้นฐานและการแสดงออกทางพฤติกรรม (maintenance and performance) ข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถคำนึงถึงความต้องการของแต่ละตัวสัตว์อย่างแม่นยำในแต่ละช่วงวัยชีวิต และวิธีนี้ได้รับความสำเร็จจากการนำไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ เช่น เพื่อกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตน้ำนมในโคนมและการผลิตสุกรขุน ในสุนัขช่วงวัยกำลังโต ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือการเพิ่มของเนื้อเยื่อระหว่างการเจริญเติบโตและการความต้องการในระดับพื้นฐานในช่วงน้ำหนักตัวปัจจุบัน25 โดยความต้องการในระดับพื้นฐาน (maintenance requirement ) คือ ปริมาณของสารอาหารที่จำเป็นเพื่อชดเชยการสูญเสียออกที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นจาก อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ ผิวหนัง ขนสัตว์ ฯลฯ เมื่อปริมาณการสูญเสียออกภายนอกถูกประเมิน จะสามารถคำนวน "ความต้องการพื้นฐานระดับสุทธิ" “(net maintenance requirement)” ของสารอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายสัตว์ไม่สามารถรับสารอาหารได้ 100% ของปริมาณสารอาหารที่รับประทานเข้าไป จึงจำเป็นต้องคำนึงถึง ความสามารถใช้งานได้จริงของสารอาหาร เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ข้อกำหนดความต้องการพื้นฐานขั้นต้น" (“gross maintenance requirement”) หรือคำแนะนำในการให้อาหาร 26

โดยสมการมีดังนี้:

คำแนะนำการให้อาหารสำหรับความต้องการพื้นฐาน = e/ธาตุอาหารใช้ประโยชน์ได[%] x 100

(เมื่อ e = ปริมาณการสูญเสียจากภายนอก)

จากสมการเห็นได้ชัดว่า ภาพรวมของคำแนะนำในการให้อาหารถูกกำหนดโดยธาตุอาหารใช้ประโยชน์ได้เป็นหลัก เช่น หากธาตุอาหารใช้ประโยชน์โดยเฉลี่ยลดลงครึ่งหนึ่ง จะทำให้คำแนะนำในการอาหารเพิ่มเป็นสองเท่า การใช้ประโยชน์ได้ของแร่ธาตุจะแตกต่างกันระหว่างแหล่งที่มาและส่วนประกอบโดยรวมของมื้ออาหาร ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการบริโภคในระดับที่เพียงพอ จึงควรสร้างส่วนเผื่อของการนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉลี่ยไว้ด้วย

การสร้างเนื้อเยื่อที่เพิ่มขึ้นระหว่างช่วงวัยเจริญเติบโตจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มเติม ดังสมการต่อไปนี้ ความต้องการสุทธิสำหรับการเจริญเติบโต = ปริมาณสารอาหารที่ได้รับโดยเฉลี่ยต่อวัน x ความเข้มข้นของสารอาหารในเนื้อเยื่อที่ได้รับ

Net requirement for growth = average daily gain x nutrient concentration in gained tissue

ดังนั้นคำแนะนำในการให้อาหารสำหรับการเจริญเติบโตจึงสามารถคำนวณได้ ดังสมการนี้

(e + net requirement for growth)/availability [%] x 100

(ปริมาณการสูญเสียจากภายนอก+ความต้องการสุทธิสำหรับการเจริญเติบโต)/ธาตุอาหารใช้ประโยชน์ได้ [%]x100 สุนัขแต่ละสายพันธุ์มีขนาดร่างกายและน้ำหนักที่จำเพาะและแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธ์ ดังนั้นเพื่อสร้างกราฟการเจริญเติบโตสำหรับลูกสุนัขแต่ละตัว สิ่งสำคัญคือต้องมีการประเมินน้ำหนักตัวโตเต็มวัยในอนาคตให้ดี (โดยจะพิจารณาจากน้ำหนักในอุดมคติของพ่อแม่เพศเดียวกัน หรือหากไม่มีข้อมูลให้ประเมินตามน้ำหนักเฉลี่ยตามมาตรฐานสายพันธุ์) นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างของอัตราการเติบโตระหว่างสายพันธุ์เล็ก กลาง ใหญ่ และยักษ์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดหมวดหมู่สุนัขตามน้ำหนักตัวที่โตเต็มวัย เพื่อกำหนดคำแนะนำในการให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากการเติบโตไม่ใช่กระบวนการเชิงเส้นตรง ทำให้คำแนะนำของแต่ละกลุ่มอายุมีความแตกต่างกัน เปอร์เซ็นต์ความต้องการสำหรับการเพิ่มของเนื้อเยื่อนั้นจะสูงที่สุดในช่วงการเจริญเติบโตช่วงแรก จากนั้นสิ่งนี้จะลดลงเมื่อสุนัขเข้าใกล้น้ำหนักตัวเต็มวัย และสำหรับความต้องการพื้นฐานนั้นคิดเป็นสัดส่วนส่วนใหญ่ของความต้องการพลังงานและสารอาหารทั้งหมด ดังนั้นการคำนวณทางคณิตศาสตร์สำหรับแคลเซียมและฟอสฟอรัสจึงจำเป็นต้องพิจารณาทั้งสองด้าน สายพันธุ์และอายุ

คำแนะนำในการให้อาหารมีหลายวิธี เช่น มาตรฐานการให้อาหารที่แนะนำ NRC จะระบุค่าความต้องการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานที่เผาผลาญได้ (metabolizable energy ,ME) โดยค่าสัมบูรณ์ที่คำนวณจากการใช้ข้อมูลอ้างอิงนี้จะขึ้นอยู่กับความต้องการพลังงานที่อาจแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยในแต่ละตัว ตัวอย่างเช่น สามารถคาดการณ์ได้ว่าลูกสุนัขนิวฟาวด์แลนด์จะมีความต้องการ ME ต่ำกว่าลูกสุนัขเกรทเดนที่มีอายุและน้ำหนักตัวเท่ากัน เนื่องจากความแตกต่างทางลักษณะนิสัยและกิจกรรม ทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการอ้างอิง ME สามารถที่จะเชื่อมโยงปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันกับน้ำหนักตัวที่เผาผลาญได้ (kg0.75) วิธนี้มีข้อได้เปรียบในการคำนวณความต้องการที่แน่นอน ทำให้ได้สมดุลอาหารที่แม่นยำสำหรับสุนัขแต่ละตัว แต่ไม่ได้แจ้งโดยตรงเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารอ้างอิงในอาหาร ที่จำเป็นต้องคำนวณสำหรับแต่ละตัวตามข้อกำหนดอ้างอิง ME

คำแนะนำเกี่ยวกับความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสำหรับกลุ่มช่วงอายุและกลุ่มน้ำหนักตัวเต็มวัย ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการคำนวณแสดงในตารางที่ 1 และตัวอย่างการนำไปใช้ในลูกสุนัขที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารทางการค้าสามารถช่วยอธิบายในขั้นตอนต่างๆ ได้ (กรอบที่ 1)

ตารางที่ 1 แสดงความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสำหรับสุนัขที่กำลังเติบโตโดยเทียบกับน้ำหนักตัวที่เผาผลาญได้ (kg0.75) (ดัดแปลงจาก 26)

น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มวัย (kg) 10 35 60
อายุปัจจุบัน (สัปดาห์) แคลเซียม (mg/kg0.75)
9 550 - -
13 436 634 776
17 361 512 610
22 339 479 565
26 335 466 542
31 316 444 519
35 251 350 405
39 217 300 348
44 213 294 342
48 193 266 306
52 187 258 296
อายุปัจจุบัน (สัปดาห์) ฟอสฟอรัส (mg/kg0.75)
9 352 - -
13 197 291 362
17 158 225 269
22 151 213 251
26 152 210 244
31 141 196 227
35 124 172 197
39 121 166 190
44 125 171 196
48 116 158 180
52 114 155 177

 

กล่องที่ 1 แสดงการคำนวณระดับแคลเซียม (Ca) และฟอสฟอรัส (P) ที่จำเป็นสำหรับ “แม็กซ์” ลูกสุนัขเยอรมันเชพเพิร์ด อายุ 22 สัปดาห์ ที่มีน้ำหนักตัวปัจจุบัน 20 กก. และน้ำหนักตัวโตเต็มวัยโดยประมาณที่ 35 กก.

1
สำหรับ “แม็กซ์” ที่มีน้ำหนักสูงสุดที่ 22 สัปดาห์และน้ำหนักตัวโตเต็มวัยคาดการณ์ไว้ที่ 35 กก., ตารางที่ 1 ให้คำแนะนำความต้องการรายวันสำหรับแคลเซียมที่ 479 mg Ca/kg 0.75 และฟอสฟอรัส 213 mg P/kg 0.75
สำหรับการคำนวนโดยใช้น้ำหนักปัจจุบันของเขาที่ 20 กก. เพื่อคำนวนความต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสสัมบูรณ์ มีดังนี้
  • ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวัน: 479 มก. x 200.75 กก. = 479 มก. x 9.46 กก. = 4,530 มก. (or 4.5 ก.)
  • ปริมาณฟอสฟอรัสที่แนะนำต่อวัน: 213 มก. x 200.75 กก. = 213 มก. x 9.46 กก. = 2,014 มก. (or 2.0 ก.)
2
หากใช้อาหารเม็ดทางการค้า จำเป็นต้องตรวจสอบว่าปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารชนิดที่เลือกนั้นเพียงพอสำหรับลูกสุนัขในช่วงการเจริญเติบโตในปัจจุบันหรือไม่ สมมติว่าความต้องการพลังงานต่อวันอยู่ที่ 7.0 MJ ME (1,673 kcal) 4 สามารถคำนวณปริมาณแร่ธาตุที่จำเป็นในอาหารได้ดังน
  • ปริมาณแคลเซียม 4.5 ก./7 MJ ME = 0.64 ก.Ca ต่อ MJ ME (2.69 ก. Ca/1000 kcal ME)
  • ปริมาณฟอสฟอรัส 2.0 ก./7 MJ ME = 0.29 ก. P ต่อ MJ ME (1.20 ก. P/1000 kcal ME)
3
หากเจ้าของเลือกอาหารเม็ดชนิดที่สมดุลและครบถ้วนสำหรับสุนัขโตพันธุ์โต ซึ่งมี 1.6 MJ ME (382 กิโลแคลอรี) ต่อ 100 ก., 1.1% แคลเซียม และฟอสฟอรัส 0.7% โดยมีอัตราส่วน Ca:P ที่ 1.6:1. ขั้นตอนแรกคือการคำนวณปริมาณอาหารในแต่ละวันที่จะให้ค่าความต้องการ ME สำหรับแมกซ์ดังนี้
  • 7 MJ ME/1.6 MJ ME x 100 ก. = 438 ก.
4 ปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มาในอาหารนี้จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับค่าความต้องการ ค่านี้สามารถคำนวณได้โดยอ้างอิงกับส่วนของ ME ในอาหาร (i) หรือเป็นค่าสัมบูรณ์สำหรับสุนัขแต่ละตัว (ii)
 
(i) เมื่อเทียบกับ ME ปริมาณแร่ธาตุจะถูกคำนวณดังนี้
  • 1.1 ก. Ca ต่อ 100 ก. -> 1.1 ก. Ca/1.6 MJ ME = 0.68 ก. Ca/MJ ME (2.88 ก. Ca/1000 kcal ME)
  • 0.7 ก. P ต่อ 100 ก. -> 0.7 ก. P ต่อ 1.6 MJ ME = 0.43 ก. P/MJ ME (1.83 ก. P/1000 kcal ME)
ดังนั้น อาหารในตัวอย่างนี้จึงเป็นไปตามระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ต้องการต่อ MJ ME (ตามที่คำนวณในขั้นตอนที่ 2)
 
(ii) อีกทางหนึ่ง ค่าสัมบูรณ์ของปริมาณแร่ธาตุทั้งสองในอาหาร สามารถคำนวนได้ดังนี้
  • 1.1% Ca ในอาหาร 438 ก. -> 1.1 x 438/100 = 4.818 กรัม แคลเซียมที่ให้มากับปริมาณอาหารนี้
  • 0.7% P ในอาหาร 438ก. -> 0.7 x 438/100 = 3.066 กรัม ฟอสฟอรัสที่ให้มากับปริมาณอสหารนี้
ค่านี้ควรถูกเปรียบเทียบค่ากับความต้องการสัมบูรณ์สำหรับแมกซ์ (ตามที่คำนวณในขั้นตอนที่ 1) และสามารถเห็นได้ว่าในกรณีนี้เป็นไปตามการคำนวนไว้ด้านบน
สำหรับกิจวัตรการให้อาหารนั้น ปริมาณอาหารในแต่ละวันสามารถถูกชั่งน้ำหนักและแบ่งเก็บไว้ในภาชนะขนาดเล็ก ในกการนี้ หากเจ้าของต้องการให้ขนมแก่แมกซ์สำหรับการฝึก สามารถใช้อาหารเม็ดจากส่วนที่ชั่งแบ่งไว้ได้ ทำให้แมกซ์ไม่มีความเสี่ยงจากการได้รับพลังงานเพิ่มเติม (รูปที่ 4)
 เพื่อช่วยในการฝึกแมกซ์ เจ้าของควรให้รางวัลแก่เขาด้วยอาหารเม็ดที่ได้จากการคำนวณเผื่อไว้ในแต่ละวันได้

รูปที่ 4 เพื่อช่วยในการฝึกแมกซ์ เจ้าของควรให้รางวัลแก่เขาด้วยอาหารเม็ดที่ได้จากการคำนวณเผื่อไว้ในแต่ละวันได้
เครดิต: Shutterstock 

หากเจ้าของต้องการให้อาหารแบบทำเองที่บ้าน (homemade diet) ต้องคำนึงว่าอาหารส่วนใหญ่จำเป็นต้องถูกเสริมด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ในแต่ละวัน และเนื่องจากมีอาหารเสริมมากมาย สารอาหารจากส่วนประกอบทั้งหมดของมื้ออาหารต้องนำมาคิดรวมกันและเปรียบเทียบกับข้อกำหนดความต้องการเพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมได้ (รูปที่ 5) ตัวอย่างของการปันส่วนของอาหารแบบทำเองถูกแสดงในตารางที่ 2 จะเห็นได้ว่า อาหารเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดรวมกัน 20 กรัม จะต้องประกอบด้วย แคลเซียม 22.5% และฟอสฟอรัส 10.5% จึงจะเป็นไปตามค่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวันสำหรับแร่ธาตุเหล่านี้ โดยในอาหารมีอัตราส่วน Ca/P ที่ 1.3/1 ซึ่งอยู่ในช่วงที่เหมาะสม (ช่วงที่แนะนำคือ 1/1-2/1) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด ปริมาณอาหารเสริมในแต่ละวันอาจจะต้องเพิ่มขึ้นหากความเข้มข้นของสารอาหารมีต่ำลง หรือต้องลดลงหากความเข้มข้นของสารอาหารมีมากขึ้น

ตารางที่ 2 แสดงสูตรอาหารแบบทำเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกสุนัขเยอรมันเชพเพิร์ดอายุ 22 สัปดาห์ ที่ปัจจุบันมีน้ำหนัก 20 กก. และคาดว่ามีน้ำหนักตัวโตเต็มที่ประมาณ 35 กก.

ชนิดของวัตถุดิบ ปริมาณ [g/d]
พลังงาน
[MJ ME]
แคลเซียม
[mg]
ฟอสฟอรัส
[mg]
เนื้อวัว 600 4.8 24 1188
มันฝรั่งสุก
250 0.5 15 115
ผัก 100 0.2 34 30
ผลไม้ 100 0.2 11 16
น้ำมันพืช 15 0.5 0 0
น้ำมันปลา 5 0.2 0 0
ผ้าขี้ริ้ววัวแห้งสำหรับเคี้ยวเล่น 30 0.6 27 54
อาหารเสริม  20 0 4500 2100
สัดส่วนรวม 7.0 4611 3503
ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภค 7.0 4530 2014
ภาพแสดงวิตามินรวมและอาหารเสริมแร่ธาตุจำนวนมากที่อาจสร้างความสับสนได้ สัตวแพทย์ควรให้คำแนะนำแก่เจ้าของสัตว์ในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของสุนัข

รูปที่ 5 ภาพแสดงวิตามินรวมและอาหารเสริมแร่ธาตุจำนวนมากที่อาจสร้างความสับสนได้ สัตวแพทย์ควรให้คำแนะนำแก่เจ้าของสัตว์ในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของสุนัข
เครดิต: B. Dobenecker

บทสรุป

พลังงานที่เผาผลาญได้และความต้องการสารอาหารจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงการเจริญเติบโต ดังนั้นภาพรวมของความต้องการทางโภชนาการของลูกสุนัขที่เหมาะสมจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน แบ่งสันปันส่วนอยู่เสมอ แม้ว่าการรีวิวทุกสองเดือนจะเพียงพอสำหรับสุนัขที่มีการเติบโตตามกราฟการเจริญเติบโตที่แนะนำ แต่ลูกสุนัขทุกตัวควรได้รับการชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์เพื่อเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตในสภาวะที่เหมาะสม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของพัฒนาการ หากพบว่ามีค่าเบี่ยงเบนไปจากน้ำหนักตัวในอุดมคติ, ในอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่า ME ที่ให้มา จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนทันที เพื่อให้เข้าใจง่าย บทความนี้เน้นพิจารณาเฉพาะพลังงานที่เผาผลาญได้, แคลเซียม และฟอสฟอรัส แต่โดยทั่วไปแล้ว การที่จะประมวลความต้องการทางโภชนาการของผู้ป่วยควรคำนึงถึงความต้องการแร่ธาตุทั้งหมด, ธาตุรอง และวิตามินทั้งหมดด้วย แม้ว่าการคำนวณจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาปัจจัยทั้งหมดที่สัตว์ต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารที่สมดุลนั้นเป็นสิ่งจำเป็น


พิเศษสำหรับสัตวแพทย์ไทย

เข้าทำเเบบทดสอบเพื่อสะสม VET-CE ภายในวันที่ 10 มิ.ย. -10 ส.ค. 2566 

ทำเเบบทดสอบ VET-CE

แหล่งอ้างอิง

  1. Dobenecker B, Kienzle E, Köstlin R, et al. Mal‐ and over-nutrition in puppies with or without clinical disorders of skeletal development. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 1998;80(1‐5):76-81.

  2. Kealy RD, Olsson SE, Monti KL, et al. Effects of limited food consumption on the incidence of hip dysplasia in growing dogs. J. Am. Vet. Med. Assoc. 1992;201:857-857.

  3. German AJ. Promoting healthy growth in pets. (Abstract) International Nutritional Science Symposium, Atlanta, USA, 2016.

  4. Klein C, Thes M, Böswald LF, et al. Metabolisable energy intake and growth of privately owned growing dogs in comparison with official recommendations on the growth curve and energy supply. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2019;103(6):1952-1958.

  5. National Research Council (NRC). Nutrient Requirements of Dogs and Cats. National Academic Press, Washington D.C. 2006

  6. Dobenecker B, Endres V, Kienzle E. Energy requirements of puppies of two different breeds for ideal growth from weaning to 28 weeks of age. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2013;97(1):190-196.

  7. Böswald L, Elmiger C, Dobenecker B. Nährstoffversorgung in der Aufzucht von Hunden – tierschutzrelevante Befunde und Fallbeispiele. In Proceedings, DVG Tierschutztagung München 2018.

  8. Mack JK, Alexander LG, Morris PJ, et al. Demonstration of uniformity of calcium absorption in adult dogs and cats. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2015;99(5):801-809.

  9. Böswald LF, Dobenecker B, Clauss M, et al. A comparative meta‐analysis on the relationship of faecal calcium and phosphorus excretion in mammals. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2018;102(2):370-379.

  10. Schmitt S, Mack J, Kienzle E, et al. Faecal calcium excretion does not decrease during long‐term feeding of a low‐calcium diet in adult dogs. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2018;102(2):e798-e805

  11. Becker N, Kienzle E, Dobenecker B. Calcium deficiency: a problem in growing and adult dogs: two case reports. Tierarztliche Praxis. Ausgabe K, Kleintiere/heimtiere 2012;40(2):135-139.

  12. Kienzle E, Dobenecker B, Wichert B, et al. Effect of fecal water and dry matter excretion on fecal mineral excretion in dogs studied in a fiber model. J. Nutr. 2006;136(7):2001S-2003S.

  13. Kienzle E, Brenten T, Dobenecker B. Impact of faecal DM excretion on faecal calcium losses in dogs eating complete moist and dry pet foods – food digestibility is a major determinant of calcium requirements. J. Nutr. Sci. 2017;6(3):1-3.

  14. Kienzle E, Hofmann C, Dobenecker B. The increase of faecal calcium excretion with increasing faecal dry matter excretion in dogs is an independent per se effect of faecal dry matter excretion. In: Proceedings, Congress of the European Society of Veterinary and Comparative Nutrition Turin, Italy, 2019.

  15. Hazewinkel HAW, Goedegebuure SA, Poulos PW, et al. Influences of chronic calcium excess on the skeletal development of growing Great Danes. J. Am. Anim. Hosp. Assoc. 1985;135:305-310.

  16. Schoenmakers I, Hazewinkel HAW, Voorhout G, et al. Effect of diets with different calcium and phosphorus contents on the skeletal development and blood chemistry of growing Great Danes. Vet. Rec. 2000;147(23):652-660.

  17. Dobenecker B. Factors that modify the effect of excess calcium on skeletal development in puppies. Br. J. Nutr. 2011;106(S1):S142-S145.

  18. Dobenecker B, Kasbeitzer N, Flinspach S, et al. Calcium‐excess causes subclinical changes of bone growth in Beagles but not in Foxhound‐crossbred dogs, as measured in X‐rays. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2006;90(9‐10):394-401.

  19. Kiefer‐Hecker B, Kienzle E, Dobenecker B. Effects of low phosphorus supply on the availability of calcium and phosphorus, and musculoskeletal development of growing dogs of two different breeds. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2018;102(3):789-798.

  20. Kiefer‐Hecker B, Bauer A, Dobenecker B. Effects of low phosphorus intake on serum calcium, phosphorus, alkaline phosphatase activity and parathyroid hormone in growing dogs. J. Anim. Physiol. Anim. Nutr. 2018;102(6):1749-1758.

  21. Fritz J, von Rosenberg S, Bensinger K, et al. Two cases of malnutrition associated with locomotor problems in growing puppies without alterations of x-ray density of long bones. In: Proceedings, Congress of the European Society of Veterinary and Comparative Nutrition, Vienna, Austria, 2008.

  22. Cetinkaya MA, Yardimci C, Sağlam M. Carpal laxity syndrome in forty-three puppies. Vet. Comp. Orthop. Traumatol. 2007;2(02):126-130.

  23. Nap, RC, Hazewinkel HA, Voorhout G, et al. Growth and skeletal development in Great Dane pups fed different levels of protein intake. J. Nutr. 1991;121(suppl_11):S107-S113.

  24. Nap RC, Hazewinkel HA, Voorhout G, et al. The influence of the dietary protein content on growth in giant breed dogs. Vet. Comp. Orthop. Traumatol. 1993;6(01):1-8.

  25. Kienzle E, Zentek J, Meyer H. Body composition of puppies and young dogs. J. Nutr. 1998;128(12):2680S-2683S. 

  26. Böswald LF, Klein C, Dobenecker B, et al. Factorial calculation of calcium and phosphorus requirements of growing dogs. PLOS One 2019;14(8):e0220305

Linda Böswald

Linda Böswald

Dr. Böswald studied veterinary medicine at Munich’s Ludwig-Maximilian University and remained there after qualifying to specialize in animal nutrition อ่านเพิ่มเติม

Britta Dobenecker

Britta Dobenecker

After graduating from Hannover’s School of Veterinary Medicine, Dr. Dobenecker studied for a doctoral thesis at the Institute of Physiological Chemistry in Hannover and the Institute of Animal Nutrition in Mun อ่านเพิ่มเติม